InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.03 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาด เย็นวานนี้ที่ระดับ 34.88 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเช้านี้อ่อนค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค เมื่อคืนรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) บ่งชี้ว่า การ ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ครั้งที่ผ่านมา เป็นการพักขึ้นดอกเบี้ยชั่วคราวเท่านั้น โดยใน การประชุมครั้งถัดๆ ไป มีโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อ ขณะเดียวกัน เมื่อวานนี้ตัวเลขเศรษฐกิจของจีน และยุโรป ออกมาแย่กว่าคาด ส่งผล ให้ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงิน นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.85 - 35.10 บาท/ดอลลาร์ สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย.จาก ADP, ดัชนี ภาคบริการเดือนมิ.ย. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.13500 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.42 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 144.33 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0848 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0891 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.901 บาท/ดอลลาร์ - วันนอร์ นัดประชุมร่วม 2 สภา โหวตนายกฯ 13 ก.ค. ยันจัดเลือกจนกว่าจะได้ รทสช.แย้มส่งชิงแข่ง 'พิธา' วิปวุฒิงัด กฎเบรกส่งชื่อซ้ำ ปูดสั่งว่อนทั้งเอา-ไม่เอาก้าวไกล - ภาคเอกชนยังคาดหวังว่า การจัดตั้งรัฐบาล หรือมี ครม. ชุดใหม่ช้าสุดต้องไม่เกิน ส.ค.นี้ หากตั้งได้เร็ว ก็เป็นผลดีต่อ ความเชื่อมั่นนักลงทุน และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะด้านงบประมาณที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ หากการจัดตั้งยิ่งช้าออกไป เท่าใด จะยิ่งกระทบเศรษฐกิจ รวมถึงความเชื่อมั่นต่อการลงทุนและการท่องเที่ยวที่ปลายปีจะเป็นช่วงไฮซีซั่น - คณะวิทย์ มธ. ทำโรดแมป 'ลดหนี้สาธารณะ' ชงภาครัฐ หลังพบสถิติประเทศไทยสะสมหนี้ 10 ล้านล้าน ติดอันดับ 120 ของโลก อันดับ 4 ในอาเซียน แนะทำ 3 แผน ระยะสั้น ลดรายจ่ายไม่จำเป็น จัดตั้งโครงการแก้หนี้ ระยะกลาง ช่วยกลุ่มเปราะบาง- เอสเอ็มอีฟ้นตัว ระยะยาว ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนฯ ปั้นสินค้าเกษตร-ท้องถิ่นใส่นวัตกรรม เพิ่มมูลค่า - กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ทรีนีตี้ คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยอย่างจริงจังใน ปลายไตรมาส 3 จะหนุนให้ตลาดหุ้นทั่วโลกตอบสนองในทางบวกในไตรมาส 4 ในทางกลับกันถ้าเฟดตัดสินใจลดดอกเบี้ยทันทีตลาดหุ้นมักให้ ผลตอบแทนเป็นลบเพราะเป็นการตอกย้ำว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี - ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนมิ.ย.ในวันพุธ (5 ก.ค.) โดยระบุว่า กรรมการ เฟดส่วนหนึ่งสนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย. เนื่องจากเห็นว่าการชะลอตัวของอัตราเงิน เฟ้อเป็นไปอย่างเชื่องช้า อย่างไรก็ดี ภายหลังจากการอภิปรายสิ้นสุดลง กรรมการเฟดทุกคนได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะ สั้นที่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมวันดังกล่าว หลังจากเฟดเปิดเผยรายงานการประชุมดังกล่าว ข้อมูลจาก FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้ น้ำหนัก 88.7% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนก.ค. - รายงานการประชุมเฟดยังส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 3.941% และอัตราผล ตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 4.945% ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนดอลลาร์ด้วยเช่นกัน - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (5 ก.ค.) หลัง จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมซึ่งระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก ในปีนี้ หลังจากที่เฟดตัดสินใจตรึงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. ขณะเดียวกันนักลงทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่ง รวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเล็กน้อยในวันพุธ (5 ก.ค.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ ขณะที่นักลง ทุนจับตาข้อมูลแรงงานของสหรัฐในสัปดาห์นี้ - ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนประจำเดือนมิ.ย. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ ว่างงานรายสัปดาห์ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) ประจำเดือนพ.ค. ตัวเลขจ้างงานนอก ภาคเกษตรประจำเดือนมิ.ย.