🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.50 อ่อนค่าตามภูมิภาค ให้กรอบวันนี้ 33.45-33.65 จับตา CPI สหรัฐ

เผยแพร่ 10/10/2567 16:30
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.50 อ่อนค่าตามภูมิภาค ให้กรอบวันนี้ 33.45-33.65 จับตา CPI สหรัฐ
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 33.44 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้บาทอ่อนค่า เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค หลังดอลลาร์แข็งค่าหลังได้รับแรงหนุนจากอัตราผลตอบแทน พันธบัตรสหรัฐฯ สูงขึ้น ตามการปรับลดความคาดหวังของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ตลาดจึง มองว่าเฟดจะยังไม่รีบลดดอกเบี้ย และคาดการณ์ว่ามีโอกาส 20% ที่เฟดจะคงดอกเบี้ยในรอบการประชุมเดือนพ.ย. นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.45 - 33.65 บาท/ดอลลาร์ สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามวันนี้ คือ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ แลดัชนีราคาผู้ บริโภค (CPI) เดือนก.ย. SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.5075 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.09 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 148.62 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0944 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0963 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 33.432 บาท/ดอลลาร์ -"นายกฯ แพทองธาร" โชว์วิสัยทัศน์บนเวทีการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 44 พร้อมชู 3 ประเด็นสำคัญ เน้นความยั่งยืน ของสมาชิก - ความมั่นคงของมนุษย์ - และการบูรณาการร่วมกันระดับภูมิภาคเพื่อเชื่อมโยงประเทศอาเซียนที่แข็งแรงระหว่างกันนำไปสู่ การ "กินดีอยู่ดี" ของประชากรกว่า 700 ล้านคนในภูมิภาค - จับตาที่ประชุมคณะกรรมการคัดเลือก "ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ" คนใหม่ นัดประชุมใหม่ หลังการเมืองยื้อส่งผลเลื่อนเคาะ ชื่อ ลุ้น 3 ตัวเต็ง "กิตติรัตน์-กุลิศ-สุรพล" ชิงดำเก้าอี้ประธานบอร์ด ธปท.ท่ามกลางแรงกดดัน พร้อมยึดข้อกฎหมาย ชี้ "ปรเมธี" นั่ง รักษาการต่อได้อีก 120 วัน รอฝ่ายเลขาฯ เคาะวันประชุมใหม่ - ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 17-18 ก.ย. โดยระบุว่า กรรมการเฟด "ส่วน ใหญ่" สนับสนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันดังกล่าว ซึ่งเป็นการเริ่มต้นการผ่อนคลายนโยบายการเงิน แต่กรรมการ เฟดมีความเห็นตรงกันว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้จะไม่ผูกมัดเฟดให้ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในอัตราใดเป็นพิเศษในอนาคต - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก สนับสนุนอย่างเต็มที่กับการตัดสินใจของเฟดในการปรับลด อัตราดอกเบี้ยลง 0.50% เมื่อเดือนที่แล้ว และกล่าวว่า มีแนวโน้มที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 1 หรือ 2 ครั้ง หากภาวะเศรษฐกิจ เป็นไปตามที่เธอคาดไว้ - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (9 ต.ค.) โดย ได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์อย่างคึกคัก ก่อนที่สหรัฐฯ จะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันนี้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 6 ในวันพุธ (9 ต.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์เป็น ปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังคงถูกกดดันจากการที่นักลงทุนลดความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตรา ดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนพ.ย. หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาด - ข้อมูลล่าสุดจาก CME's FedWatch บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 79% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประ ชุมเดือนพ.ย. และให้น้ำหนัก 21% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ในวันนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI จะปรับตัวขึ้น 2.3% ในเดือนก.ย. เมื่อเทียบรายปี หลังจากเพิ่มขึ้น 2.5% ในเดือนส.ค. และ คาดว่าดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงานจะปรับตัวขึ้น 3.2% ในเดือน ก.ย. เมื่อเทียบรายปี หลัง จากเพิ่มขึ้น 3.2% เช่นกันในเดือนส.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย