โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 5 กันยายน 2019
การฟื้นตัวขึ้นของดอลลาร์สหรัฐ ในวันนี้เกิดจากการที่นักลงทุนเชื่อว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) น่าจะเพิ่มขึ้นมาก ดอลลาร์สหรัฐปิดตลาดวันนี้สูงขึ้นค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับ เยนญี่ปุ่น และ ฟรังก์สวิส รวมทั้งเริ่มฟื้นตัวได้เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ปริมาณการจ้างงานนอกภาคการเกษตรซึ่งมีกำหนดจะประกาศออกมาให้ทราบในวันพรุ่งนี้นั้น นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะมีปริมาณลดลงเล็กน้อยจาก 164,000 ตำแหน่งในเดือนที่แล้วเหลือ 160,000 ตำแหน่ง ส่วนทางด้านนักลงทุนนั้นกลับคาดหวังว่าปริมาณการจ้างงานจะมีจำนวนมากถึงเกือบ 200,000 ตำแหน่ง Challenger รายงานว่าความเชื่อมั่นที่มีสูงขึ้นนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ ADP รายงานออกมาว่ามีตำแหน่งงานในภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดในรอบ 4 เดือน จำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน ก็ยังคงต่ำ และจำนวนการปรับลดตำแหน่งพนักงานก็น้อยลง ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่าปริมาณการจ้างงานนอกภาคการเกษตรในเดือนสิงหาคมมีเพิ่มขึ้น
แต่ก็ยังมีสาเหตุสำคัญอยู่ 5 ข้อที่อาจทำให้รายตัวเลขปริมาณการจ้างงานไม่เป็นไปตามคาด ข้อมูลจากรายงาน ดัชนี PMI นอกภาคการผลิตของ ISM ชี้ว่ากิจกรรมในภาคบริการปรับตัวดีขึ้นในเดือนสิงหาคม ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีเนื่องจากภาคบริการถือเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ในระบบเศรษฐกิจ แต่ ดัชนีการจ้างงานนอกภาคการผลิต ลดลงต่ำสุดในรอบมากกว่า 2 ปีซึ่งยังถือว่าเป็นปัญหา เพราะดัชนีการจ้างงานนอกภาคการผลิตมีความสัมพันธ์กับตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ภาคการผลิตยังรายงานออกมาว่ามีดัชนีการจ้างงานที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปีอีกด้วย เมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่ราย 4 สัปดาห์ของจำนวนผู้ว่างงานจะพบว่ามีจำนวนสูงขึ้นเล็กน้อย รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นต่างๆ ก็ลดลงทั้งหมด Challenger รายงานว่ามีการปรับลดจำนวนพนักงานลงเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามก็ยังถือว่าหลายบริษัทยังคงพยายามปรับลดจำนวนพนักงานลงอยู่ เมื่อดูจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัว ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐที่กำลังเสี่ยงต่อการถดถอย จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายบริษัทจะชะลอการจ้างงานออกไปก่อน
USD/JPY ปิดตลาดนิวยอร์คได้ไม่ห่างจากระดับ 107 มากนัก หากปริมาณการจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ 150,000 ตำแหน่งหรือน้อยกว่านั้น สกุลเงินคู่นี้ก็อาจจะร่วงกลับลงไปอยู่ที่ 106 เนื่องจากนักลงทุนยังเชื่อว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ลงอีกครั้ง ในทางตรงกันข้าม หากปริมาณการจ้างงานเพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 180,000 ตำแหน่ง USD/JPY ก็น่าจะขยับขึ้นไปอยู่เหนือ 107.50 ได้ รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมง และ อัตราการว่างงาน ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าปริมาณการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เพื่อให้ ดอลลาร์สหรัฐ ขยับตัวต่อไปได้อย่างยั่งยืน ปริมาณการจ้างงานจะต้องสูงขึ้นจากการมีรายได้ที่มั่นคง หรือ ปริมาณการจ้างงานลดลงเนื่องจากค่าจ้างน้อยลง หากรายงานการจ้างงานการจ้างงานในสหรัฐฯ ออกมาดี การคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรปจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในช่วงเดือนหน้านี้ก็น่าจะ EUR/USD ได้รับผลกระทบในทางลบได้ แต่หากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ ออกมาแย่ AUD/USD ก็น่าจะปรับตัวสูงขึ้นได้
เหตุผลของผู้ที่เห็นว่าปริมาณการจ้างงานจะมี มากขึ้น
1. Challenger รายงานว่ามีการปรับลดจำนวนพนักงานลง 39% เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาซึ่งมีอยู่ถึง 43.2%
2. ตัวเลข การจ้างงานของ ADP เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 142,000 ตำแหน่งมาเป็น 195,000 ตำแหน่งในเดือนนี้
3. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ลดลงจาก 1.72 ล้านคนเหลือ 1.66 ล้านคน
เหตุผลของผู้ที่เห็นว่าปริมาณการจ้างงานจะมี น้อยลง
1. ดัชนีการจ้างงานนอกภาคการผลิต ในส่วนธุรกิจบริการจาก ISM ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2017 เป็นต้นมา
2. ดัชนีการจ้างงานในภาคการผลิต จาก ISM ลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2016 เป็นต้นมา
3. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในรอบ 4 สัปดาห์ปรับตัวสูงขึ้นจาก 212,000 เป็น 216,000 ตำแหน่ง
4. ดัชนี ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนปรับลดลงไปมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา
5. ดัชนี Conference Board ปรับลดลงเล็กน้อยจาก 135.8 เหลือ 135.1
ตัวเลขปริมาณการจ้างงานของแคนาดามีกำหนดที่จะประกาศออกมาพร้อมๆ กับปริมาณการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเช่นกัน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางให้กับคู่สกุลเงิน USD/CAD ได้เป็นอย่างดี เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาธนาคารกลางแคนาดาตัดสินใจ คงนโยบายการเงินเดิมไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ถือเป็นการบ่งบอกถึงสถานะความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจด้วยอีกทางหนึ่ง ในขณะที่ค่าจ้างที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นตัวบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง ทำให้ USD/CAD ปรับตัวลดลงค่อนข้างแรงแต่ก็ดีดกลับขึ้นมาจากจุดต่ำสุดได้ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นักลงทุนยังไม่ค่อยอยากจะเชื่อเท่าไหร่ว่าเศรษฐกิจของแคนาดาจะยังดีอยู่ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเกิดการชะลอตัวเช่นนี้ ดังนั้นหากตัวเลขรายงานตลาดแรงงานของแคนาดาที่ประกาศออกมาในวันพรุ่งนี้ต่ำกว่าคาด เราอาจจะเห็น USD/CAD ฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพิจารณาจากข้อมูลตัวเลขปริมาณการจ้างงานในแคนาดาที่ลดลงไปแล้ว 2 เดือนติดต่อกัน จึงมีความเป็นได้ว่าเดือนสิงหาคมตัวเลขดังกล่าวควรจะต้องมากขึ้นซึ่งก็จะทำให้ธนาคารกลางแคนาดาใจชื้นขึ้นและจะผลักดันให้ดอลลาร์แคนาดาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้อีกด้วย แต่หากเป็นเช่นนั้นจริง การซื้อขายจะยิ่งมีความน่าสนใจมากขึ้นอีก เนื่องจาก USD/CAD จะปรับตัวตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรก่อนเป็นอย่างแรก