InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 36.66 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ ระดับ 36.37 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทอ่อนค่าจากท้ายตลาด หลังเมื่อวานนี้สหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ออกมาสูงกว่าคาด ทำให้ตลาดมองว่าปี นี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะลดดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้งจากที่เคยคาดว่าจะลด 3 ครั้ง ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่าเทียบทุกสกุลเงิน นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 36.60 - 36.80 บาท/ดอลลาร์ ในประเทศธุรกรรม ค่อนข้างเบาบางเนื่องจากใกล้วันหยุดยาวสงกรานต์ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้คือ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 36.58500 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 152.85 เยน/ดอลลาร์ อ่อนค่าสุดในรอบ 34 ปี จากปัจจัย CPI สหรัฐฯ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 151.83 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ 1.0744 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0864 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.328 บาท/ดอลลาร์ - สงกรานต์ปีนี้ ภูเก็ตและกระบี่ ปังมากๆ นักท่องเที่ยวจองห้องพักโรงแรมมาเล่นน้ำสงกรานต์และท่องเที่ยวเฉลี่ยสูงกว่าร้อย ละ 80 ททท.คาดภูเก็ตเงินสะพัดกว่า 7 พันล้าน ขณะที่กระบี่กว่า 1.5 พันล้าน - รัฐบาลแถลงข้อสรุปโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 50 ล้านคน วงเงินรวม 5 แสนล้านบาท ใช้วิธีบริหารงบประมาณปี 67-68 บวกยืมเงิน ธ.ก.ส. ดูแลกลุ่มเกษตรกร 17 ล้านคน โดยตั้งงบประมาณจ่ายคืนรายปี ตั้งเงื่อนไข ผู้มีสิทธิ์รับเงินรายได้ต้องไม่ เกิน 8.4 แสนบาท/ปี มีเงินฝากไม่เกิน 5 แสนบาท "จุลพันธ์" ชี้ดันจีดีพีปี 68 โตต่อเนื่อง 5% ด้าน "ศิริกัญญา" กังขาการยืมเงินมาแจก ผิดวัตถุประสงค์ ธ.ก.ส. ต้องวัดใจพรรคร่วมรัฐบาลแบกเพื่อไทย ด้าน ธปท.ชี้แหล่งเงินตามมาตรา 28 ต้องผ่านกระบวนการตามหลัก เกณฑ์ - "แบงก์ชาติ" กังวลแหล่งที่มาเงิน กลุ่มเป้าหมาย เสถียรภาพการเงิน และระบบชำระเงิน "ศิริกัญญา" เตือนใช้เงิน ธ. ก.ส.เสี่ยงผิด กม. แนะถามกฤษฎีกาก่อน - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคประจำ เดือนมี.ค.ในวันพุธ (10 เม.ย.) โดยดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.5% ในเดือน มี.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากเพิ่มขึ้น 3.2% ในเดือนก.พ. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.4% และเมื่อเทียบ รายเดือน ดัชนี CPI ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือนมี.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% เช่นกันในเดือนก.พ. และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 0.3% - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (10 เม.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาด ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอาจทำให้ธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) ยังไม่ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมิ.ย. - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (10 เม.ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาด ซึ่งทำ ให้นักลงทุนวิตกกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ - นักลงทุนเลื่อนคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไปเป็นเดือนก.ย. จาก เดิมที่คาดไว้ในเดือนมิ.ย. หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยทำให้เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเป็นเวลา นานกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ - FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 79.0% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25- 5.50% ในการประชุมวันที่ 11-12 มิ.ย. หลังจากที่ให้น้ำหนักเพียง 42.6% ก่อนหน้านี้ - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ประจำเดือนมี.ค.ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับทิศ ทางเงินเฟ้อของสหรัฐ พร้อมกับจับตารายงานผลประกอบการประจำไตรมาส 1/2567 ของธนาคารรายใหญ่ในวันศุกร์นี้ ซึ่งได้แก่ เจพีมอร์ แกน, เวลส์ ฟาร์โก และซิตี้กรุ๊ป - สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ (11 เม.ย.) ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อ จากการใช้จ่ายของผู้บริโภค เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าอาจเพิ่มขึ้น 0.4% หลัง จากที่ปรับตัวขึ้น 0.7% ในเดือนก.พ.