🟢 ตอนนี้ตลาดกำลังทะยานขึ้น สมาชิกผู้ใช้บริการของเรากว่า 120K คน ต่างรู้ดีว่าควรทำอย่างไร คุณก็สามารถรู้ได้เช่นกันรับส่วนลด 40%

ดอลลาร์ฟื้นหลังการตัดสินใจของเฟด-รอฟังผลการประชุม ธ.กลาง อีก 3 แห่ง

เผยแพร่ 19/09/2562 12:05
USD/JPY
-
AUD/USD
-
USD/CAD
-
NZD/USD
-

โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management

ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 17 กันยายน 2019

นับเป็นครั้งที่สองของปีนี้ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 25 จุดเบสิสจนไปอยู่ในช่วง 1.75% - 2% การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับการคาดการณ์กันมาอย่างกว้างขวางในครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบในด้านลบกับเงิน ดอลลาร์ แต่อย่างใด เพราะยังสามารถปิดตลาดนิวยอร์คได้สูงขึ้นกว่าเดิมเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ อยู่ การตัดสินใจในเรื่องอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ของเฟดมีท่าทีที่ค่อนข้างจะแข็งกร้าวพอสมควร โดยมีกรรมการเพียง 2 คนที่ออกเสียงว่าไม่ควรปรับลด นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟดได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตออกมาน้อยมาก ทำให้หลายๆ คนต้องรู้สึกผิดหวังไปตามๆ กัน จากข้อมูลของธนาคารกลางทำให้ทราบว่า ตลาดแรงงานและการใช้จ่ายในครัวเรือนยังคงแข็งแกร่งอยู่ ปริมาณการเติบโตของตำแหน่งงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ส่วนการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นอยู่ในระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม ปริมาณการส่งออก ลดน้อยลง รวมทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงของต่างประเทศอยู่อีกจำนวนหนึ่ง แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้กรรมการผู้มีสิทธิ์ออกเสียง 2 คนของ FOMC อย่าง นายจอร์จ และ นายโรเซนเกรน เห็นด้วยกับการใช้มาตรการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ได้ เมื่อพิจารณาจากตัวเลขการพยากรณ์อัตราดอกเบี้ย (dot plot) จะพบว่าความเห็นของคณะกรรมการของเฟดทั้งหมดแบ่งได้ตามสิ่งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม โดยสมาชิก 5 คนไม่เห็นด้วยให้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในวันนี้ อีกห้าคนเห็นด้วยแต่คิดว่าในปีนี้ไม่ควรปรับลดอีกแล้ว และอีกเจ็ดคนคิดว่าในปีนี้ควรมีการปรับลดอีกครั้ง ความเห็นที่หลากหลายเช่นนี้คือเหตุผลหลักที่ทำให้นายพาวเวลล์เคยกล่าวไว้ว่าเฟดไม่ได้มีแนวทางที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแต่อย่างใด แต่ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เป็นไปในขณะนั้น และจะพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นว่าเหมาะสมสำหรับการประชุมแต่ละครั้ง เขากล่าวว่าหากสภาวะเศรษฐกิจอ่อนตัวลงอีก “การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมก็อาจมีความจำเป็น” แต่ในขณะนี้สมาชิกส่วนใหญ่ยังเห็นว่าควรใช้นโยบายปัจจุบันไปก่อนจนถึงสิ้นปีนี้ ด้านตลาดสัญญาซื้อขายอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงล่วงหน้าก็เห็นพ้องกับความคิดเห็นดังกล่าว เนื่องจาก โอกาสในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ปรับลดลงไปเล็กน้อยเหลือ 65%

การประชุมของธนาคารกลางทั่วโลกยังคงจะได้รับการจับตามองไปอีกประมาณ 24 ชั่วโมงนับจากนี้ เพราะกำลังจะเกิดการตัดสินใจด้านนโยบายการเงินเกิดขึ้นอีก 3 แห่งด้วยกัน สำหรับธนาคารกลาง ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ และ อังกฤษ นั้นไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากตลาดการเงินเริ่มที่จะมีความเสถียรมากขึ้นซึ่งก็น่าจะช่วยให้คณะกรรมการนโยบายการเงินรู้สึกผ่อนคลายไปได้บ้าง ธนาคารกลางญี่ปุ่นนั้นน่าจะใกล้ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงได้มากที่สุด หากย้อนกลับไปในเดือนกรกฎาคม นายคุโรดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นกล่าวว่าคณะกรรมการมีความ “เชื่อมั่นเป็นอย่างมาก” ว่าจะนำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้และอาจจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงจนเข้าสู่แดนลบเพื่อประคองสภาพเศรษฐกิจและราคาสินค้าต่างๆ ไว้ต่อไปให้ได้ หากเป็นเช่นนั้นจริง เราอาจจะเห็น USD/JPY ทะลุระดับ 109 ได้

อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันของสวิสเซอร์แลนด์ถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง รวมทั้งการดำเนินการล่าสุดจากธนาคารกลางยุโรปก็ได้เพิ่มแรงกดดันให้กับธนาคารกลางสวิสให้ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ยังดีที่การไหลเวียนของสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยไม่ได้มีมากนักหลังจากที่ธนาคารกลางยุโรปเริ่มนำโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์มาใช้อย่างหนักหน่วง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ธนาคารกลางสวิสต้องการอยู่แล้วเพื่อที่จะได้รักษาอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำต่อไป ตัวเลขทางเศรษฐกิจของสวิสเซอร์แลนด์ก็ไม่ได้ย่ำแย่แต่อย่างใด อัตราเงินเฟ้อก็เริ่มดีขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตในเดือนสิงหาคมดีขึ้น แต่ จีดีพี ประจำไตรมาสที่ 2 ยังชะลอตัวต่ำกว่าที่คาด ดังนั้นในขณะที่ธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์ปรับลดตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์และจีดีพีประจำปี 2019 ลงนั้นก็คงจะไม่มีการเปลี่ยนใจใดๆ เกิดขึ้น เว้นเสียแต่ว่าเศรษฐกิจจะเกิดการเปลียนแปลงขึ้นมาอย่างกะทันหันได้เท่านั้น

