โดย วณิชชา สุมานัส
Investing.com – ภาพรวมทั้งตลาดเงินและตลาดทุนวันนี้ยังทรงตัว สำหรับบรรยากาศการซื้อขายหุ้นตลอดเช้านี้ ตลาดหุ้นไทย (SET) ปิดลบ 16.45 จุด แตะ 1,521.33 จุด มูลค่าการซื้อขาย 47,230.28 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มดัชนี SET50 คาดถูกกดดันจากยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยที่ยังแตะในระดับสูง อีกทั้งค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเป็นปัจจัยหนุนให้กระแสการลงทุนในกองทุนไหลออก นอกจากนี้ หุ้นขนาดกลางและขนาดเล็กยังทำผลงานได้ดีในตลาด แต่ก็ทำให้ดัชนีปรับตัวขึ้นได้จำกัด โดยคาดว่า ดัชนีวันนี้จะแกว่งตัวในกรอบ 912-921 จุด
สำหรับหุ้นเด่นที่แนะนำในวันนี้ 5 อันดับ หลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายสูงสุด ได้แก่ TOP ปิดที่ 43.25 บาท ลดลง -3.75 บาท, PTT ปิดที่ 35.00 บาท ลดลง -0.50 บาท, SCC ปิดที่ 420.00 บาท เพิ่มขึ้น 10.00 บาท, DTAC ปิดที่ 35.50 บาท ลดลง -0.25 บาท และ KBANK ปิดที่ 102.00 บาท ลดลง -1.50 บาท
สำหรับแนวโน้มราคาทองคำในวันนี้ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นโดยได้รับแรงหนุนจากเฟดคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0% และคงมาตรการ QE 1.2 แสนล้านบาทต่อเดือน นอกจากนี้ GDP สหรัฐที่ต่ำกว่าคาดและยอดทำสัญญาขายบ้านสหรัฐที่อ่อนแอลงเป็นปัจจัยหนุนต่อราคาทองคำเพิ่มเติม การซื้อขายในวันนี้แนะนำให้ขายทำกำไรที่แนวต้าน 1,835-1,850$/Oz
ส่วนตลาดทองคำในประเทศ สมาคมค้าทองคำประกาศราคาซื้อขายทอง ครั้งที่ 1 เมื่อเวลา 09.26 น. ราคาปรับขึ้น 100 จากราคาวานนี้ ทองคำแท่ง รับซื้อบาทละ 28,300.00 บาท ขายออกบาทละ 28,400.00 บาท ทองรูปพรรณ รับซื้อบาทละ 27,788.28 บาท ขายออกบาทละ 28,900.00 บาท
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจและการเงินเดือนไทยในเดือนมิถุนายนและไตรมาส 2 ปี 2564 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดระลอกสามของโควิด-19 โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนยังอ่อนแอ แม้ปรับดีขึ้นเล็กน้อยตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว เนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศยังมีอยู่
วันนี้ ยังต้องจับตาหลายปัจจัยที่จะส่งผลต่อตลอด รวมทั้งมาตรการรัฐที่จะออกมาคุมเข้มการระบาดโควิด-19 ภายในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 ปัจจัยหลักที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดทุนและตลาดเงินในช่วงนี้ได้แก่
1. กำลังบริโภคภายในประเทศอ่อนแอ
กำลังการบริโภคภาคเอกชนโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ สอดคล้องกับรายได้และความเชื่อมั่นของครัวเรือนที่อ่อนแอจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตาม หากมองเรื่องการลงทุน มีการลงทุนหวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการก่อสร้างมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่ช่วงนี้หมวดการลงทุนก่อสร้างได้ปรับตัวลดลงเนื่องจากความต้องการมีน้อย ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการรัฐในการควบคุมการระบาดของโควิด-19
2. ส่งออกโดดเด่น
การส่งออกไทยช่วงนี้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้าและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยส่งผลให้การส่งออกยังเพิ่มขึ้นในหลายหมวด โดยเฉพาะสินค้าเกษตรแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ การส่งออกเหล็กเร่งขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการเปลี่ยนไปเน้นตลาดส่งออกมากขึ้นในช่วงที่ความต้องการในประเทศลดลง
3. มาตราการโควิดที่เข้มงวด
มาตรการโควิดของภาครัฐที่เข้มงวดสร้างความกกดันให้เศรษฐกิจส่วนใหญ่ และกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศและหลายจังหวัด โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศของไทยที่ยังมีอยู่ ซึ่งในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกสามของโควิด-19 แม้มาตรการภาครัฐจะช่วยพยุงเศรษฐกิจได้บางส่วนก็ตาม