🐦 Early bird ค้นพบหุ้นที่มาแรงที่สุดตอนนี้ด้วยราคาเบา ๆ รับส่วนลดสูงถึง 55% สำหรับ InvestingPro กับโปรโมชัน Black Fridayรับส่วนลด

จำนวนการจ้างงานในสหรัฐฯ จะผลักยูโรลงไปถึง 1.10 ได้หรือไม่

เผยแพร่ 03/05/2562 02:26
อัพเดท 09/07/2566 17:31
EUR/USD
-
GBP/USD
-
USD/JPY
-
DX
-

ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2019

โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management

นักลงทุนยังคงเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐก่อนถึงวันประกาศรายงาน จำนวนการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ในวันศุกร์ มุมมองทางบวกของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐได้รับการสนับสนุนจาก ผลผลิตนอกภาคการเกษตร และ คำสั่งซื้อของโรงงาน ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนหน้านี้ แม้ว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจะสูงขึ้น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ 4 สัปดาห์ยังถือว่าต่ำเมื่อเทียบกับอดีตจึงน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ หนึ่งในสกุลเงินที่แข็งค่าขึ้นมากที่สุดจากแข็งค่าของ ดอลลาร์สหรัฐ คือ ยูโร และหากตัวเลขตลาดแรงงานในวันศุกร์มีมากกว่าจำนวนที่คาดไว้ EUR/USD อาจไม่เพียงร่วงลงไปที่ 1.11 แต่อาจแตะ 1.10 ในสัปดาห์ต่อๆ ไป ส่วนข้อมูลฝั่งยูโรโซนก็ยังคงไม่แข็งแรงนักเนื่องมากจาก ยอดขายปลีก ของเยอรมันในเดือนมีนาคมมีน้อยลง รวมทั้ง อุตสาหกรรมการผลิต ก็ปรับตัวลดลงด้วย แม้ว่าดัชนีโดยรวมของยูโรโซนจะพัฒนาขึ้น แต่ถ้าเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การฟื้นตัวก็จะไม่ยั่งยืน ความกลัวนี้ได้แผ่ขยายไปยัง EUR/USD ในวันพฤหัสบดีและยังคงเสี่ยงต่อการขาดทุนอยู่

จำนวนการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (NFP) ไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวที่จะทำให้วันศุกร์เป็นวันสำคัญของ EUR/USD การคาดการณ์ล่วงหน้าสำหรับ ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน (CPI) ในเดือนเมษายนกำลังจะถูกเผยแพร่ออกมา หากไม่มีการกดดันทางด้านราคามากนัก เราอาจจะได้เห็นเงินยูโรตกทะลุแนวรับ ธนาคารกลางยุโรปปรับ ลดอัตราดอกเบี้ย อีกไม่ได้ แต่ยืนยันว่าจะไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนถึงกลางปี 2020 อัตราเงินเฟ้อที่อ่อนตัวอาจนำไปสู่เงื่อนไข TLTRO ที่ผ่อนปรนยิ่งขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งตรงกันข้ามกับตลาดแรงงานของสหรัฐที่กำลังมีสภาวะดีอาจทำให้มีการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น

ในทุกๆ เดือนเรามักจะมองหาตัวบ่งชี้บางอย่างที่เป็นตัวเบรคจำนวนการจ้างงานที่ไม่ใช่ภาคการเกษตร และในเดือนนี้เรามี ADP, จำนวนผู้ว่างงานครั้งแรก จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเป็นรายงานสำคัญ เราคาดว่าการเติบโตของงานในเดือนเมษายนจะยังคงเท่ากับเดือนมีนาคมแต่สิ่งที่จะช่วยดอลลาร์ได้คือการเพิ่มค่าจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงควรเพิ่มสูงขึ้นหลังจากที่ชะลอตัวไปในเดือนก่อน จำนวนผู้ว่างงานลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 5 ทศวรรษในช่วงต้นเดือนเมษายน ความตึงตัวของตลาดแรงงานน่าจะช่วยผลักดันให้ค่าจ้างปรับตัวดีขึ้น ตราบใดที่ NFP ยังคงเกิน 160,000 และรายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 0.3% EUR/USD จะปรับตัวลง และ USD/JPY จะพุ่งขึ้นไปที่ 112 หากค่าจ้างลดลงในระยะสั้นๆ EUR/USD จะฟื้นตัวขึ้นมาได้

ข้อโต้แย้งของฝั่งที่เห็นด้วยว่าจำนวนการจ้างงานดีขึ้น

  1. จำนวนการจ้างงาน ADP กระโดดจาก 27K ไปที่ 151K ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2017 เป็นต้นมา
  2. จำนวนผู้ว่างงานโดยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ 4 สัปดาห์ลดลงจาก 214K เป็น 212.5K
  3. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานลดลงจาก 1.71M เป็น 1.67M
  4. ความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีขึ้นในเดือนเมษายน

ข้อโต้แย้งของฝั่งที่เห็นด้วยว่าจำนวนการจ้างงานแย่ลง

1. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของมหาวิทยาลัยมิชิแกนลดลง
2. การปลดพนักงานออกมีความยุ่งยากมากขึ้น 10%
3. การลดลงอย่างรวดเร็วในองค์ประกอบการจ้างงานของ ISM

สำหรับนักลงทุนในเงินปอนด์สเตอร์ลิง ธนาคารกลางอังกฤษคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะลดลงซึ่งขัดต่อความคิดเห็นของผู้ว่าการคาร์นีย์และการพัฒนา GDP ธนาคารกลางเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อช่วงสิ้นปีอยู่ที่ 1.6% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 2% และยังลดอัตราเงินเฟ้อที่คาดไว้ในปี 2020 ลงอีกด้วย ในระหว่างที่ปรับการคาดการณ์ GDP ก็ยังแสดงความเชื่อมั่นว่าเงินเฟ้อและอุปสงค์จะเพิ่มขึ้นอย่างมากใน 2 หรือ 3 ปีข้างหน้านี้ การไม่มีแรงกดดันด้านราคาจะทำให้ที่ประชุมธนาคารอังกฤษ (BoE) ยังไม่ดำเนินการใดๆ ตราบใดที่ยังคาดการณ์อนาคตได้ จากข้อมูลที่คาร์นีย์แถลง ภาวะการลงทุนจะยังรับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของ Brexit เขากล่าวว่าหากการคาดการณ์ (ตามผลของ Brexit) ถูกต้อง ก็จำเป็นต้อง เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ซึ่งอาจมากกว่าที่ควรจะเป็น ความคิดเห็นที่ค่อนข้างรุนแรงนี้ทำให้เกิดการแยกฝ่ายกันระหว่าง BoE กับ ECB, RBA, BoC และ RBNZ แม้ว่าจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ แต่การปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปจะสูงขึ้นอย่างแน่นอน

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย