📈 คุณจะเริ่มลงทุนอย่างจริงจังในปี 2025 ไหม? เริ่มต้นก้าวแรกพร้อมรับส่วนลด 50% สำหรับสมาชิก InvestingProรับส่วนลด

เฟดมีมติ “คง”ดอกเบี้ย ตามคาด

เผยแพร่ 01/08/2567 11:11

ประธานเฟดส่งสัญญาณ พร้อมลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายน หากอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงานชะลอตัวลงต่อเนื่อง

  • Fed Funds Target Range

Actual: 5.25-5.50%        Previous: 5.25-5.50% 

KTBGM: 5.25-5.50%       Consensus: 5.25-5.50%

  • คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติให้ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25-5.50% ตามคาด และเดินหน้าปรับลดงบดุล (QT) ตามแผนที่ได้ประกาศไว้

  • ในช่วงการแถลงต่อสื่อมวลชน ประธานเฟด Jerome Powell ได้ส่งสัญญาณว่า เฟดมีโอกาสเริ่มลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายน หากแนวโน้มการชะลอลงของอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงานยังคงดำเนินต่อไป พร้อมย้ำว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะไม่ได้เป็นปัจจัยในการพิจารณานโยบายการเงินของเฟด

  • เรามองว่า เฟดเริ่มให้ความสำคัญต่อเป้าหมายการจ้างงานเต็มศักยภาพมากขึ้น หลังอัตราเงินเฟ้อมีพัฒนาการที่ดีขึ้นและมีแนวโน้มชะลอลงสู่เป้าหมายของเฟดได้ ซึ่งหากการจ้างงานเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ชะลอลงต่อเนื่อง ก็อาจทำให้ เฟดเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยได้ในการประชุมเดือนกันยายน และมีโอกาสที่เฟดจะสามารถลดดอกเบี้ยได้ราว 3 ครั้งในปีนี้ (การประชุมเดือนกันยายน พฤศจิกายน และธันวาคม) หรือราว -75bps สู่ระดับ 4.50-4.75%

  • Next FOMC Decision: Sep. 19 2024 (1 AM BKK)

คณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติให้ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.25-5.50% และเดินหน้าปรับลดอัตราการลดงบดุล (QT) ตามแผนที่ได้ประกาศไว้

  • FOMC มองข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดสะท้อนการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอัตราที่แข็งแกร่ง ส่วนการจ้างงาน เพิ่มขึ้นปานปลางและอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ชะลอตัวลงต่อเนื่อง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง และในช่วงไม่กี่เดือนมานี้ อัตราเงินเฟ้อได้มีแนวโน้มที่จะชะลอลงสู่เป้าหมายที่ 2% ของเฟด โดยคณะกรรมการ FOMC ได้ให้ความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการจ้างงานที่เต็มศักยภาพและเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% ซึ่งคณะกรรมการก็มองว่า แม้แนวโน้มเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอน แต่ความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวก็มีความสมดุลมากขึ้น โดยความเสี่ยงต่อเป้าหมายการจ้างงานและอัตราเงินเฟ้อ (Dual Mandate) ยังคงเป็นสิ่งที่เฟดให้ความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น คณะกรรมการจึงมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25-5.50% พร้อมกับเดินหน้าทยอยลดงบดุล (QT) โดย FOMC มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับเป้าหมายที่ 2%

  • ถ้อยแถลงของประธานเฟด ได้สะท้อนว่า “เฟดพร้อมที่จะลดดอกเบี้ย ได้อย่างเร็วที่สุดในการประชุมเดือนกันยายน” หากแนวโน้มการชะลอลงของทั้งอัตราเงินเฟ้อและการจ้างงานที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่าน ยังคงดำเนินต่อไป จนเฟดมั่นใจได้ว่า อัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมาย 2% ได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ประธานเฟดยังได้ระบุอีกว่า “เฟดยังไม่ได้พิจารณาถึงการลดดอกเบี้ยถึง -50bps” พร้อมระบุว่า มีความเป็นไปได้น้อยที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะชะลอตัวลงหนัก จนเข้าสู่ภาวะ “Hard Landing” ในส่วนประเด็นการเมืองกับการตัดสินใจนโยบายการเงินนั้น ประธานเฟดได้ย้ำจุดยืนเดิมว่า การเลือกตั้งสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน จะไม่ได้เป็นปัจจัยในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการเงิน

เราคงมองว่า เฟดมีโอกาสทยอยลดดอกเบี้ยในการประชุมเดือนกันยายน และอาจลดได้ถึง 3 ครั้งในปีนี้ หากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอตัวลงต่อเนื่องชัดเจน

  • รายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในช่วงหลัง ที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้อมูล Multivariate Core Trend Inflation ที่จัดทำโดย New York Fed ทำให้เรามองว่า เฟดอาจมีความมั่นใจต่อแนวโน้มการชะลอลงของอัตราเงินเฟ้อมากขึ้น และอาจเริ่มให้น้ำหนักในการตัดสินใจนโยบายการเงิน จากเป้าหมายการจ้างงานมากขึ้น โดย ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls: NFP) ในระยะหลัง ก็มีการชะลอลงต่อเนื่อง และอาจเริ่มต่ำกว่าระดับ +2.0 แสนตำแหน่งได้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม นอกจากนี้ เรายังคงเห็นความไม่สอดคล้องกันระหว่าง ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม กับ ยอดการจ้างงานจาก Household Survey ที่ใช้คำนวณอัตราการว่างงาน ทำให้เรามองว่า ภาพการจ้างงานของสหรัฐฯ นั้นอาจไม่ได้ดี เหมือนข้อมูล NFP แต่ก็อาจไม่ได้แย่เหมือนที่เห็นในรายงานจาก Household Survey ตามโครงสร้างตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนแปลงไปหลังวิกฤต COVID (การทำงานแบบ Hybrid, Gigs Economy และการจ้างงานจากผู้อพยพ) และจากการประชุมเฟดล่าสุด ทำให้เรามองว่า เฟดก็เริ่มมีความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอลงของตลาดแรงงานสหรัฐฯ มากขึ้นชัดเจน ดังนั้น หากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงชะลอลงต่อเนื่องได้จริง และมีความสอดคล้องกับภาพในอดีต ที่ตลาดแรงงานจะ “ชะลอลงเร็ว” (อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นได้อย่างรวดเร็ว) ในช่วงท้ายของวัฎจักรเศรษฐกิจ เรามองว่า เฟดจะสามารถเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ตั้งแต่การประชุมเดือนกันยายน โดยเฟดสามารถทยอยลดดอกเบี้ยต่อเนื่องได้ในการประชุมถัดๆ ไป รวมเป็นการลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง (-75bps) ในปีนี้ 

  • จากการวิเคราะห์ผลการประชุมเฟดในอดีตตั้งแต่ปี 1970 เป็นต้นมา เราพบว่า ปัจจัยการเมืองสหรัฐฯ อย่าง การเลือกตั้งประธานาธิบดี ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจนโยบายการเงินของเฟด โดยเฟดสามารถปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้ตามความเหมาะสมของภาวะเศรษฐกิจ ในการประชุมเดือนพฤศจิกายนที่มีการเลือกตั้ง และจากท่าทีของประธานเฟดล่าสุด ก็ทำให้เรามั่นใจมากขึ้นว่า เฟดมีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยได้ในการประชุมเดือนพฤศจิกายน หากตลาดแรงงานสหรัฐฯ ชะลอลงชัดเจนมากยิ่งขึ้น (ก่อนการประชุมเดือนพฤศจิกายน ตลาดจะรับรู้ข้อมูลการจ้างงานเดือนกันยายนและตุลาคม)

  • ทั้งนี้ เราประเมินว่า การปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟด ในปี 2025 เป็นต้นไป จะมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากอานิสงส์ของการลดดอกเบี้ยติดต่อกัน 3 ครั้งในปีนี้ จะพอช่วยพยุงเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไว้ได้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ก็อาจได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากนโยบายเศรษฐกิจของโดนัลด์ ทรัมป์ หากโดนัลด์ ทรัมป์ สามารถคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี พร้อมกับพรรครีพับลิกันที่อาจครองเสียงข้างมากในสภาคองเกรส ได้ตามที่เราคาดการณ์ไว้ โดยเรามองว่า เฟดอาจทยอยลดดอกเบี้ยลงในอัตรา -25bps ต่อการประชุมรายไตรมาส ในปี 2025 อย่างไรก็ดี มุมมองของผู้เล่นในตลาดได้คาดหวังการลดดอกเบี้ยของเฟด ในอัตราที่มากกว่าคาดการณ์ของเราพอสมควร โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดมองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยต่อเนื่อง 4-5 จนถึงการประชุมเดือนมีนาคม 2025 ทำให้มีความเสี่ยงที่ตลาดอาจจะต้องปรับมุมมองต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยดังกล่าว หากภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ชะลอลงอย่างที่ตลาดประเมิน หรือเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจน ว่าจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยต่อเนื่องทุกการประชุมได้

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย