Fed Fund Target Range
Actual: 1.50-1.75% Previous: 1.50-1.75%
KTBGM: 1.50-1.75% Consensus: 1.50-1.75%
คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ “คง” อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.50-1.75%
FOMC มองนโยบายการเงินปัจจุบันอยู่ในระดับเหมาะสมและช่วยให้เศรษฐกิจสหรัฐฯยังขยายตัวได้ดี และจะสังเกตการณ์ข้อมูลเศรษฐกิจในอนาคตเพื่อกำหนดนโยบายการเงินต่อไป
เราคงเป้าหมาย FFTR สิ้นปี 2020 ที่ 1.50-1.75% และเชื่อว่าเฟดจะกลับมาลดดอกเบี้ยต่ออย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงครึ่งหลังปี 2020 หากเศรษฐกิจเผชิญความผันผวนจากปัญหาการเมืองและสงครามการค้า
Next FOMC Decision: January 30 2020 (2AM)
คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ “คง” อัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.50-1.75%
FOMC มองเศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวในระดับ “ปานกลาง” โดยตลาดแรงงานที่แข็งแกร่งได้หนุนให้การบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวได้ดี ขณะที่ภาคลงทุนและส่งออกในสหรัฐฯ “ยังอ่อนแอ” ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับ “ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 2%”
เฟดมองว่านโยบายการเงินปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจพร้อมทั้งคลายความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจ โดยเฟดจะสังเกตการณ์ข้อมูลเศรษฐกิจในอนาคตก่อนที่จะตัดสินใจปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน
ในครั้งนี้เฟดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยใหม่ โดยในปี 2020 เฟดมองว่า GDP จะขยายตัวได้ 2.0% อัตราการว่างงานจะอยู่ในระดับต่ำเพียง 3.5% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานในสหรัฐฯ จะอยู่ในระดับใกล้เคียงเป้าหมายที่ 1.9-2.0% ในช่วง 3 ปีข้างหน้า จากภาพเศรษฐกิจดังกล่าวคณะกรรมการเฟดส่วนใหญ่จึงคาดการณ์คงดอกเบี้ยในปี 2020 และจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 1-2 ครั้งในปี 2021 และปี 2022
เราคงเป้าหมาย FFTR สิ้นปี 2020 ที่ 1.50-1.75% และเชื่อว่าเฟดจะกลับมาลดดอกเบี้ยอย่างน้อยหนึ่งครั้งในครึ่งหลังปี 2020 จากความไม่แน่นอนของการเมืองและสงครามการค้า
คาดว่าเฟดจะ“คง”ดอกเบี้ยตลอดปี 2020 เพื่อรอดูทิศทางการเมืองสหรัฐฯ โดยข้อมูลในอดีตชี้ว่าในปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี นโยบายการเงินเฟดจะหยุดรอดูทิศทางการเมือง นอกจากนี้การลดดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ของเฟดได้ช่วยพยุงเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทำให้ตลาดคลายกังวลภาวะ inverted yield curve
อย่างไรก็ดีเฟดสามารถกลับมาลดดอกเบี้ยได้ต่อ จากสองเหตุผลคือความวุ่นวายการเมืองสหรัฐฯในช่วงปีเลือกตั้งที่อาจกดดันให้เศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัวลง และตลาดหุ้นที่เสี่ยงปรับฐาน ถ้าสงครามการค้าร้อนแรงขึ้น
เรามองว่าแนวโน้มเฟดคงดอกเบี้ยจะกดให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าในระยะสั้น แต่ในระยะถัดไปหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่งจนสามารถหนุนให้ยีลด์สหรัฐฯปรับตัวขึ้น เงินดอลลาร์ก็มีโอกาสฟื้นตัวได้