นักลงทุนอาจรู้สึกว่าธนาคารกลางซึ่งทำหน้าเป็น ผู้ตัดสินใจเชิงนโยบาย มีการปรับเปลี่ยนจุดยืนอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอ จากนั้นก็เปลี่ยนไปใช้นโยบายเพื่อคงอัตราดอกเบี้ย จนมาถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสม การคาดการณ์ในตลาดดอกเบี้ยนโยบายล่วงหน้าว่ามี โอกาสในการปรับลด ในช่วงการประชุม 2 วันนี้อยู่ที่ 20% ซึ่งลดลงจากเดิมที่คาดไว้ที่ 25%
แต่คณะกรรมการตลาดเสรีกลาง (FOMC) บางรายก็อาจไม่ต้องการที่จะโดนตลาดล้อมวงเล่นงาน แต่ยกให้เป็นหน้าที่ในการทวีตของประธานาธิบดีก็พอ การคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายล่วงหน้าที่เชื่อว่าน่าจะไม่มีการปรับลดในสัปดาห์นี้ และการตัดสินใจที่จะเกิดขึ้นในการประชุมครั้งถัดไปในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมก็น่าจะมีการวางข้อสรุปรอไว้อยู่แล้ว แม้ว่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดอกเบี้ยนโยบายจะมีจำนวนผู้ที่เชื่อว่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยอยู่ที่ 68% โดยเชื่อว่าดอกเบี้ยจะปรับจากอัตราปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 2.25-2.50 ไปเป็น 2.00-2.25
นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ จะต้องออกมา แถลงข่าว อีกครั้งในวันพุธโดยต้องพยายามไม่เติมเชื้อไฟว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมและในขณะเดียวกันก็ต้องไม่เป็นการกระตุ้นตลาดให้เกิดความคิดในแง่ลบจนเกินไป
การออกมาคาดการณ์สภาพเศรษฐกิจในอนาคตในครั้งนี้น่าที่จะได้รับการวางแผนมาเพื่อลดความกังวลของตลาดโดยให้การรับรองว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นการยากที่จะเตรียมการให้นักลงทุนรับมือกับสถานการณ์ของโลกที่อาจไม่เป็นเหมือนเดิมได้อีกต่อไป หากให้คณะกรรมการแต่ละคนพล็อตกราฟเพื่อดูว่าอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปในทิศทางใดในอนาคต เราจะรู้ได้หรือไม่ว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงไปอีกเมื่อใด?
ถึงแม้ว่าจะมีข้อกังวลทางด้านสงครามทางการค้าเกิดขึ้น แต่ข้อมูลก็ยังมีไม่เพียงพอที่จะทำให้คณะกรรมการด้านนโยบายทราบได้ว่าทิศทางในอนาคตจะเป็นเช่นไร จากตัวเลขในรายงานทางเศรษฐกิจชี้ว่ามีตำแหน่งงานใหม่ที่เปิดรับในเดือนพฤษภาคมเพียง 75,000 ตำแหน่ง ซึ่งน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 100,000 ตำแหน่ง แต่มีปริมาณ การผลิตภาคอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 0.4% ซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 2 เท่า
ส่วนข้อมูลทางด้านเงินเฟ้อนั้นมีความขัดแย้งในตัวเองน้อยกว่า กล่าวคือ ความเฟ้อของราคาผู้บริโภค รายปีอยู่ที่ 1.4% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งต่ำกว่าระดับเป้าหมายของธนาคารกลางซึ่งกำหนดไว้ที่ 2% ส่วนดัชนี CPI ก็มีแนวโน้มที่จะมีค่าสูงกว่า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ที่เฟดกำหนดไว้อยู่เล็กน้อย ข้อมูลดังกล่าวจึงไม่สนับสนุนข้อโต้แย้งของนายพาวเวลล์ที่ว่าอัตราเงินเฟ้อที่ยังไม่ค่อยดีนักยังเป็นปัจจัยชั่วคราวซึ่งเป็นปัญหาในขณะนี้อยู่ จากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อที่เก็บรวบรวมโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกนซึ่งมีค่าต่ำสุดอยู่ที่ 2.2% ในเดือนมิถุนายนซึ่งถือเป็นสถิติต่ำที่สุด แต่ในขณะที่ราคาของหุ้นกู้ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อมีอัตราอยู่ที่ 1.65% ตลอดช่วง 10 ปีต่อจากนี้
การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรไม่สอดคล้องกับระยะเวลาถือครองนั้นยังคงหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ โดยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในรุ่นอายุ 3 เดือน ยังคงสูงกว่าพันธบัตรในรุ่นอายุ 10 ปี ในเดือนมีนาคมและปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนี้อยู่ และเมื่อเทียบผลตอบแทนพันธบัตรรุ่นอายุ 2 ปี/10 ปี ก็ยังคงไม่ติดลบ เฟดจึงน่าที่จะชิงดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อพลิกสถานการณ์นี้ในระยะสั้น
ในสัปดาห์ที่ผ่านมานายพาวเวลล์ยังคงมีความหวังและให้การรับรองกับนักลงทุนในประเด็นนี้ภายหลังการประชุมยุทธศาสตร์นโยบายทางการเงิน หลังจากที่เขาไม่สามารถยืนหยัดใช้นโยบายทางการเงินแบบอดทนต่อไปได้ โดยกล่าวว่า “จะดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อให้เศรษฐกิจยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้” นอกจากนี้นายเจมส์บัลลาร์ด ประธานธนาคารกลางเซนต์หลุยส์ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ว่า ปัญหาความตึงเครียดทางด้านสงครามการค้าอาจทำให้ “ต้องใช้การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงเร็วๆ นี้” ซึ่งนักลงทุนก็หวังว่าการตัดสินใจในครั้งนี้ของเฟดจะเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
นักลงทุนในตลาดจึงค่อนข้างเชื่อมั่นว่าน่าจะมีการปรับลดดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคมอย่างแน่นอน และอาจมีการปรับลดเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนกันยายนไปเป็น 1.75-2.00 และน่าจะมีโอกาสถึง 35% ที่จะมีการปรับลดในครั้งที่ 3 ให้เป็น 1.50-1.75 ในเดือนธันวาคม
หลายสิ่งจะต้องผิดจากคาดการณ์หากสถานการณ์เช่นนั้นจะเกิดขึ้นได้จริง และสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้เกี่ยวกับทั้งหมดนี้ คือ เฟดจะตอบโต้ต่ออย่างไรต่อแรงกดดันจากทำเนียบขาวให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย เฟดอาจจะยืนกรานไม่ลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อยืนยันความเป็นอิสระและแนวคิดของตนเอง หรือเฟดอาจพยายามที่จะแสดงจุดยืนที่เป็นอิสระของตนเองโดยการฉวยโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังอ่อนตัวให้สำเร็จก่อนแล้วค่อยยอมหน้าแตกทีหลังก็เป็นได้