โดย Peter Nurse
Investing.com – เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ซื้อขายในยุโรป เมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่น เนื่องจากข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ร้อนแรงทำให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นและยังเป็นช่วงต้นสัปดาห์ที่วุ่นวายสำหรับธนาคารกลางสหรัฐฯ อีกด้วย
เมื่อเวลา 2:50 น. ET (06.50 GMT) ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ติดตามดอลลาร์เทียบกับกลุ่มสกุลเงินอื่น ๆ อีก 6 สกุล ซื้อขายสูงขึ้น 0.4% เป็น 104.430 ซึ่งไต่ขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบสี่สัปดาห์
ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจนที่สุดเมื่อเทียบกับเงินเยนของญี่ปุ่น โดย USD/JPY เพิ่มขึ้น 0.3% เป็น 134.79 โดยก่อนหน้านี้แตะที่ 135.16 ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 1998
ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคมพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ในรอบสี่ทศวรรษ 8.6% ในปีนี้ ข้อมูลนี้ได้ส่งผลให้ เฟด จะต้องปรับนโยบายการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 50 จุดพื้นฐาน ในไตรมาสที่สาม และยังอาจจะเพิ่มโอกาสให้เฟดขยับการเคลื่อนไหวปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นสู่ 75 จุดพื้นฐาน ในการประชุมการกำหนดนโยบายในวันพุธที่จะถึงนี้
ผลตอบแทนมาตรฐานของสหรัฐฯ อายุ 10 ปี แตะ 3.2% ในช่วงเช้าของวันจันทร์ โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 12 จุดพื้นฐานในวันศุกร์ ขณะที่ ธนาคารกลางญี่ปุ่น ยืนยันเมื่อต้นวันจันทร์ว่าจะซื้อ พันธบัตรรัฐบาลในวันอังคารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่จะคงผลตอบแทนมาตรฐาน อายุ 10 ปี ไว้ใกล้กับเป้าหมายที่ 0%
การประชุมของ BoJ ในวันศุกร์และการเข้าซื้อ JGB ในวันอังคาร ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะยังยึดจุดยืนนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษ
"วลีที่เริ่มใช้ในวงกว้างมากขึ้นในหมู่ชุมชนธนาคารกลางคือความจำเป็นในการกระชับการเงินให้ 'แข็งแกร่งยิ่งขึ้น' เพื่อจัดการกับเงินเฟ้อ นักวิเคราะห์จาก ING ระบุในหมายเหตุ “ธนาคารกลางที่ผลักดันอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงให้สูงขึ้นจะเป็นอุปสรรคต่อสินทรัพย์เสี่ยงและสำหรับสกุลเงินที่มีวัฏจักร (โดยเฉพาะผู้นำเข้าพลังงาน) นี่คือสภาพแวดล้อมเชิงบวกของดอลลาร์”
ที่อื่น ๆ EUR/USD ลดลง 0.3% เป็น 1.0486 โดยปรับลงอย่างต่อเนื่องผลจากความอ่อนแอที่เกิดขึ้นหลังจากการประชุมของ ธนาคารกลางยุโรป เมื่อวันพฤหัสบดีที่ธนาคารกลางยืนยันว่าจะยุติการซื้อพันธบัตรระยะยาว และเริ่มอัตราดอกเบี้ยใหม่ในเดือนกรกฎาคม
“จุดอ่อนคือตลาดตราสารหนี้ในประเทศเล็กที่ไม่มีนโยบายที่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการกระจายการซื้อขาย” “The weak link was peripheral debt markets being left unprotected without sufficient news on anti-fragmentation support packages,” ไอเอ็นจีกล่าวเสริม “แต่ยังมีคนรู้สึกว่า ในฐานะที่เป็นสกุลเงินหมุนเวียน เงินยูโรอาจไม่แข็งค่าขึ้นเนื่องจากมีการปรับลดการคาดการณ์ตัวเลขการเติบโต”
GBP/USD ลดลง 0.4% เป็น1.2263 โดยเงินปอนด์ได้รับแรงหนุนเพียงเล็กน้อยจากการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในวันพฤหัสบดี หลังจาก ตัวเลขเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรชะลอตัวอีกครั้งในเดือนเมษายน โดย ดัชนีภาคการผลิตอุตสาหกรรม และ ผลผลิตอุตสาหกรรม ตกต่ำเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ลดลง 0.3% ในเดือนเมษายน อ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก ที่ 0.1% ในขณะที่ การคาดการณ์สามเดือน จนถึงเดือนเมษายน เติบโตเพียง 0.2% หลังจาก 0.8 % ในช่วงสามเดือนก่อนหน้า
สกุลเงินทีอ่อนไหวต่อความเสี่ยง AUD/USD ลดลง 0.4% เป็น 0.7025 ในขณะที่ USD/CNY เพิ่มขึ้น 0.4% เป็น 6.7346 หลังจากที่ปักกิ่งประกาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เรื่องการตรวจหาเชื้อการแพร่ระบาดของโควิด19 รอบใหม่