InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนนี้อยู่ที่ 35.03/04 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าที่ระดับ 34.62/63 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.58 - 35.09 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทเคลื่อน ไหวไปในทิศทางอ่อนค่า เช่นเดียวกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ปัจจัยหลักมาจากต่างประเทศ เนื่องจากราคาทองลงทำให้ดอลลาร์แข็งค่า "ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา (5 ม.ค.) ช่วงที่ค่าจ้างรายชั่วโมง และการจ้างงานนอกภาคการเกษตร รายงานออกมาว่าสูงกว่า คาด และอัตราการว่างงานที่ต่ำกว่าคาด ทำให้บาทขึ้นไปไฮ 34.95 บาท/ดอลลาร์ ต่อมาดัชนีภาคบริการออกมาแย่กว่าคาด เงินบาทเลย หล่นมาที่ 34.45 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เปิดประมาณ 34.60 บาท/ดอลลาร์ และค่อยๆ อ่อนค่าขึ้นไปจุดไฮของวันศุกร์" นักบริหารการเงิน ระบุ สำหรับปัจจัยในประเทศ ระหว่างวันมีข่าวเรื่องดิจิทัลวอลเล็ต และนายกรัฐมนตรีออกมาไม่เห็นด้วยกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพราะเงินเฟ้อไทยไม่ได้สูงเหมือนต่างประเทศ อยู่ที่ประมาณ 0-1% เลยไม่เหมาะสมที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อ เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยทำให้ เงินกู้ยืมสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจ SME ลำบาก ประกอบกับ GDP ยังไม่ดี ภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังไม่ดี ทำให้ความเชื่อมั่นยังไม่ค่อยดีเท่าไร สำหรับคืนนี้ตลาดรอติดตามข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯเพื่อประเมินทิศทางดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.80 - 35.20 บาท/ดอลลาร์
*ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.21/25 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 144.38/40 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0938/0942 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0946/0950 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,418.45 จุด ลดลง 9.51 จุด (-0.67%) มูลค่าซื้อขาย 42,143.31 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 319.91 ล้านบาท - รมช.คลัง เปิดเผยว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ส่งหนังสือยืนยันกลับมาแล้วว่าสามารถออก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้าน บาท เพื่อใช้ในโครงการดิจิทัล วอลเล็ตได้ โดยเป็นไปตามอำนาจของคณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะกรรมการนโยบายโครงการเติม เงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ที่จะออกกฎหมายกู้เงินดังกล่าวมาใช้ในโครงการ ทั้งนี้คาดว่าจะมีการเรียกประชุมคณะกรรมการ นโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อพิจารณาข้อหารือในประเด็นกฎหมายดัง กล่าวในสัปดาห์หน้า - Krungthai COMPASS ประเมินว่า แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 (ต.ค.-ธ.ค.66) แต่ เศรษฐกิจไทยยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะเงินฝืด โดยประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 67 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.0% ชะลอลงจากปี 2566 ซึ่งอยู่ที่ 1.23% จากราคาหมวดพลังงานที่มีแนวโน้มอยู่ต่ำกว่าปี 66 อย่างไรก็ตาม ต้องจับตาความเสี่ยงด้านความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โดย เฉพาะในทะเลแดง - นักลงทุนนับตาความเคลื่อนไหวของธนาคารเงาในประเทศจีนอย่างใกล้ชิด หลังจากมีรายงานว่า จงจื่อ เอ็นเตอร์ไพรส์ กรุ๊ป (Zhongzhi Enterprise Group) หรือ ZEG ซึ่งเป็นธนาคารเงายักษ์ใหญ่ของจีน ได้ยื่นล้มละลายแล้ว จากปัญหาขาดสภาพคล่อง อย่างหนัก หลังมีการปล่อยกู้หลายพันล้านดอลลาร์ให้แก่ภาคอสังหาริมทรัพย์ของจีน