📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.44 กลับมาอ่อนค่า หลังเฟดส่งสัญญาณไม่รีบลดดอกเบี้ย จับตา Flow ไหลออก

เผยแพร่ 01/10/2567 16:29
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.44 กลับมาอ่อนค่า หลังเฟดส่งสัญญาณไม่รีบลดดอกเบี้ย จับตา Flow ไหลออก
USD/JPY
-
USD/THB
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.44 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.21 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก หลังดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อ เทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากตลาดปรับคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลังประธานเฟดส่ง สัญญาณเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น และบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนปัจจัยในประเทศ ตลาดรอดูทิศทางของเงินทุนระหว่างประเทศ (Flow) ในตลาดหุ้นและตลาดพันธ์บัตร โดยเริ่มมีสัญญาณ ต่างชาติขายออกมา "บาทกลับมาอ่อนค่าตามทิศทางตลาดโลก หลังจากเมื่อวานแข็งค่าลงมาเร็ว ทำนิวโลว์ในรอบ 31 เดือน โดยตลาดปรับคาด การณ์เรื่องการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดที่อาจน้อยลง จากครั้งก่อนที่ปรับลงมา 0.50%" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.30 - 32.55 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.4200 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 144.05 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 142.77 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1128 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1170 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 32.259 บาท/ดอลลาร์ - จับตาขุนคลัง "พิชัย" พบผู้ว่าแบงก์ชาติ 3 ต.ค.นี้ ถกค่าบาทแข็ง-หารือดอกเบี้ย หลัง ธปท.จัดงานใหญ่พร้อมเชิญ รมว. คลัง กล่าวเปิดงาน - "รมช.คลัง" เตรียมนัด "สศค." และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาศึกษาการเปิด "เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์" เพื่อ หาข้อสรุป คาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกินต้นเดือน ต.ค.นี้ จากนั้นจะรายงานความคืบหน้าให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับ ทราบต่อไป - ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% จำนวน 2 ครั้ง รวม ทั้งสิ้น 0.50% ในปีนี้ หากเศรษฐกิจมีพัฒนาการที่เป็นไปตามคาด และเฟดจะ "ไม่รีบร้อน" ดำเนินการดังกล่าว หลังมีข้อมูลใหม่ซึ่งทำให้ เฟดเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภคเติบโตอย่างต่อเนื่อง - เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 35% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนพ.ย. ลดลงจากระดับ 37% ก่อนที่พาวเวลจะกล่าวสุนทรพจน์ในครั้งนี้ และลดลงจากระดับ 53% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (27 ก.ย.) - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (30 ก.ย.) หลังจากเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดไม่รีบร้อนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุน จับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดก่อนสิ้น ปีนี้ - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (30 ก.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และจากการที่ เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดไม่รีบร้อนในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย - ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนก.ย.จาก S&P Global, ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM), ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรง งาน (JOLTS) เดือนส.ค. และการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนส.ค. - นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ย.ของสหรัฐฯ ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันศุกร์นี้ จะเพิ่ม ขึ้น 144,000 ตำแหน่ง หลังจากเพิ่มขึ้น 142,000 ตำแหน่งในเดือนส.ค. และคาดว่าอัตราว่างงานเดือนก.ย.จะอยู่ที่ 4.2% ซึ่งไม่ เปลี่ยนแปลงจากเดือนส.ค. - นักลงทุนในเอเชียจะให้ความสนใจกับผลสำรวจทังกัน (Tankan) ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งวัดระดับความเชื่อมั่น ทางธุรกิจของบริษัทขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น โดยผลสำรวจดังกล่าวเป็นผลสำรวจรายไตรมาสที่ใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในญี่ปุ่น และถือเป็นตัวชี้วัด เศรษฐกิจที่สำคัญ

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย