📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.33 ให้กรอบแกว่ง 33.20-33.50 รอลุ้นมติกนง.บ่ายนี้

เผยแพร่ 16/10/2567 16:39
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.33 ให้กรอบแกว่ง 33.20-33.50 รอลุ้นมติกนง.บ่ายนี้
USD/THB
-

InfoQuest - นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 33.33 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย จากระดับปิดวันก่อนที่ระดับ 33.36 บาท/ดอลลาร์ ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาททยอยแข็งค่าขึ้นในลักษณะ Sideways Down แม้ว่าเงินดอลลาร์จะทยอยแข็งค่าขึ้น ตามภาวะปิดรับ ความเสี่ยง (Risk-Off) ของตลาดการเงิน และการอ่อนค่าลงของเงินยูโร แต่เงินบาทยังได้แรงหนุนจากการทยอยปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ของราคาทองคำ หลังภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน และมุมมองของตลาดที่ปรับเพิ่มโอกาสการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) ในการประชุมเดือนพ.ย. สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยคาดว่า กนง. อาจมีมติคงอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ทั้งนี้ต้องจับตามุมมองของ กนง. ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ การปรับคาดการณ์เศรษฐกิจ รวมถึงการส่ง สัญญาณเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของการลดดอกเบี้ยในปีนี้ "หาก กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% แต่ส่งสัญญาณพร้อมทยอยลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้าที่ชัดเจนขึ้น เงินบาทก็อาจอ่อนค่าลงเล็กน้อยได้ แต่หาก กนง. เซอร์ไพรส์ตลาด ด้วยการปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับ 2.25% พร้อมเปิดโอกาส เดินหน้าลดดอกเบี้ยลงต่อเนื่อง ก็อาจกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้พอสมควร" นายพูน ระบุ นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 33.20-33.50 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.2975 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.21 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 148.97 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0886 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0905 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 33.351 บาท/ดอลลาร์ - คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการประชุมเพื่อพิจาณาทิศทางนโยายการเงินและกำหนดดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่ง เป็นที่จับตามองว่า หลังจากที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง และนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พบปะหารือกันในเรื่องภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้อและสภาพคล่องในระบบแล้ว กนง.ในครั้งนี้ จะมีการปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบายลงตามความคาดหมายของหลายฝ่ายหรือไม่ - "คลัง" หวัง กนง. พิจารณาข้อมูลเศรษฐกิจรอบด้าน ชี้จังหวะเหมาะสมลดดอกเบี้ย ช่วยพยุงเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยน หวังช่วยหนุนให้มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนมากขึ้นโบรกมองเศรษฐกิจไทย ยังไม่ฟื้นตัวดี บ่งชี้ผ่านแบงก์ตั้งสำรองสูง - ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จำกัด (YLG) เปิดเผยว่า ราคาทองคำชะลอการ ฟื้นตัวขึ้น เริ่มมีแรงขายระยะสั้นสลับเข้ามา แต่ราคาทองคำโลกยังปรับตัวสูงขึ้น ใกล้เคียงกับราคาเป้าหมาย 2,700-2,750 เหรียญสหรัฐ ต่อออนซ์ แต่นักลงทุนต้องการเข้าลงทุนเพื่อทำกำไรยังคงมีโอกาส เพราะราคาย่อตัวลงก่อนขึ้นไปถึงเป้าหมาย รวมถึงการเคลื่อนไหวของ ราคาทองคำจะเป็นลักษณะขึ้นสลับย่อตัว จึงมีจังหวะน่าสนใจในการทยอยเข้าซื้อ หากราคาปรับลดลงมาที่บริเวณ 2,600-2,620 เหรียญ สหรัฐต่อออนซ์ จากนั้นอาจขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 2,700 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ หรือสูงกว่านั้นที่บริเวณ 2,750 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ จาก นั้นอาจปรับฐานครั้งใหญ่ลงมาที่ระดับ 2,350-2,380 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ส่วนราคาทองคำในประเทศอาจลดลงจาก 40,000 บาทต่อ บาททองคำ อยู่ที่ 38,000-39,000 บาท - คณะรัฐมนตรี (ครม.) มอบให้นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา จัดทำมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือที่ประสบปัญหาอุทกภัย แล้วนำกลับมาเสนอครม.ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เพื่อให้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2567 - "ไอเอ็มเอฟ" เตือน หนี้สาธารณะทั่วโลกพุ่งขึ้น ใกล้แตะ 100 ล้านล้านดอลลาร์ภายในสิ้นปี 2567 จนอาจส่งผลกระทบ ร้ายแรงต่อเศรษฐกิจโลก หากรัฐบาลต่างๆ ไม่เร่งแก้ไขอย่างจริงจัง - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กวันอังคาร (15 ต. ค.) หลังเฟดนิวยอร์กเผยข้อมูลน่าผิดหวัง โดยดัชนีภาคการผลิตหดตัวอย่างไม่คาดคิดในเดือนตุลาคม ขณะที่นักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจ สหรัฐฯ เพิ่มเติม เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้ (15 ต.ค.) โดยได้ปัจจัยบวกจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หลังอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวลดลง 0.08% เหลือ 4.03% - ตลาดจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ในวันที่ 17 ต.ค. ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมรอบนี้ ซึ่งจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ หลังเจ้าหน้าที่ ECB เปิดเผยว่า ความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ผ่อนคลายลงเร็วกว่าที่คาดไว้ - นักลงทุนยังรอดูตัวเลขเศรษฐกิจอื่น ๆ ของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงยอดค้าปลีกเดือนก.ย. เพื่อหาสัญญาณ ที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เกี่ยวกับขนาดหรือช่วงจังหวะของการปรับลดอัตราดอกเบี้ย - ตลาดยังคงจับตาสถานการณ์ในตะวันออกกลาง ขณะที่หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ รายงานว่า นายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ได้แจ้งต่อประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ ว่า อิสราเอลมีแผนถล่มเป้าหมายทางการทหารในอิหร่าน แต่จะไม่ โจมตีแหล่งน้ำมัน หรือโรงงานนิวเคลียร์

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย