📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดกลับมาอ่อนค่าแตะ 33.10 รับเม็ดเงินไหลออก

เผยแพร่ 04/10/2567 00:43
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดกลับมาอ่อนค่าแตะ 33.10 รับเม็ดเงินไหลออก
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.10 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 32.92 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามค่าเงินในภูมิภาคและทิศทางตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่า จากมีแรงซื้อมากขึ้น หลังตลาดปิดรับความเสี่ยงกรณีแกิดการสู้รบในตะวันออกกลาง ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.93 - 33.13 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่มีเงินทุนระหว่างประเทศไหลออกจากตลาดพันธบัตรราว 3.6 พันล้านบาท "บาทกลับมาอ่อนค่า เกาะกลุ่มไปกับค่าเงินภูมิภาค ระหว่างวันขึ้นไปแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบสองสัปดาห์" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวจองเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 32.90-33.30 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ตลาดรอดูตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ และดัชนี ISM ภาคบริการของสหรัฐฯ

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 146.87 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 147.15 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1039 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1037 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,442.73 จุด ลดลง 8.67 จุด, -0.60% มูลค่าซื้อขาย 57,549.70 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,748.44 ล้านบาท - นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เตรียมนัดหารือผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีกครั้ง ภายในเดือนต.ค.นี้ เพื่อหารือทิศทางเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มจะหลุดกรอบล่างของเป้าหมายที่วางไว้ที่ 1-3% - รมช.คลัง เผยรัฐบาลพยายามผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปีหน้าโตได้มากกว่า 3% ส่วนหนึ่งจากเม็ดเงินโครงการดิจิทัลวอ ลเล็ต รวมทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ โดยช่วงปลายปีนี้ได้เตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไว้แล้ว - นักวิเคราะห์ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ระบุว่า ประเทศไทยเผชิญกับความท้าทายจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ (GDP) ใน ระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชียและปรับตัวด้อยลงในด้านการคลังของรัฐบาล (public finance) แม้ว่าด้านหนี้สิน ต่างประเทศ (external finance) จะยังคงเป็นจุดแข็งที่สำคัญ - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) อาจจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อีก หากมีความคืบหน้าในการควบคุมเงินเฟ้อ พร้อมกับเตือน จิม ชาลเมอร์ส รัฐมนตรีคลังออสเตรเลียว่า รัฐบาลออสเตรเลียจะต้อง ดำเนินการอย่างสอดคล้องกับ RBA ในการฉุดเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลง

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย