โดย Detchana.K
Investing.com - อุตสาหกรรมรถยนต์เดือนม.ค.-เม.ย.ปี 2563 ไทยมีปริมาณการผลิตรถยนต์ จ่านวน 0.48 ล้านคันหดตัวร้อยละ–32.8 จากปัญหาการระบาดของโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อในประเทศหดตัวประกอบกับการชะลอการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของประชาชน และการประกาศเลื่อนจัดงาน Motor show ที่กำหนดการจัดเดิมคือช่วงปลายเดือนมี.ค.-เม.ย. ทำให้ความต้องการรถยนต์ใหม่ที่ควรมีในช่วง 4 เดือนแรกหายไป แบรนด์รถยนต์ไม่ว่าจะเป็น Toyota ,Isuzu, Honda , Mitsubishiและ Nissan ต่างได้รับผลกระทบไปตามๆกัน ติดตามรายละเอียดพร้อมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับวันนี้
1.ปริมาณการผลิตรถยนต์ของไทยช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้หดตัว 32.8%
ศูนย์วิจัยธนาคารออมสินระบุว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยในปี 2020 เผชิญความท้าทายหนักจากปัญหาการระบาดของโควิด-19 โดยปริมาณการผลิตรถยนต์เดือนเม.ย. ต่่าที่สุดในรอบ 30 ปี ขณะที่ภาพรวมทั้งปีคาดว่าปริมาณการผลิตรถยนต์มีแนวโน้มอาจต่่าที่สุดในรอบ 11 ปีทั้งนี้ภาคการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์ในประเทศได้รับผลกระทบจาก1)การหยุดโรงงานผลิต 2)การหดตัวของเศรษฐกิจ และ 3)การล็อคดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัส และปัจจัยอื่นๆ
ส่วนการส่งออกรถยนต์เผชิญปัญหาคำสั่งซื้อของประเทศคู่ค้าหลักที่ลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจในหลายประเทศรวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า(EV)และรถยนต์แห่งอนาคต(Next-Generation Automotive)ที่เข้ามามีบทบาทแทนที่รถยนต์ใช้น้ำมันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้หากไทยสูญเสียความสามารถในการเป็นหนึ่งในฐานการผลิตรถยนต์ที่ส่าคัญแห่งหนึ่งของโลกไป อาจกระทบแรงงานในห่วงโซ่อุปทานการผลิตรถยนต์กว่า 5-7 แสนคน
อุตสาหกรรมรถยนต์เดือนม.ค.-เม.ย.ปี 2020(4M20)ไทยมีปริมาณการผลิตรถยนต์ จ่านวน 0.48 ล้านคันหดตัวร้อยละ–32.8%YoY โดยลดลงทั้งประเภทรถยนต์นั่ง,รถกระบะ1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่น(รถตู้/รถบัส/รถบรรทุก)เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์หยุดสายการผลิตลงชั่วคราวในช่วงเดือนเม.ย.(ปริมาณการผลิตรถยนต์เดือนเม.ย. ลดลงสูงถึงร้อยละ-83.6%YoY)
ประกอบกับความต้องการซื้อรถยนต์ใหม่ทั้งในและต่างประเทศที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีสะท้อนจากปริมาณการจ่าหน่ายรถยนต์มีจำนวน 0.23 ล้านคันลดลงร้อยละ-34.2%YoY หลังเศรษฐกิจและกำลังซื้อในประเทศหดตัวประกอบกับการชะลอการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของประชาชนและการประกาศเลื่อนจัดงาน Motor show ที่กำหนดการจัดเดิมคือช่วงปลายเดือนมี.ค.-เม.ย. ทำให้ความต้องการรถยนต์ใหม่ที่ควรมีในช่วง 4 เดือนแรกหายไป ทั้งนี้แบรนด์รถยนต์หลักที่มียอดขายลดลง อาทิ Toyota (NYSE:TM),Isuzu, Honda (NYSE:HMC), Mitsubishi (NYSE:MUFG)และ Nissan (T:7201) ที่มีปริมาณการขายลดลงร้อยละ-40.1,-18.3,-24.2,-38.1และ-35.5ตามลำดับ
2.ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีน จะเพิ่มความกังวลต่อภาพรวมการลงทุน
ความขัดแย้งระหว่าง สหรัฐฯ กับจีน มีมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเกิดขึ้นกับกรณีที่สหรัฐฯ บังคับให้จีนขายกิจการ TikTok ภายในสหรัฐฯ ซึ่งล่าสุดส่านักข่าว China Daily ของรัฐบาลจีน รายงานว่าจีนจะไม่ยอมรับ การเข้า ยึดครอง TikTok โดยสหรัฐฯ และ Microsoft และก่าลังพิจารณามาตรการตอบโต้ หากวอชิงตัน บังคับให้จีนขายกิจการ TikTok ภายในสหรัฐฯ โดยในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ และจีน มีกรณี ความขัดแย้งหลายประเด็น
แนะนำติดตามความคืบหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในสหรัฐฯ – การเจรจาเกี่ยวกับมาตรการเยียวยา เศรษฐกิจครั้งใหม่ซึ่งมีวงเงิน 1 ล้านล้านเหรียญ ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดมีสัญญาณเชิงบวกหลัง ผู้น่าเสียงข้างมากในวุฒิสภาสหรัฐฯ จากพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครต ออกมา เปิดเผยว่าการเจรจามีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง และใกล้จะบรรลุข้อตกลง แม้ว่ายังมีหลายประเด็น ที่ยังไม่สามารถตกลงร่วมกันได้
นักลงทุนควรติดตามรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ค. ของสหรัฐฯ จากทางกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ ซึ่งมีกำหนด เปิดเผยในวันศุกร์นี้ (7 ส.ค.) โดย Consensus ประเมิน ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 1.36 ล้านต่าแหน่ง และคาดว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 10.7% หากเป็นไปตามคาดเชื่อว่าจะกลับมาเป็นปัจจัย หนุนการลงทุนในต้นสัปดาห์หน้า ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ส่าคัญอื่น ๆ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงาน ภาคเอกชนเดือน ก.ค. จาก ADP ดุลการค้าเดือน มิ.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้น สุดท้ายเดือน ก.ค. จากมาร์กิต ดัชนีภาคบริการเดือน ก.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของ สหรัฐฯ (ISM) จ่านวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และปริมาณส่ารองสินค้าคงคลังภาค ค้าส่งเดือน มิ.ย
3.ทองคำทำ New High ใหม่ทั้ง Gold Futures และ Gold Spot XAU/USD
ราคาทองคำ วานนี้ปิดทะยานขึ้น 41.12 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หรือ +2% ภายในวันเดียว โดยได้รับแรงหนุนทั้งจากปัจจัยทางเทคนิคและปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้เกิดแรงซื้อตามทางเทคนิคหลังจากราคาสามารถทะลุขึ้นมายืนเหนือระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ได้หลังจากทดสอบหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา
นอกจากนี้ราคายังได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัยในวงกว้าง ท่ามกลางความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมือง ส่งผลให้ทองคำได้รับแรงหนุนพร้อมๆพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งแรงซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้กดดันบอนด์ยีลด์สหรัฐอายุ 5 ปีให้แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนบอนด์ยีลด์สหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงสู่ระดับ 0.505% ต่ำสุดในรอบ 5 เดือนจึงเป็นแรงหนุนเพิ่มเติมให้แก่ทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ไม่ได้ให้ผลตอบแทนในรูปแบบของดอกเบี้ย
ทองคำยังได้รับแรงหนุนเพิ่มจากความหวังว่าพรรคเดโมแครตและทำเนียบขาวจะบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังรอบใหม่ในไม่ช้านี้ ซึ่งสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวหนุนการคาดการณ์ที่ว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น อันนำไปสู่การอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ สะท้อนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ Treasury Inflation Protected Securities (TIPS) อายุ 10 ปีที่ติดลบเพิ่มสู่ระดับ -1.06% ส่วนดัชนีดอลลาร์อ่อนค่าลง -0.17%
ปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดหนุนราคาทองคำให้ทะยานขึ้นทะลุระดับ 2,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์ พร้อมกับทะยานขึ้นต่อในช่วงเช้าวันนี้แตะระดับ 2,031 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ด้านกองทุน SPDR ถือครองทองเพิ่ม +9.36 ตัน นักลงทุนควรติดตามการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนจาก ADP, ดัชนี PMI ภาคการบริการจากมาร์กิตและ ISM