การประกาศ PACKAGE กระตุ้นเศรษฐกิจจีนชุดใหญ่ ครอบคลุมทั้ง การ ลดดอกเบี้ย การกระตุ้นกำลังซื้ออสังหา และ การพยุงตลาดหุ้น ถือเป็นชุด มาตรการที่สร้างความเชื่อมั่นเห็นได้จาก ตลาดหุ้นจีนที่ปรับขึ้นแรง ขณะเดียวกันก็ผลักดันให้ราคา COMMODITY หลายประเภทปรับตัว สูงขึ้น สำหรับเศรษฐกิจไทยที่มีการส่งออกไปที่จีน 15.5% ของมูลค่าการ ส่งออกรวม ก็น่าจะได้อานิสงค์เชิงบวกจากมาตรการดังกล่าว อย่างไรก็ ตาม ก็ยังมีอุปสรรคในเรื่องของค่าเงินบาทที่แข็งค่ารวดเร็ว ทั้งนี้รัฐบาล เตรียมที่จะหารือกับ ธปท. ในเรื่องการดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสม ซึ่งแนวทางหนึ่งที่มีโอกาสถูกนำมาใช้ได้แก่ เรื่องการปรับลด ดอกเบี้ย ซึ่งในปัจจุบันก็มีแรงกดดันให้ปรับลดอยู่แล้วตามวัฎจักรดอกเบี้ย โลกที่อยู่ในขาลง สภาวะดังกล่าวถือเป็นบวกต่อตลาดหุ้น การทะลุผ่านแนวต้านของ SET INDEX ที่บริเวณ 1450 จุด ขึ้นมา ขณะที่ เมื่อมองไปข้างหน้า ยังเห็น FUND FLOW ที่เตรียมไหลเข้าสู่ตลาด วันนี้ คาดกรอบ 1452 –1470 จุด TOP PICK เลือก PTT (BK:PTT), SCC และTOP
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน หนุนหุ้นไทยเตรียมทะลุ 1500 จุด การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน หนุนให้ตลาดหุ้นจีน CSI300 และ HANG SENG OUTPERFORM ตลาดหุ้นอื่นๆ ในช่วงสัปดาห์นี้ ซึ่งมาตรการกระตุ้นจะมาจาก 3 ส่วน คือ ดอกเบี้ย-อสังหาฯ-ตลาดหุ้น เพื่อที่จะหนุนให้ GDP GROWTH ปีนี้ยังคง ระดับ 5% ดังเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
• ลดการกันสำรองของแบงก์พาณิชย์ (RRR) ลง 0.5% เพื่อปล่อยสภาพคล่อง เข้าระบบราว 1 ล้านล้านหยวน
• ลดดอกเบี้ยระยะสั้น REVERSE REPO ระยะ 7 วันลง0.2% เหลือ 1.5% • ลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านลง 0.5%
• ลดเงินดาวน์ขั้นต่ำการกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 จาก 25% เหลือ 15%
• เตรียมตั้งกองทุนพยุงหุ้น มูลค่าอย่างน้อย 8 แสนล้านหยวน(การสวอป 5 แสนล้านหยวน / เงินกู้ 3 แสนล้านหยวน)
ต่อมาที่ประเทศไทย ซึ่งจะได้ประโยชน์อย่างแน่นอน หากเศรษฐกิจจีนฟื้นตัว เนื่องจาก ไทยมีมูลค่าส่งออกไปจีนเป็นลำดับ 2 (เป็นรองแค่สหรัฐฯ) คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 15.5% ของมูลค่าส่งออกในไทยทั้งหมด และหากพิจารณาในมุมของจีนก็นำเข้าสินค้า จากไทย สูงเป็นลำดับ 13 หรือคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 1.83% ของมูลค่านำเข้าในจีน ทั้งหมด และมีโอกาสเสริมให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าไทยมากขึ้นในอนาคต
ประเด็นดังกล่าวหนุนให้ตลาดหุ้นไทยมีโอกาส OUTPERFORM ตลาดหุ้นโลก คล้ายคลึงตลาดหุ้นจีน โดยกลยุทธ์การลวทุนในช่วงนี้ เน้นหุ้นได้ประโยชน์จาก เศรษฐกิจจีนฟื้นตัว อาทิ
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม และ LOGISTIC : AOT (BK:AOT), SJWD, ERW, CENTEL, MINT, III
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์: HANA, KCE, DELTA
กลุ่มธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัย : AP, LH, SIRI ORI กลุ่มวัสดุก่อสร้าง : SCC, SCGP
กลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี: PTT, TOP, PTTGC, PTTEP, IVL
กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม : CBG, CRC, BJC, CPALL (BK:CPALL) กลุ่มยางพารา : NER, STA
สรุป เริ่มเห็นมาตรการพยุงเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนมากขึ้น คาดหนุนให้เศรษฐกิจ และ ตลาดหุ้นจีนกลับมาดีขึ้นอีกครั้ง ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง ประเทศไทยคาดได้ประโยชน์จาก มูลค่าส่งออกไทยที่อิงจากจีนถึง 15.5% และจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะมากขึ้น ตามลำดับ ดังนั้น SET INDEX ระดับปัจจุบัน ถือเป็นจุดที่น่าสะสม โดยวันนี้มองกรอบ การเคลื่อนไหวที่ระดับ 1452-1470 จุด
ส่งออกไทยเสี่ยงติดขัด จากกับดักเงินบาทแข็งค่าเร็ว บ่ายนี้รอติดตามกระทรวงพาณิชย์เผย ตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือน ส.ค. 67 โดย CONSENSUS คาดยอดส่งออกจะเติบโต +6.0%YOY ซึ่งน้อยกว่าเดือน ก่อนที่ 15.2%YOY ขณะที่สัญญาณบ่งชี้ส่งออกไทยเดือน ส.ค. 67 มีแนวโน้มขยายตัว ได้ต่ำลง มีดังนี้