ทางด้านธนาคารกลางอังกฤษก็น่าจะกำลังเผชิญสถานการณ์ใกล้เคียงกัน เว้นเสียแต่ว่าปัญหาในเรือง Brexit จะได้รับการคลี่คลายลงได้ ธนาคารกลางอังกฤษก็น่าจะยังคงยึดตามนโยบายเดิม สิ่งที่แตกต่างไปจากธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารกลางสวิสเซอร์แลนด์อยู่ที่ว่า ธนาคารอังกฤษยังรู้สึกว่าหากทุกอย่างเป็นไปตามที่คาด ซึ่งก็หมายรวมถึงการออกจากสหภาพยุโรปโดยไร้ข้อตกลงนั้น การดำเนินการในครั้งต่อไปจะต้องเป็น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย แต่ในขณะที่เวลายิ่งกระชั้นเข้าไปทุกทีเช่นนี้ สหราชอาณาจักรก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะต้องออกจากอียูอย่างไร้ข้อตกลงมากขึ้นทุกที เป็นไปตามที่นายยุงเคอร์ ประธานคณะกรรมาธิการอียูได้กล่าวไว้เมื่อเช้านี้ว่า “เนื่องจากเหลือเวลาอีกไม่มาก โอกาสที่จะไม่สามารถหาข้อตกลงได้ก็ยิ่งมีสูงขึ้น”

หากย้อนกลับไปในเดือนกรกฎาคม ธนาคารกลางอังกฤษได้ปรับลดตัวเลขจีดีพีที่คาดการณ์สำหรับปี 2019 และ 2020 ลง และเพิ่มตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่คาดการณ์ขึ้น การคาดการณ์ดังกล่าวไม่ได้รวมถึงโอกาสที่จะต้องออกจากอียูโดยไร้ข้อตกลงเอาไว้ด้วย และอยู่บนพื้นฐานของการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะลด อัตราดอกเบี้ย ลง 25 จุดเบสิสภายในต้นปี 2020 จากข้อมูลของธนาคารกลางทำให้ทราบว่ายังมีปัจจัยที่มีความไม่แน่นอนอีกมากที่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่หากการคาดการณ์ถูกต้องและการแยกตัวออกจากอียูเป็นไปอย่างราบรื่น การค่อยๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็อาจมีความจำเป็น ความเห็นของ นายคาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษก็ไม่ได้เป็นไปในเชิงบวกมากนัก เขาทราบดีว่าโอกาสที่จะต้องแยกตัวออกจากอียูโดยไร้ข้อตกลงนั้นมีสูงขึ้นเรื่อยๆ และสถานการณ์ทางการเงินก็ยังคงมีความผันผวน จึงได้เตือนว่าความตึงเครียดในด้านการค้านั้นส่งผลกับสหราชอาณาจักรมากกว่าที่คาดคิดไว้ ดังนั้นเขาจึงเชื่อว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการลงทุนนั้นน่าจะยังลดลงต่อไปในไตรมาสที่สาม ตั้งแต่การประชุมในครั้งแล้วเป็นต้นมา เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรก็ยังไม่กระเตื้องขึ้นเลย การเติบโตของยอดขายปลีก ยังคงชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อยังคงต่ำ รวมทั้งอุตสาหกรรมการผลิตก็ยังหดตัวลงเร็วกว่าเดิม แต่ ค่าจ้าง และ ภาคการบริการ ดีขึ้น ดังนั้น การตัดสินใจด้านอัตราดอกเบี้ย ของธนาคารกลางอังกฤษจึงไม่น่าจะส่งผลใดกับสกุลเงินของประเทศมากนัก

UK Data Points

ข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร

คืนวันพุธนี้น่าจะเป็นวันที่มีความวุ่นวายมากอีกวันหนึ่งสำหรับสกุลเงินที่แปรผันไปตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เนื่องจากจะมีการประกาศตัวเลข ปริมาณการจ้างงานของออสเตรเลีย และ จีดีพีของนิวซีแลนด์ ออกมาให้ทราบ สภาวะตลาดแรงงานในภาคบริการและการก่อสร้างเริ่มดีขึ้นไปตามดัชนี PMI ของออสเตรเลีย แต่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตน่าจะอ่อนตัวลง ถึงแม้ว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะยังมีมุมมองเชิงบวก แต่เราเชื่อว่าปริมาณการเติบโตของตำแหน่งงานในออสเตรเลียในเดือนสิงหาคมน่าจะชะลอตัวลงเนื่องจากตลาดแรงงานในเดือนกรกฎาคมค่อนข้างแข็งแกร่ง ส่วนจีดีพีของนิวซีแลนด์นั้นก็คาดว่าจะชะลอตัวลงเช่นกันกับกำลังซื้อของผู้บริโภค NZD/USD ยังถูกเทขายอย่างหนักในช่วง 5 วันจาก 6 วันที่ผ่านมาและอาจจะเป็นเวลาของ AUD/USD ที่จะวิ่งตามขึ้นมาให้ได้ ส่วน USD/CAD นั้นยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่องเป็นวันที่หก แม้ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของแคนาดา จะลดลงไปไม่ถึงจำนวนที่คาดไว้ก็ตาม

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย