ภาพรวมตลาดฟอเร็กซ์ประจำวันที่ 24 เมษายน 2019โดย Kathy Lien กรรมการผู้จัดการด้านกลยุทธ์ฟอเร็กซ์จาก BK Asset Management
ภาวะตลาดกระทิงกำลังยึดครอง เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นกว่าทุกสกุลเงินหลัก คู่สกุลเงิน USD/JPY ทะลุระดับแนวต้าน 112 และลอยตัวขึ้นสู่ระดับที่แข็งแกร่งที่สุดในปีนี้ ขณะที่ EUR/USD กลับดิ่งลงสู่ระดับที่ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2017 และเนื่องจากเมื่อวานนี้ไม่มีการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงทำให้ไม่มีปัจจัยที่ขับเคลื่อนทิศทางของตลาดอย่างชัดเจน ทางด้านผลประกอบการพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ก็ปรับลงและตลาดหุ้นก็ไม่ได้ส่งมอบแดนบวกที่ต่อเนื่องมาจากวันอังคารที่ผ่านมา ทว่าการที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในขณะนี้กำลังซื้อขายอยู่ใกล้ระดับสูงสุด ผสมกับการที่ธนาคารกลางแคนาดากำลังพิจารณาใช้นโยบายแบบผ่อนคลาย ตลาดหุ้นที่เคลื่อนที่อยู่ในแดนบวกมานานทำให้เฟดมีมุมมองที่ค่อนข้างเอนเอียงไปทาง การใช้นโยบายแบบตึงตัว เสียมากกว่า ฉะนั้นเมื่อความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกผสมผสานกับความคืบหน้าทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ และนโยบายของเฟด จึงทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ น่าดึงดูดใจมากกว่าสกุลเงินอื่นทั้งหมด ทั้งนี้การประกาศข้อมูล ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทน และ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ในวันนี้จะไม่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างแน่นอน เนื่องจากหลายฝ่ายคาดว่ายอดคำสั่งซื้อจะพลิกฟื้นขึ้น และตลาดแรงงานก็ยังมีความตึงตัวมากอีกด้วย
ส่วนทางด้าน เงินยูโร ก็อ่อนค่าลงเนื่องจาก ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ของเยอรมนีในเดือนเมษายนซบเซา แม้ว่า ดัชนีภาคกิจการบริการ จะดีขึ้น แต่เศรษฐกิจที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในฝั่งยูโรโซนอย่างเยอรมนีกำลังได้รับความเดือดร้อนจาก ดัชนีภาคอุตสาหกรรม ที่อ่อนแอ และ Bundesbank ก็ได้ออกมาย้ำเตือนแล้วว่าตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจล่าสุดอาจออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ท่ามกลางผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ยังติดลบ มุมมองในแง่ผ่อนคลายของธนาคารกลางยุโรป ความเสี่ยงต่อการเก็บภาษีศุลกากรครั้งใหม่จากสหรัฐฯ รวมถึงข้อมูลทางเศรษฐกิจโดยรวมที่อ่อนแอ เราเคยมองว่า EUR/USD น่าจะลงไปถึง 1.10 เมื่อนานมาแล้ว ยิ่งขณะนี้ที่ราคาได้ลงทะลุแนวรับที่ 1.12 ไปแล้ว ฉะนั้นคู่สกุลเงินคงลงต่อไปอีกในเร็ว ๆ นี้ ส่วน เงินปอนด์สเตอร์ลิง เมื่อวานนี้ก็เกิดแรงเทขายแม้ว่าจะไม่มีการประกาศข้อมูลทางเศรษฐกิจใด ๆ จากสหราชอาณาจักร
USD/CAD พุ่งขึ้นเหนือระดับ 1.35 ภายหลังจากการ แถลงนโยบายทางการเงิน ของธนาคารกลางแคนาดา ธนาคารกลางแคนาดาเมินเฉยต่อข้อมูล ยอดค้าปลีก และ ข้อมูลทางการค้า ที่ต่างก็ออกมาดีขึ้นโดยสิ้นเชิง และยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75% ดังเดิม อีกทั้งลดผลคาดการณ์ทางเศรษฐกิจและละทิ้งอคติในแง่ตึงตัวอีกด้วย จากเดิมที่เคยคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2019 จะเติบโตขึ้น 1.7% ขณะนี้ธนาคารกลางฯ คาดไว้เพียง 1.2% เนื่องจากข้อมูลภาคอสังหาฯ และการบริโภคออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ทั้งนี้ แถลงการณ์นโยบาย ของธนาคารกลางฯ ยังชี้ว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปคงยังไม่ใช่การปรับขึ้นอย่างแน่นอน เพราะปัจจุบันธนาคารกลางฯ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเคลื่อนไหวภาคอสังหาฯ และแม้แต่ราคาน้ำมันก็ด้วย ซึ่งอันที่จริงเศรษฐกิจแคนาดาควรได้รับผลพลอยได้จาก ราคาน้ำมันดิบ ที่เพิ่มขึ้นเสียด้วยซ้ำ แต่ทว่าใน การแถลงข่าว ของผู้ว่าการธนาคารกลางแคนาดา นายโพลอซ ได้เผยว่าหากในอนาคตสภาพเศรษฐกิจมีสัญญาณบวกตามที่ธนาคารกลางได้คาดไว้ เขาคาดว่าน่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นมากกว่าปรับลง เมื่อเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าอคติของธนาคารกลางแคนาดามีความเป็นกลางที่เอนเอียงไปทางแง่ผ่อนคลาย คู่สกุลเงิน USD/CAD จะต้องมุ่งหน้าสู่แดนบวกต่อไปอย่างแน่นอน
ค่าเงินดอลลาร์ ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ กลับดิ่งลงสู่ระดับที่ต่ำสุดในปีนี้ ดัชนี CPI ของออสเตรเลียในไตรมาสแรกออกมาต่ำกว่าคาดการณ์อย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะแทนที่จะเติบโตขึ้นราว 0.2% แต่ดัชนีกลับออกมาคงที่ แม้ว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะมีท่าทีเป็นกลาง/เอนเอียงไปทางแง่ผ่อนคลายเล็กน้อยมาเป็นเวลานานพอสมควร แต่ทุกฝ่ายเชื่อว่าครั้งต่อไปธนาคารจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ย อย่างแน่นอน ส่วนทางด้านธนาคารกลางญี่ปุ่นก็ได้ออกมา แถลงการณ์นโยบายทางการเงิน เมื่อคืนนี้ และมีความเป็นไปได้สูงที่ญี่ปุ่นจะลดผลการประเมินสภาพทางเศรษฐกิจ จากรายงานล่าสุดจะเห็นได้ว่า รายจ่ายในภาคครัวเรือน ลดลง ภาวะการเกินดุลการค้า ก็ลดลง ดัชนีความเชื่อมั่น ลดลง อีกทั้งดัชนี ภาคการผลิต, ภาคกิจการบริการ และ ภาคอุตสาหกรรม ก็อ่อนแอลง รวมถึง อัตราเงินเฟ้อ ก็ต่ำลงอีกด้วย ทั้งนี้ตลาดเชื่อว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาสแรกนั้นอยู่ในสภาวะที่ตึงตัว ค่าเงินเยน จึงมีแนวโน้มอ่อนค่าลง และการตัดสินใจของธนาคารกลางญี่ปุ่นก็คงไม่ส่งผลใด ๆ ต่อคู่สกุลเงิน USD/JPY