Investing.com - ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) คาดว่าจะคงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษในวันศุกร์นี้ แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็ตาม ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากธนาคารกลางมุ่งเน้นที่การสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่บอบบางท่ามกลางการชะลอตัวของการเติบโตทั่วโลก
นอกจากนี้ มีแนวโน้มว่า BoJ จะรักษาคำมั่นสัญญาที่จะ "อดทน" รักษามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าญี่ปุ่นบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ยั่งยืน 2% ควบคู่ไปกับการขึ้นค่าจ้าง และเมื่อราคาเริ่มเพิ่มขึ้นก็เป็นการแสดงสัญญาณของการขยายตัว ความสนใจของตลาดได้เปลี่ยนไปที่ นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการ BoJ จะออกคำเตือนที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการแถลงข่าวหลังการประชุมหรือไม่
ในขณะที่เฟดตัดสินใจที่จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ชั่วคราวเมื่อวันพุธที่ผ่านมา BoJ ได้ทบทวนและมอนิเตอร์ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการปรับนโยบายการเงินให้ตึงตัวขึ้นเมื่อครั้งก่อน โดยความเห็นอย่างเป็นเอกฉันท์จากเหล่าผู้เชี่ยวชาญได้คากดารณ์ว่าผลสรุปของการประชุมทั้งสองวันในวันศุกร์นี้นั้นคือ ธนาคารกลางจะยังคงดำเนินตามเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ -0.1% ต่อไป และรักษาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีไว้ที่ 0% ภายใต้นโยบายการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (YCC)
แม้ว่าความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในภาพรวมทั่วโลกอาจปรากฏขึ้น แต่แหล่งข่าวได้แจ้งกับรอยเตอร์สว่ามีความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางจะยังคงแน่วแน่โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะฟื้นตัวในระดับปานกลางเนื่องจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นหลังยุคการระบาด
ในเดือนเมษายน อัตราเงินเฟ้อของผู้บริโภคหลักในญี่ปุ่นสูงถึง 3.4% ซึ่งยังคงสูงกว่าระดับเป้าหมายเป็นเวลากว่าหนึ่งปี การพัฒนานี้สนับสนุนความคาดหวังของตลาดอย่างต่อเนื่องสำหรับ YCC ที่ยุติภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม นายอุเอดะ ผู้ว่าการ ได้ยกเลิกการปรับนโยบาย YCC ในระยะสั้นอย่างต่อเนื่อง โดยอิงจากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ผลักดันต้นทุนล่าสุดที่ชะลอตัวลงต่ำกว่าอัตราเป้าหมายในปลายปีนี้
อุเอดะยังตั้งข้อสังเกตว่า BoJ จะดำเนินการทันทีหากการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อไม่ถูกต้อง ในขณะที่ตระหนักถึงสัญญาณบ่งชี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการตั้งราคาขององค์กร โดยบริษัทได้ขึ้นค่าจ้างครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี และดูเหมือนว่าค่าจ้างที่ซบเซามาอย่างยาวนานของญี่ปุ่นอาจสิ้นสุดลงแล้ว
เอกสารทางวิชาการฉบับเดือนพฤษภาคมที่เผยแพร่โดย BoJ ชี้ให้เห็นว่าทั้งอัตราเงินเฟ้อและการเติบโตของค่าจ้างอาจเร่งตัวขึ้นทันทีเมื่อค่าใช้จ่ายเกินเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อเริ่มต้นแล้ว แนวโน้มนี้อาจดำเนินต่อไป ท่ามกลางเหตุการณ์การเคลื่อนไหวนี้ เจ้าหน้าที่หลายคนของ BoJ ยังคงจับตามองเทรนด์นี้อย่างระมัดระวัง โดยติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและรายได้ของบริษัทอย่างใกล้ชิดเพื่อใช้เป็นตัวบ่งชี้ศักยภาพในการเติบโตของค่าจ้างอย่างต่อเนื่องในปีหน้า
เศรษฐกิจของญี่ปุ่นค่อย ๆ ฟื้นตัวจากความพ่ายแพ้ที่เกิดจากโรคระบาด และเติบโตในอัตรา 2.7% ต่อปีในช่วงไตรมาสที่ 1 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่แข็งแกร่ง แม้ว่าประสิทธิภาพการส่งออกจะอ่อนแอก็ตาม