InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 34.65 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.37 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทอ่อนค่าไปมากกว่าที่คาด และอ่อนค่ามากสุดเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค โดยระหว่างวันแกว่งกว้างในช่วง 34.37-34.69 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐยังมีแรงหนุนต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี วันนี้มี flow จากนักลงทุนต่างประเทศ เข้าซื้อ พันธบัตรระยะสั้นของไทย 5,000 ล้านบาท "ระหว่างวัน เงินบาทลงไปอ่อนค่าสุดที่ 34.63 บาท/ดอลลาร์ เป็นการอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 2 เดือนนับตั้งแต่ 29 ธ. ค.65 และเงินบาทยังอ่อนค่ามากสุดในภูมิภาค" นักบริหารเงิน ระบุ คืนนี้ สหรัฐฯ จะรายงานยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค. และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการขั้นต้น เดือนก.พ. นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.40 - 34.70 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 134.58 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 134.32 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.10662 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0676 ดอลลาร์/ยูโร - ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,668.63 จุด เพิ่มขึ้น 10.94 จุด (+0.66%) มูลค่าการซื้อขาย 66,040 ล้านบาท - สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 4,226.02 ลบ. (SET+MAI) - นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นการยุบสภาในช่วงต้นเดือนมี.ค.นี้ เพื่อให้กรอบเวลาการเลือกตั้งเป็น ไปตามไทม์ไลน์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่วางไว้วันที่ 7 พ.ค.66 - โฆษกรัฐบาล แจงไทมไลน์เลือกตั้ง โดยการเลือกตั้งใหม่ คาดว่าจะเกิดขึ้นช่วงต้นเดือน พ.ค.66 หลังจากนั้น จะประกาศ ผลการเลือกตั้ง ส.ส.ที่ผ่านการรับรองทั้ง 500 คน ได้ราวต้น ก.ค.66 คาดได้นายกฯ ใหม่ราวปลายเดือนก.ค.66 และมีครม.ใหม่ช่วง ต้น ส.ค.66 สิริรวมรัฐบาลชุดนี้จะต้องรักษาการไปอีกประมาณ 4 เดือนครึ่ง - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ( IMF) คาดทิศทางการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสู่ ระดับ 4.7% ในปี 2566 จากระดับ 3.8% ในปี 2565 ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลายเป็นภูมิภาคที่มีพลวัตมากที่สุดในกลุ่มภูมิภาค หลักของโลก และเป็นจุดที่สดใสท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว - ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนก.พ. โดยระบุว่า ความเสี่ยงจากเงิน เฟ้ออาจจะทำให้ RBA ดำเนินนโยบายการเงินที่คุมเข้มมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้คณะกรรมการ RBA ปฏิเสธแนว ทางการยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย พร้อมกับส่งสัญญาณว่า จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในการประชุมในช่วงหลายเดือน ข้างหน้า - สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ (ONS) รายงานว่า อังกฤษมียอดเกินดุลงบประมาณ 5.4 พันล้านปอนด์ (6.49 พันล้านดอลลาร์) ในเดือนม.ค. ซึ่งสะท้อนถึงรายรับภาษีเงินได้ที่แข็งแกร่ง - ในสัปดาห์นี้ สหรัฐฯ จะมีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ เช่น คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคาร กลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, GDP ไตรมาส 4/65 (ประมาณการครั้งที่ 2), ยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ เป็นต้น