หุ้นเทคโนโลยีพุ่งขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากที่มีข่าวดีเกี่ยวกับหุ้น Amazon (NASDAQ:AMZN) และข่าวการประกาศผลิตภัณฑ์ใหม่จากบริษัทApple (NASDAQ:AAPL) นอกจากนี้ยังมีการประกาศข่าวจากทำเนียบขาวที่ยืนยันว่าเส้นตายสำหรับภาษีสินค้าจีนในวันที่ 1 มีนาคมถูกเลื่อนออกไปอย่างเป็นทางการอีกด้วย
ดัชนีหลักทั้งสี่ของสหรัฐฯ ได้แก่ S&P 500, Dow Jones Industrials, NASDAQ Composite และ Russell 2000 ต่างก็ปรับตัวขึ้น ทำให้สัปดาห์นี้เป็นผลงานที่ดีที่สุดของสองในสี่ดัชนีหลักนี้ นอกจากนี้เงินปันผลก็ออกมาสูงกว่าโดยเฉลี่ย จึงทำให้ เงินดอลลาร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงซบเซาหลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ยกเลิกการเป็นปรปักษ์ทางการค้าอย่างเป็นทางการ ซึ่งสร้างความน่าประหลาดใจยิ่งขึ้นไปอีก โดยนายแลร์รี คุดโลว์ ที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของทำเนียบขาวได้เปรยก่อนหน้านี้ว่า ผู้นำทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกสองฝั่งกำลังเข้าใกล้การทำสัญญาครั้งประวัติศาสตร์แล้ว หากอ้างอิงจากประกาศดังกล่าว ใครๆ ก็คงคิดว่าตลาดจะต้องคึกคักมากขึ้นเป็นแน่
ทว่าดูเหมือนว่าความคาดหวังที่จะเกิดการเลื่อนเส้นตายได้ส่งผลต่อตลาดมาก่อนหน้านี้แล้ว เราคาดว่านักลงทุนคงจะเริ่มเบื่อหน่ายต่อคำมั่นสัญญาไปเสียแล้ว อันเนื่องมาจากการที่ทุกคนได้รับข้อมูลรายงานความคืบหน้าที่ไม่ตรงกันจากทุกฝ่ายมาโดยตลอด
NASDAQ พุ่งขึ้นเกินคาด ดัชนีหุ้นขนาดเล็กต่างก็ปรับขึ้น
การปรับตัวขึ้นของดัชนี NASDAQ เมื่อวันศุกร์ +0.83% ทำให้ดัชนีดังกล่าวปรับตัวขึ้นมากที่สุดในบรรดาดัชนีหลักตัวอื่น ๆ ของสหรัฐฯ จาก แถลงการณ์ ของบริษัท Amazon ที่จะเปิดคัวร้านขายของชำที่ปัจจุบันยังไม่มีการเปิดเผยชื่อ และการประกาศจากซีอีโอบริษัท Apple นายทิม คุก ณ ที่ประชุมประจำปีของบริษัท เผยว่าบริษัทกำลังดำเนินการสร้างผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้ “ทุกคนต้องทึ่ง” ซึ่งส่งผลให้เกิดการปรับตัวขึ้น
ดัชนี NASDAQ ที่เน้นเทคโลยีเป็นหลักปรับตัวขึ้น 0.77% ในสัปดาห์นี้ เป็นขาขึ้นครั้งที่ 10 รายสัปดาห์ซึ่งทำให้ราคามีมูลค่ามากกว่าจุดต่ำสุดเมื่อเดือนธันวาคม 20.05% และตัวเลขดังกล่าวยังทำให้ดัชนีเข้าสู่เขตแดนของตลาดกระทิงครั้งที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ 1999 ก่อนที่จะเกิดปรากฎการณ์ฟองสบู่แตกทางเทคโนโลยีในปี 2000 หากพิจารณาทางเทคนิคแล้ว ทั้งกราฟแท่นเทียนของวันศุกร์และแท่งเทียนรายสัปดาห์ได้ก่อตัวเป็นรูปคนแขวนคอ ส่อสัญญาณแนวโน้มที่จะเกิดตลาดหมี และราคาปิดครั้งหน้าจะปิดที่ระดับต่ำกว่าลำตัวของแท่งเทียน
ดัชนี Russell 2000 ทำผลงานได้ดีรองลงมาด้วยการปรับขึ้น +0.71% เพราะเหตุใดดัชนีหุ้นขนาดเล็กจึงผลงานดีกว่าดัชนีขนาดใหญ่และขนาดมหึมาขณะที่การเจรจาทางการค้าดำเนินมาใกล้จะถึงจุดจบเพียงนี้ จากที่เราเคยสังเกตก่อนหน้านี้ว่านับตั้งแต่ความขัดแย้งทางการค้าเริ่มขึ้น รูปแบบการเคลื่อนไหวของ Russell เป็นไปในทิศทางที่ชัดเจน แม้ว่าจะน่าประหลาดใจก็ตาม
เมื่อช่วงที่สงครามทางการค้ามีความตึงเครียดสูงสุด บรรดานักลงทุนต่างก็พร้อมใจกันแบ่งเงินทุนไปลงที่หุ้นขนาดเล็ก เนื่องจากบริษัทภายในประเทศที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้าสากลจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากภาษี อาจมีการคาดการณ์ว่าเมื่อสงครามการค้าคลี่คลายลง นักลงทุนอาจกลับไปลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทว่าความเคลื่อนไหวกลับไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน พวกเราไม่อาจทราบได้ว่าเหตุผลคืออะไร แต่ดูเหมือนว่าจะมีเหตุผลบางประการต่อไปนี้ที่เป็นไปได้
- อาจเป็นเพราะว่าการชี้แจงสถานะของสงครามทางการค้านั้นไม่เที่ยงตรง ส่งผลให้นักลงทุนไม่เกิดความเชื่อมั่นว่าจะมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นสาระสำคัญ หรือเหตุการณ์สงครามการค้าอาจไม่ได้เป็นแรงต้านในตลาดตั้งแต่แรก หรืออาจมีเหตุการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเรายังไม่ทราบแน่ชัด
- หรือว่านักลงทุนเริ่มกระจัดกระจาย เนื่องจากยังมองไม่เห็นผู้นำตลาดในขณะนี้
แน่นอนว่าอาจมีเหตุผลอื่นใดที่อาจเกี่ยวข้องกับสถานการณ์นี้ ทว่าบัดนี้ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าเหตุผลที่แท้จริงจะเป็นเช่นไร แต่ความไม่แน่นอนของสถานการณ์ก็ได้ทำให้หลายฝ่ายเกิดความกังวล หากพิจารณาจากรายสัปดาห์ Russell ปรับตัวขึ้นหลังจากคงตัวในระดับเดิมถึงเก้าสัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งเป็นการคงตัวที่ยาวนานที่สุดในรอบสิบหกเดือนที่ผ่านมา โดยระหว่างนั้นมีการปรับตัวลงเล็กน้อยเพียง 0.03%
ดัชนีอื่นที่ทำผลงานได้ดีเก้าสัปดาห์ติดต่อกันและสิ้นสุดการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์นี้คือ Dow โดยดัชนีหุ้นขนาดมหึมามีความเคลื่อนไหวที่ซบเซาเมื่อวันศุกร์ โดยการปรับตัวขึ้นมาเพียง 0.43% สำหรับรายสัปดาห์ลดลงไป 0.02% หากนักลงทุนช่วยกันปั่นให้ราคาเพิ่มขึ้นไปอีกสัก 0.03% ดัชนีจะทำลายสถิติการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องรายสัปดาห์ที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 1995
S&P 500 ปรับขึ้น 0.69% ในวันศุกร์ พุ่งขึ้นเหนือระดับ 2,800 และปิดตัวเหนือระดับดังกล่าวเป็นครั้งแรกในรอบ 16 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีเริ่มพลิกฟื้นขึ้นหลังจากอยู่ภายใต้ระยะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องที่ยาวนานที่สุดในปีนี้
หุ้นหมวดEnergy ปรับขึ้น +1.84% ในวันศุกร์ ปรับขึ้น 0.21 เปอร์เซ็นต์จากราคาปิดตัวเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นราคาที่สูงที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม ทว่า ราคาน้ำมัน ดิ่งลงเมื่อวันศุกร์ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบสามวัน ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าจำเป็น (-0.18%), กลุ่มวัสดุ (-0.13) และ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ (-0.12%) เป็นเพียงสามหมวดที่ปิดตัวในแดนลบ
ขณะเดียวกันผลตอบแทน พันธบัตรสหรัฐฯ อายุสิบปี ทะลุผ่านจุดสูงสุดของการสร้างตัวตลาดหมี ทะยานขึ้นสูงกว่าระดับโดยเฉลี่ย 50 วัน ซึ่งล่าสุดระดับที่สูงกว่านั้นคือเมื่อวันที่ 18 มกราคม
เศรษฐกิจที่ซบเซาทำให้นักลงทุนหนักใจ
แม้ว่าตลาดหุ้นยังคงมีแนวโน้มที่จะไปในทิศทางขาขึ้น แต่ดูเหมือนว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเริ่มชะลอตัวลง ซึ่งเราเชื่อว่าสิ่งที่ทำให้นักลงทุนหยุดชะงักคือเศรษฐกิจ
ดูเหมือนว่าภาคการผลิตทั่วโลกจะยังไม่สามารถพลิกฟื้นขึ้นมาจากแดนลบ ทั้ง จีน, ญี่ปุ่น และยุโรป ต่างก็เผยสัญญาณการชะลอตัว แม้แต่สหรัฐฯ เองก็ไม่รอดพ้นจากผลกระทบดังกล่าวเสียทีเดียว เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตขึ้น 2.6% ในไตรมาสสุดท้ายเมื่อปีที่แล้ว ชะลอตัวจากช่วงแรกของปี 2018 ที่มีการเติบโต 2.9% โดยมีการคาดการณ์ภาพรวมของไตรมาสที่ 1 ปี 2019 ว่าจะเติบโตราว 1.5% ซึ่งต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของปีที่แล้วเสียอีก
เราเชื่อว่าแรงต้านทางตลาดที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความเสี่ยงที่จะเกิดการ เพิ่มอัตราดอกเบี้ย ที่บัดนี้ความเสี่ยงก็ลดลงแล้ว และเฟดยังได้ปรับนโยบายที่มีแนวโน้มสงวนท่าทีเสียมากกว่า จากที่ประธานเฟด นายเจอโรม เพาเวลล์ กล่าวด้วยการใช้คำว่า'อดทน' ในการอธิบายจุดยืนของธนาคารกลาง
หากแรงต้านทั้งสองไม่ส่งผลต่อตลาด แล้วปัจจัยใดที่ทำให้นักลงทุนหยุดชะงักกันแน่ อาจเป็นในลักษณะเดียวกันกับสงครามการค้า ที่นักลงทุนต้องการเห็นการลงนาม “ข้อตกลง” ที่ชัดเจนก่อนที่จะเกิดความเชื่อมั่นในด้านใดก็ตาม