ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าดอกเบี้ยนโยบายจะปรับลดลงเมื่อไร ตัวเลขเศรษฐกิจที่ไม่ดีถูกตีความในเชิงบวก ในมุมที่คิดว่าจะทำให้ธนาคาร กลางปรับลดดอกเบี้ย แต่ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่สัญญาณการ ปรับลดดอกเบี้ยมีความคมชัด ตัวเลขเศรษฐกิจที่ย่ำแย่กลับมาถูกตีความ ตรงไปตรงมา ในมุมที่สร้างความกังวลให้กับตลาดหุ้น ภาพดังกล่าวเห็น ได้จากการรายงานตัวเลข ตลาดแรงงาน และ PMI ในสหรัฐที่แย่กว่าคาด กลับมาสร้างแรงกดดันให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงแรง ซึ่งสถานการณ์ ดังกล่าวน่าจะมีผลในเชิง SENTIMENT ต่อเนื่องมายังตลาดหุ้นไทย แต่ อย่างไรก็ตามภายใต้สัญญาณที่ กนง. จะคงดอกเบี้ยสวนทางกับดอกเบี้ย โลกที่ปรับลดลง เรามองว่าน่าจะทำให้เห็นเม็ดเงินไหลเข้ามาบ้านเรา และ เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ประเมินว่า SET INDEX น่าจะผันผวน แต่ก็มี DOWNSIDE ที่จำกัด โดย วันนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของ SET INDEX ที่ 1315 – 1330 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BEM, CPN และ IVL
ความกังวลเศรษฐกิจซบเซา บวกตะวันออกกลางตรึงเครียด กดดันตลาดหุ้นผันผวน วานนี้ตลาดหุ้นโลกพลิกกลับมาร่วงหนักอีกครั้ง โดยในฝั่งสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงราว -1.2% ถึง -2.3% ส่วนฝั่งยุโรปปิดตัวในแดนลบราว -1.0% ถึง -2.3% ขณะที่ปัจจัย เข้ามากดหลักๆ มาจากความกังวลเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ ส่งสัญาณชะลอตัว สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ
• ดัชนี PMI ภาคการผลิตจีนเดือน ก.ค.67 ปรับตัวลดลง สู่49.8 จุด ซึ่งต่ำกว่า คาด และร่วงลงมาอยู่ในโซนหดตัว (PMI
• ISM PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ เดือน ก.ค.67 ย่อตัวลงสู่ซึ่งป็นการหดตัว 4 เดือนติดกันต่อเนื่อง และต่ำสุดในรอบ 8 เดือน จากผลกระทบของคำสั่งซื้อ ใหม่รวมถึงการจ้างงานปรับตัวลง
• ตัวเลขผู้ขอสวสัดิการว่างงานสหรัฐฯ พุ่ง 249,00 ราย ซึ่งสูงกว่าคาดและทำ ระดับสูงสุดในรอบ 1 ปีซึ่งอาจเห็นภาพของจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น
เนื่องด้วยจีนและสหรัฐฯ เป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ มีสัดส่วนการค้า 1 ใน 4 ของ โลก ทำให้ความเสี่ยงทที่จะเกิด DEMAND ซบเซา หนุนให้นโยบายการเงินมีความผ่อน คลายมากขึ้น ด้านทิศทางดอกเบี้ยขาลงในสหรัฐฯ ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ สะท้อนจาก BOND YIELD 10Y ย่อตัวลงต่อเนื่อง ล่าสุดหลุด 4% ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมต่างประเทศผันผวน แนะนำสะสมหุ้นกลุ่ม DOMESTIC PLAY (CPALL (BK:CPALL) BJC CRC BDMS) และหุ้นกลุ่มปันผลสูงหลบความผันผวน (SIRI LH) รวมถึงธีม BOND YIELD ย่อตัวหนุนเงินบาทแข็งค่า (GULF BGRIM GPSC) และ หุ้นรับวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง (TIDLOR MTC)
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยล่าสุด อิหร่านประกาศโจมตีอิสราเอล เพื่อสางแค้นให้แกนนำฮามาส ซึ่งผลที่ตามมาอาจเพิ่ม ความกังวล SUPPLY ลดลง และส่งผลให้ราคาน้ำมันขยับสูงขึ้น มองเป็น SENTIMENT เชิงบวกต่อหุ้นอิงราคาน้ำมัน อาทิ BCP TOP PTTEP สรุป ภาพรวมตลาดหุ้นโลก ได้รับแรงกดดันหลักๆ จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอ ตัว ในช่วงทิศทางดอกเบี้ยชัดเจนขึ้น ทำให้ตลาดการเงินเพิ่มน้ำหนักกับความกังวล เศรษฐกิจซบเซา นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
การเมืองไทย รอความชัดเจนในเดือนนี้ คาดเป็นตัวกำหนด ทิศทาง FUND FLOW กระบวนการพิจารณาคดีทางการเมือง กรณีที่มีผลต่อเสถียรภาพรัฐบาลอย่าง ประเด็น 40 ส.ว.ยื่นถอดถอน นายกฯ เศรษฐา และประเด็นยุบพรรคก้าวไกล เริ่ม เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วง พ.ค.67 ทำให้FLOW ต่างชาติทยอยไหลออกจากหุ้นไทยตั้งแต่นั้นมา โดยเดือน พ.ค.67 และ มิ.ย.67 FLOW ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 1.6 หมื่นล้านบาท และ 3.5 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ และสร้างแรงกดดดันต่อ SET INDEX 5% หรือ ราว 60 จุด ในช่วงเวลาเดียวกัน
อย่างไรก็ตามในช่วงเดือน ส.ค. 67 จะมีความคืบหน้าที่ชัดเจนขึ้น หรือทราบผลการ วินิจฉัย ซึ่งน่าจะลดระดับความกังวลทางการเมืองลงไปได้บ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งมีความ คืบหน้าและรายละเอียด ดังนี้
• คดียุบพรรคก้าวไกล ศาล รธน.นัดฟังคำวินิจฉัย วันที่ 7 ส.ค.67 เวลา 15.30 น.
• คดีถอดถอนเศรษฐา จากตำแหน่งนายกฯ ศาล รธน.นัดฟังคำวินิจฉัย วันที่ 14 ส.ค.67 เวลา 15.00 น.
ซึ่งประเด็นแรก หากศาลนัดฟังคำวินิจฉัยแล้ว ยุบพรรคก้าวไกล สส.ภายในพรรค สามารถย้ายพรรคได้ภายใน 60 วัน ซึ่งมองว่าอาจทำให้เสียงของพรรคฝ่ายค้าน ลดลง แต่หากไม่ถูกสั่งให้ยุบพรรค ท่าทีของพรรคฝ่ายค้านทางสภาฯ ก็น่าจะดู ร้อนแรงและแข็งแกร่งมากขึ้น ส่วนประเด็นสอง หากศาลนัดฟังคำวินิจฉัยแล้ว นายกฯ ถูกถอดถอน ตลาดหุ้นน่าจะ ถูกตีความในเชิงลบ เพราะ ครม.ในปัจจุบัน จะพ้นสภาพไปด้วย และต้องมีการโหวต เลือกนายกใหม่ และอาจนำไปสู่มาตการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆที่เตรียมไว้ ต้องชะลอ ออกไปเช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลให้ GDP GROWTH บ้านเรา ชะลอตัวลงในบางภาคส่วน อย่างไรก็ตามหากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ใช้เวลาไม่นาน และได้มาซึ่งรัฐบาลที่มี เสถียรภาพ ผลกระทบก็น่าจะเกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้นๆ แต่ถ้านายกฯ ไม่ถูกถอดถอน การดำเนินนโยบายต่างๆ ยังเป็นไปตามกระบวนการ ตามปกติ และตลาดหุ้นน่าจะตอบสนองในเชิงบวก
สรุป ประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมืองไทยยังต้องติดตามต่อ ซึ่งจะรู้ผลลัพธ์ใน เดือนหน้า ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดทิศทางตลาดหุ้นไทยที่แท้จริง ซึ่งในช่วงเวลาก่อนรู้ผล (ปัจจุบัน) น่าจะกดดันให้ตลาดหุ้นไทยผันผวนในกรอบแคบ อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าตลาดหุ้นไทยจะผันผวนไม่มากนัก เนื่องจากมีมาตรการ ตลท.มาช่วยพยุง อาทิ UPTICK RULE และการกำกับหุ้นที่สามารถ SHORT SALE ซึ่งไม่เหมือน 2 เดือนที่ผ่านมา
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities