โดย Peter Nurse
Investing.com - ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นในวันอังคาร โดยได้แรงหนุนจากความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ แต่ยังคงอ่อนค่าลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 เดือนเมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่น เนื่องจากตลาดยังคงคาดการณ์ว่าเส้นทางการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะผ่อนคลายลง
เมื่อเวลา 03:10 น. ET (07.10 GMT) ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งติดตามดอลลาร์เทียบกับกลุ่มของสกุลเงินอื่น ๆ อีก 6 สกุล ซื้อขายเพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 105.440 เหนือระดับต่ำสุดในรอบ 1 เดือนที่ 105.03 ในการเทรดช่วงต้นเชสชั่น
มีความต้องการเงินดอลลาร์จากการที่เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยบางส่วนก่อนการเยือนไต้หวันของ แนนซี่ เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งเป็นอาณาเขตที่จีนได้อ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ และประธานาธิบดีสี จิ้นผิง บอกกับโจ ไบเดน ระหว่างการโทรศัพท์เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า “ใครก็ตามที่เล่นกับไฟจะถูกไฟเผา” โดยกล่าวถึงสหรัฐฯที่พยายามแทรกแซงข้อพิพาท
ด้วยเหตุนี้ สกุลเงินที่มีความเสี่ยงมากขึ้นได้เสียกำไรในวันอังคาร โดย EUR/USD ลดลง 0.2% เป็น 1.0236 ในขณะที่ GBP/USD ลดลง 0.3% เป็น 1.2207 ลดลงจากจุดสูงสุดห้าสัปดาห์ที่แตะถึงเพียงชั่วข้ามคืน
อย่างไรก็ตาม USD/JPY ร่วงลง 0.6% เป็น 130.81 สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน โดยทั้งคู่ร่วงลง 4% ในสี่เซสชั่นที่ผ่านมา เนื่องจากมีความอ่อนไหวต่อช่องว่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และญี่ปุ่น
เกณฑ์มาตรฐาน ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ลดลงมาที่ 2.52% เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน เนื่องจากเทรดเดอร์เชื่อรายงานความอ่อนแอของข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด และกำลังประเมินเส้นทางในอนาคตของ อัตราดอกเบี้ย
ข้อมูลที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมการผลิตของสหรัฐฯ ชะลอตัวเป็นเดือนที่สองติดต่อกันในเดือนกรกฎาคม โดยข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของสถาบัน ISM แสดงให้เห็นถึงตัวเลขที่ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองปี
ต่อจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วที่ตัวเลข GDP อ่อนแอมากเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน ซึ่งอาจหมายความว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ เริ่มกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นและอาจจะผ่อนคลายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างจริงจังในการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ
“หลังจากตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ที่ค่อนข้างแย่ในสหรัฐฯ ส่งผลให้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วตลาดต่างแสวงหาหลักฐานว่าภาวะถดถอยทางเทคนิคนี้เป็น 'จริง' มากเพียงใด" นักวิเคราะห์จาก ING กล่าวในหมายเหตุ "มาตรวัดหลักที่น่าจับตามองคืออัตราการว่างงาน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างเต็มที่จะต้องมีปัจจัยหนุนอย่างการอ่อนตัวของตลาดแรงงาน"
AUD/USD ลดลง 1% เป็น 0.6952 หลังจาก ธนาคารกลางออสเตรเลีย อนุญาตให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยครึ่งจุดติดต่อกันเป็นครั้งที่สามตามที่คาดไว้ แต่ความคิดเห็นจาก ฟิลิป โลว์ ผู้ว่าการธนาคารกลางออสเตรเลียถูกมองว่าไม่เป็นไปตามนโยบาย เนื่องจากเขากล่าวว่าธนาคารไม่ได้อยู่บนเส้นทางแผนการการล่วงหน้าในการกระชับการเงิน และจะใช้วิธีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลแทน
ค่าเงินบาท USD/THB ทรงตัวที่ 36.140 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากได้แรงหนุนจากดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าวานนี้