InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.88 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับ เดียวกันกับเปิดตลาดเมื่อเช้า ระหว่างวันวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.84 - 34.98 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวตามปัจจัยต่าง ประเทศ ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศที่มีความชัดเจนมากขึ้น และตัวเลขเงินเฟ้อในเดือน พ.ค.แม้จะสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ แต่ยังอยู่ในระดับต่ำจึงไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท "หลังเปิดตลาดเงินบาทเคลื่อนไหวตามภูมิภาคจากปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอ แต่ช่วงท้ายตลาดก็กลับมาอยู่ในระดับเดียว กับเปิดตลาดในช่วงเช้า" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.80 - 35.05 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้จะมีการ เปิดเผยรายงานการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเงินบาทในวันพรุ่งนี้
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.33 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 144.52 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0891 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0887 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,508.87 จุด ลดลง 6.44 จุด, -0.42% มูลค่าการซื้อขาย 38,565.40 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,187.27 ล้านบาท (SET+MAI) - ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงอัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจ (GDP) ในปีนี้ไว้ตามเดิมที่ 3.0-3.5% แต่ปรับประมาณส่งออกปีนี้ลดลงมาอยู่ที่ -2 ถึง 0% จากเดิม -1 ถึง 0% และปรับลด กรอบเงินเฟ้อลงมาอยู่ที่ 2.2-2.7% จากเดิม 2.7-3.2% - กระทรวงพาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย.66 เพิ่มขึ้น 0.23% จากตลาดคาด 0.0-0.15% โดยชะลอตัวต่อเนื่อง เป็นเดือน 6 และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 22 เดือนตั้งแต่เดือน ส.ค.64 เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารลดลง โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ รวมทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบกับฐานในเดือน มิ.ย.65 อยู่ในระดับที่สูง ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 6 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.66) เพิ่มขึ้น 2.49% - นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ว่าที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร เผยได้หารือกับกับนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ถึง การประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เบื้องต้นจะกำหนดการประชุมในวันที่ 13 กรกฏาคม เวลา 09.30 น. - เอสแอนด์พี โกลบอล/ซีไอพีเอส เผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายของอังกฤษเดือน มิ.ย.ปรับตัวสู่ ระดับ 53.7 จากระดับ 55.2 ในเดือน พ.ค.ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขในการประมาณการขั้นต้น - นักเศรษฐศาสตร์จากซีตี้กรุ๊ป มองผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่แท้จริงของยูโรโซนในปีนี้จะขยายตัวที่ 0.8% ลดลงมา 0.3 จุด จากระดับที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ เพราะแรงกดดันจากสภาวะอัตราดอกเบี้ยสูง ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ - ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) เปิดเผยรายงานทบทวนเศรษฐกิจประจำปีในวันนี้ (5 ก.ค.) โดยระบุว่า แนวโน้มการ เติบโตทางเศรษฐกิจในระยะใกล้ (near-term growth outlook) ของสิงคโปร์ยังคงไม่แน่นอน และมีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะขา ลง แม้ว่านโยบายคุมเข้มทางการเงินของ MAS จะมีประสิทธิภาพในการฉุดเงินเฟ้อให้ชะลอตัวลงก็ตาม