Investing.com-- สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่อ่อนตัวลงในวันนี้ ในขณะที่เงินดอลลาร์นั้นแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ก่อนการรายงานข้อมูลเงินเฟ้อสำคัญของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะเป็นตัวกำหนดเส้นทางของนโยบายการเงิน
ความกังวลเกี่ยวกับจีนยังคงกดดันต่อความเชื่อมั่นภายในประเทศ หลังข้อมูลแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมของการปล่อยกู้ ในประเทศนั้นชะลอตัวลงตลอดทั้งเดือนตุลาคม ส่งผลให้ค่าเงิน หยวน ลดลง 0.1% ขยับเข้าใกล้ 7.3 เมื่อเทียบกับดอลลาร์
การรายงานเกี่ยวกับ การผลิตภาคอุตสาหกรรม และ การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ของจีนจะมีการรายงานในสัปดาห์นี้เช่นกัน
ในขณะเดียวกัน เยนญี่ปุ่น นั้นยังวนเวียนอยู่ในระดับที่อ่อนค่าที่สุดในรอบปีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลญี่ปุ่นจะออกมาเตือนอีกครั้งว่า หากค่าเงินอ่อนตัวไปมากกว่านี้ทางรัฐบาลจะทำการแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
เงินเยนกลับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากการอ่อนตัวลงล่าสุดเมื่อวันจันทร์ กระตุ้นให้เกิดการคาดเดาว่ารัฐบาลอาจได้เข้ามาแทรกแซงเพื่อสนับสนุนสกุลเงินแล้วตอนนี้ ความอ่อนแอของค่าเงินซึ่งเกือบจะแตะระดับต่ำสุดในรอบ 32 ปี ซึ่งตอนนั้นได้กระตุ้นให้รัฐบาลเข้าแทรกแซงตลาดด้วยเงินมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในช่วงกลางถึงปลายปี 2022
สกุลเงินเอเชียอ่อนตัวลงเป็นวงกว้าง แม้ว่าปริมาณการซื้อขายจะค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นวันหยุดในหลายประเทศ
เงินวอนเกาหลีใต้ ร่วงลง 0.5% ในขณะที่ ดอลลาร์ออสเตรเลีย ลดลง 0.1% การติดตามข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นถึงการลดลงอย่างมากของ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของออสเตรเลีย ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจออสเตรเลียที่จะอ่อนแอลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จ่ายด้านการค้าปลีกที่จะชะลอตัวลงแม้ในช่วงเทศกาลวันหยุดที่มักจะมีการจับจ่ายหนาแน่น
รูปีอินเดีย มีการซื้อขายแบบไซด์เวย์ในช่วงวันหยุดนี้ โดยร่วงลงมาใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ หลังจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อ ดัชนีผู้บริโภคของอินเดีย (CPI) ขยายตัวมากกว่าที่คาดไว้ในเดือนตุลาคม แต่โอกาสที่ธนาคารกลางอินเดียจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้นยังคงน้อยอยู่ เนื่องจากธนาคารได้ส่งสัญญาณให้เพิ่มระยะเวลาการหยุดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนานขึ้น
เงินบาทไทย ทำผลงานแย่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอ่อนตัวลง 0.4% ในขณะที่ ริงกิตมาเลเซีย ร่วงลง 0.3%
ค่าเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากข้อมูล CPI
ดัชนีดอลลาร์ และ ดัชนีดอลลาร์ฟิวเจอร์สสหรัฐ ทั้งคู่เพิ่มขึ้น 0.1% ในตลาดเอเชีย และทรงตัวได้หลังจากดีดตัวกลับขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบหกสัปดาห์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
ความสนใจของตลาดพุ่งไปที่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐอเมริกา ของเดือนตุลาคมที่จะมีการรายงานภายในวันนี้ ตัวเลขคาดว่าจะแสดงให้เห็นการเย็นตัวลงของเศรษฐกิจหลังจากตัวเลขเงินเฟ้อนี้ดีกว่าที่คาดการ 2 เดือนติดต่อกัน
ข้อมูล CPI จะเป็นหัวใจสำคัญสำหรับตลาดในสัปดาห์นี้ หลังจากที่เจ้าหน้าที่เฟดหลายคนออกมาเตือนว่าอัตราเงินเฟ้อที่ยืดเยื้ออาจทำให้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสูงขึ้นไปอีก
สัญญาณของภาวะเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อ ทำให้มีแนวโน้มที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ดีต่อเงินดอลลาร์ แต่ไม่ดีต่อตลาดเอเชีย
สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่มีการซื้อขายลดลงในปี 2023 เนื่องจากกลัวว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะสูงขึ้น