• ยอดนำเข้าจีนขยายตัวแค่ +0.5%YOY ในเดือน ส.ค.67 ปรับตัวลดลงจาก เดือนก่อนที่ +7.2%YOY (%CHANGE การนำเข้าจีนและการส่งออกไทย มี ค่า CORRELATION = 0.61) • ยอดขายรถยนต์ไทยดิ่ง -25%YOY ในเดือน ส.ค.67 (ยอดส่งออกรถยนต์ต คิดเป็นสัดส่วน 15% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดในปี 2566) • เงินบาทแข็งค่าเร็ว 5% สู่ 33.94 บาท/เหรียญฯ ในสิ้นเดือน ส.ค.67
ท่ามกลางเงินบาทที่แข็งค่ารวดเร็ว -10.5% นับตั้งแต่ปลาย 2Q67 สู่ระดับ 32.6 บาท/ เหรียญฯ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงกดดันให้ภาคการส่งออกมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำลง ซึ่งหาก เปรียบเทียบมูลค่าส่งออกต่อ GDP ในกลุ่มประเทศเอเชีย พบว่า “ไทย” พึ่งพาการ ส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 69% ต่อ GDP (ข้อมูลปี 2023)ซึ่งสูงสุดในภูมิภาค ทั้งนี้กรณีเงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง อาจทำให้ภาคการส่งออกที่เป็นองค์ประกอบ สำคัญต่อเติบโตเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบหนัก และกดดันภาพรวมในท้ายที่สุด ซึ่ง คาดหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ กนง. นำไปพิจารณาในการปรับลดดอกเบี้ยอย่าง น้อย 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้
สรุป ภาคการส่งออกถือเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อเติบโตเศรษฐกิจไทย แต่เงินบาท แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องและรวดเร็ว สู่ระดับ 32.6 บาท/เหรียญฯ เพิ่มแรงกดดันต่อภาคการ ส่งออกไทย ที่อาจมีแนวโน้มเติบโตต่ำลง ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยที่ กนง. นำไปพิจารณา ในการปรับลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีนี้
ต่างชาติซื้อหุ้นไทยฉ่ำ อาจดันดัชนีช่วงที่เหลือของปีไปได้ 1523 – 1576 จุด เดือน ก.ย. SET INDEX ปรับตัวขึ้นมาแรง 7.6%MTD แรงหนุนหลักๆ มาจากนักลงทุน ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยฉ่ำถึง 3.4 หมื่นล้านบาท และคิดเป็นสัดส่วนต่อ MARKET CAP สูงถึง 0.19% ถือเป็นสัดส่วนที่สูงสุดในรอบ 25 เดือนที่ผ่านมา สอดคล้องกับสถิติในอดีตที่ฝ่ายวิจัยฯ ประเมิน คือ ถ้าต่างชาติซื้อหุ้นไทยใน 1 เดือน เยอะ SET INDEX ก็มีโอกาสปรับตัวขึ้นเยอะตาม
▪ ในเดือนที่ต่างชาติซื้อสุทธิสูงเกิน 0.1% ของ MARKET CAP. (ปัจจุบันราว 1.8 หมื่นล้านบาทต่อเดือน) SET INDEX มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ 5.1% ▪ และถ้าในเดือนที่ต่างชาติซื้อสุทธิสูงเกิน 0.2% ของ MARKET CAP. (ปัจจุบัน ราว 3.6 หมื่นล้านบาทต่อเดือน) SET INDEX มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ 6.4% ในทางกลับกันถ้าต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยเยอะ SET ก็มีโอกาสลงเยอะเช่นกัน ▪ ในเดือนที่ต่างชาติขายสุทธิสูงเกิน -0.1% ของ MARKET CAP. (ปัจจุบันราว - 1.8 หมื่นล้านบาทต่อเดือน) SET INDEX มีโอกาสปรับตัวลงได้ -3.7% ▪ และถ้าในเดือนที่ต่างชาติขายสุทธิสูงเกิน -0.2% ของ MARKET CAP. (ปัจจุบันราว -3.6 หมื่นล้านบาทต่อเดือน) SET INDEX มีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ -5.8% ในเดือนนั้นๆ
FUND FLOW ที่เข้ามาในตลาดหุ้นไทยอย่างหนาแน่น มีส่วนสำคัญในการผลักดัน และ ส่งผลโดยตรงต่อ SET INDEX อย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สอดคล้องกับ ในมุม VALUATION หรือเป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทย ที่ปกติจะมีการซื้อขายบน MEYG เฉลี่ยที่ 3.8% แต่ในกรณี FUND FLOW ไหลเข้าอาจจะซื้อขายบน MEYG ที่แคบ ลงมาในระดับ -0.5SD ถึง -1 SD ตามกลไกจะหนุนให้ตลาดซื้อขายบน P/E ที่สูงขึ้นและ หนุนดัชนีเพิ่มขึ้นได้ 73 จุด และ 126 จุด หนุนดัชนีเดิมที่ 1450 จุด ให้ขยับขึ้นมาเป็น 1523 จุด – 1576 จุด ในปีนี้ได้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities