💎 ดูบริษัทต่าง ๆ ที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดีที่สุดในตลาดปัจจุบันเริ่มต้นเลย

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.64 แนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง หลังตัวเลขศก.สหรัฐหนุนดอลลาร์แข็งค่า

เผยแพร่ 30/06/2566 16:22
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.64 แนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง หลังตัวเลขศก.สหรัฐหนุนดอลลาร์แข็งค่า

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.64 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าต่อ เนื่องจากปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.63 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบ กับค่าเงินสกุลหลัก หลังได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมา ทั้งตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกของปีนี้ที่ดีกว่าคาด ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ที่ต่ำกว่าคาด รวมถึงการปรับตัวสูงขึ้นของบอนด์ยิลด์ "วันนี้บาทมีทิศทางอ่อนค่าตามปัจจัยต่างประเทศเป็นหลัก ส่วนปัจจัยทางการเมืองในประเทศนั้นตลาดก็ยังจับตาดูความชัดเจน อยู่" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.50 - 35.85 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT FIX 3M (29 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 2.05181% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 2.27703% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.65000 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 144.71 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 144.32 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0868 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0914 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.647 บาท/ดอลลาร์ - ส.อ.ท.จับตาใกล้ชิดหลังส่งออกไทยติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 เริ่มกระทบภาคอุตสาหกรรม 25 กลุ่มในแง่ของกำลัง การผลิตลดลง ทำให้ผู้ผลิตยังคงประคองตัวเพื่อรักษาแรงงาน แต่บางรายเริ่มลดกะทำงาน ลุ้นค่าไฟงวดใหม่ (ก.ย.-ธ.ค.) ปัจจัยบวก เพียบเฉลี่ยไม่ควรเกิน 4.25 บาท/หน่วย - หึ่ง! "เพื่อไทย" พลิกอีกตลบ ไม่แย้ง ปธ.สภาฯ ซื้อใจ "ก้าวไกล" อยู่ร่วม รบ. หาก "พิธา" ไม่ผ่านด่าน ส.ว. ดัน แคนดิเดตฯ พท.แทน เบรก 2 พรรคแสดงความเห็นก่อน 2 ก.ค. "ชลน่าน" เสียงอ่อยถอนร่วม รบ.ไม่ได้ "ภูมิธรรม" ยันยึดสูตร 14+1 "อิ๊ง" ร่วมวงประชุม ศก. "ศิริกัญญา" ลั่นทำงานเป็นทีม - รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่นกล่าวว่า รัฐบาลกำลังจับตาความเคลื่อนไหวของเยนอย่างใกล้ชิด และพร้อมดำเนินการเพื่อรักษา เสถียรภาพในตลาดปริวรรตเงินตรา - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งสุดท้ายสำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตร มาส 1/2566 โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 2.0% ในไตรมาสดังกล่าว สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.4% และสูงกว่า ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ที่ระดับ 1.1% และ 1.3% ตามลำดับ - กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 26,000 ราย สู่ระดับ 239,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 265,000 ราย - ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (29 มิ. ย.) หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยต่อไป - สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพฤหัสบดี (29 มิ.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และ การพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นปัจจัยกดดันตลาด นอกจากนี้ นักลงทุนยังกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเดินหน้าปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเกินคาด - นักลงทุนให้น้ำหนักเกือบ 90% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 25-26 ก.ค. หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลข GDP และข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่ง รวมทั้งการที่ประธานเฟดส่งสัญญาณครั้งล่าสุดว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ - ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า เฟดยังคงจับตาสถานการณ์ในอุตสาหกรรมธนาคารอย่างระมัดระวังเพื่อรับ มือกับความเปราะบางที่อาจเกิดขึ้น - นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนพ.ค.ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อ ประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถ ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย