Cyber Monday Deal: ลดสูงสุด 60% InvestingProรับส่วนลด

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.20/25 ทรงตัวจากเช้า-ไร้ปัจจัยใหม่ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.15-35.35

เผยแพร่ 04/07/2566 00:53
© Reuters.  ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.20/25 ทรงตัวจากเช้า-ไร้ปัจจัยใหม่ คาดกรอบพรุ่งนี้ 35.15-35.35
SETI
-

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.20/25 บาท/ดอลลาร์ จากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.20 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.16 - 35.29 บาท/ดอลลาร์ ทั้งนี้ เงินบาทระหว่างวันยังไร้ปัจจัยใหม่ โดยยังเป็นปัจจัยต่อเนื่องจากคืนวันศุกร์ (30 มิ.ย.) ที่ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด ส่งผลให้เงินดอลลาร์ สหรัฐอ่อนค่า "วันนี้ตลาดยังไม่ได้วิ่งเยอะ คาดว่ารอตัวเลขที่จะออกมาในช่วงวันพฤหัสบดี และวันศุกร์นี้" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.15 - 35.35 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.40/80 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 144.46 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0860/0905 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0912 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,506.84 จุด เพิ่มขึ้น 3.74 จุด (+0.25%) มูลค่าการซื้อขาย 32,732 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,029.85 ลบ. (SET+MAI) - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ เดือนมิ.ย. 66 อยู่ที่ระดับ 51.0 เพิ่ม ขึ้นจากระดับ 49.7 ในเดือนพ.ค. 66 ตามความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นในเกือบทุกองค์ประกอบ นำโดยความเชื่อมั่นด้านการผลิตและผล ประกอบการ โดยดัชนีความเชื่อมั่นในภาคการผลิตปรับเพิ่มจากกลุ่มผลิตยานยนต์ กลุ่มผลิตเหล็ก และกลุ่มผลิตเคมี ปิโตรเลียม ยาง และพลาสติก ที่ความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการและการผลิต ปรับเพิ่มขึ้นมาก - ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ช่วงไตรมาส 1/66 ทยอยลดลงจากที่เร่งตัว สูงในช่วงโควิด โดยอยู่ที่ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อ GDP แต่เพิ่มขึ้นจากหนี้ครัวเรือน ในไตรมาส 4/65 อยู่ที่ 91.4% เนื่องจาก ธปท. มีการปรับข้อมูลชุดใหม่ให้ครอบคลุมผู้ให้กู้เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่หนี้ที่เพิ่งเกิดใหม่ - ธปท. ประเมินว่า หนี้เสีย (NPL) อาจทยอยปรับขึ้นบ้าง จากกลุ่มเปราะบางที่รายได้น้อย หรือรายได้ยังไม่ฟื้นตัว แต่จะไม่เห็น NPL cliff (หนี้เสียที่เพิ่มสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด) และเป็นระดับที่สถาบันการเงินสามารถบริหารจัดการได้ โดย ธปท. จะเร่งออกแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนผ่าน 3 แนวทาง คือ 1. เกณฑ์ Responsible Lending (RL) 2. กลไก Risk-based pricing (RBP) และ 3. มาตรการ Macroprudential Policy (MAPP) - ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ มี โจทย์สำคัญที่ต้องการการตัดสินใจหลายเรื่อง คือ 1. ภาวะเงินเฟ้อและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก 2. การเปลี่ยนผ่านไปสู่ เทคโนโลยีใหม่ โดยเฉพาะการนำปัญญาประดิษฐ์ 3. สถานการณ์เงินลงทุนที่ไหลเข้ามาในภูมิภาคอาเซียนเป็นจำนวนมาก แต่ส่วน ใหญ่ไปที่อินโดนีเซีย เวียดนาม และสิงคโปร์ มาที่ประเทศไทยบ้างแต่เป็นส่วนน้อย และ 4. ความขัดแย้งในสงครามการค้าระหว่าง จีนและสหรัฐฯ - ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวว่า ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าช่วงครึ่ง หลังของปีนี้ อาจเห็นการปรับขึ้นอีก 1-2 ครั้ง ทำให้ดอกเบี้ยจะปรับมาอยู่ที่ 2.25-2.50% - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยุโรป ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 43.4 ในเดือนมิ.ย. จากระดับ 44.8 ในเดือนพ.ค. ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 และต่ำกว่าระดับที่คาดไว้เบื้องต้นที่ 43.6 โดยดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตอยู่ในภาวะหดตัว - ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนมิ.ย.ของอังกฤษ หดตัวลงสู่ระดับ 46.5 จากระดับ 47.1 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในปีนี้ และเป็นหนึ่งในระดับต่ำที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2551 - 2552 แต่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากตัวเลข PMI ขั้นต้นที่ระดับ 46.2 - สำนักงานสถิติแห่งชาติอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของอินโดนีเซียเดือนมิ.ย. ลดลงสู่ระดับ 3.52% เมื่อ เทียบเป็นรายปี โดยกลับสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 - ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุด ท้ายเดือนมิ.ย., ดัชนีภาคการผลิตเดือนมิ.ย., คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผย รายงานการประชุมวันที่ 13-14 มิ.ย., ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมิ.ย., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัว เลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย