🥇 กฎข้อแรกของการลงทุนหรือ? รู้ว่าเมื่อใดควรประหยัด! รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ก่อนโปรโมชั่น BLACK FRIDAY จะหมดเขตรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.43 กลับมาแข็งค่า แนวโน้มแกว่งในกรอบ 33.30-33.55 ก่อนหยุดยาว

เผยแพร่ 11/10/2567 16:13
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.43 กลับมาแข็งค่า แนวโน้มแกว่งในกรอบ 33.30-33.55 ก่อนหยุดยาว
USD/THB
-
BTC/USD
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.43 บาท/ดอลลาร์ ปรับแข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.58 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักนั้นเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง หลังตัวเลขเศรษฐกิจ ของสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ออกมาแบบผสมผสาน ส่วนปัจจัยในประเทศต้องดูทิศทางของเงินทุนระหว่างประเทศ (Flow) โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของราคาทองในตลาด โลก ซึ่งเมื่อคืนปรับขึ้นมากว่า 13 ดอลลาร์/ออนซ์ "บาทปรับตัวแข็งค่าจากเย็นวานนี้ เคลื่อนไหวตามราคาทอง ตลาดน่าจะเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้นก่อนหยุดต่อ เนื่อง 3 วันที่จะมีปัจจัยจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีน และสถานการณ์สู้รบในตะวันออกกลาง" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.30 - 33.55 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.3200 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 148.64 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 148.86/87 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0935 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0932/0933 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 33.512 บาท/ดอลลาร์ - บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด คาดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะเดินทางไปเชียงใหม่เพิ่มขึ้นใน ช่วง High Season เดือนตุลาคมนี้ ส่งผลให้มีเที่ยวบินทำการบิน ณ สนามบินเชียงใหม่ เพิ่มขึ้นราว 10% - ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลดีขึ้น รายได้ที่จัดเก็บต่ำกว่าประมาณ การลดลงต่อเนื่อง จากเคยต่ำกว่าประมาณการ 2.7% ช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ เหลือเพียง 0.7% ในช่วง 11 เดือนแรกของปี งบประมาณ กระทรวงการคลังจึงมีความมั่นใจว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณนี้ได้ตาม เป้าหมายแน่นอน - ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์เงินบาทแข็งค่าเทียบกับเงินหยวนเป็นผลมาจาก หลายปัจจัย โดยเฉพาะการที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวทำให้เงินหยวนอ่อนค่า เพราะมีแรงกดดันจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีนและการ ชะลอตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น 3.8% ตั้งแต่ต้นปี 2567 กระทบกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และธุรกิจท่องเที่ยวและบริการของไทยได้รับผลกระทบด้วย - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก พุ่งขึ้น 33,000 ราย สู่ระดับ 258,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค.2566 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 230,000 ราย - กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่า ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 2.3% และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้น 0.2% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% - ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการลงทุนของบริษัท Cresset Capital ในชิคาโกกล่าวว่า นักลงทุนประเมินดัชนี CPI และตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงาน ซึ่งบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐฯอยู่ในระดับสูงเกินคาด ในขณะที่ตลาดแรงงานอ่อนแอลงและสะท้อนถึง การชะลอตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่ย่ำแย่ทั้งสองด้าน - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (10 ต.ค.) หลังสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และตัวเลขคนว่างงานที่สูงกว่าคาด ขณะที่นักลงทุนจับตาดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ในวันนี้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (10 ต.ค.) โดยได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า หลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อและแรงงาน - CME's FedWatch ระบุว่า หลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อและข้อมูลแรงงานดังกล่าว นักลงทุนให้น้ำหนัก 80% ที่เฟด จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนพ.ย. และให้น้ำหนัก 20% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ - ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา สนับสนุนให้เฟดคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนพ.ย. เนื่องจากความผันผวนของข้อมูล เงินเฟ้อและการจ้างงานที่มีการเปิดเผยล่าสุดถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเฟดควรจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ ด้านประธาน เฟดสาขาชิคาโก คาดว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงหนึ่งปีครึ่งข้างหน้า ขณะที่ประธานเฟดสาขานิวยอร์ก ยังคง คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอนาคต - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐฯ ในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณเพิ่มเติมเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอก เบี้ยของเฟด

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย