Central banks in focus
• SET: คาด SET Index แกว่งทรงตัวในกรอบ 1290-1330 จุด สัปดาห์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสัปดาห์ที่นักลงทุนส่วนใหญ่อาจ อยู่ในโหมด Wait & See เพื่อรอดูผลของการประชุมธนาคารกลางสําคัญ อย่าง Bol และ Fed ที่จะออกมาในวันที่ 31 ก.ค.นี้ ในส่วนของปัจจัย ต่างประเทศที่เกิดขึ้นล่าสุด ได้แก่รายงานตัวเลข PCE เดือนมิ.ย.ของ สหรัฐฯเมื่อคืนวันศุกร์ ซึ่งปรากฏว่าออกมาใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ ไว้ ส่งผลให้ผลกระทบต่อ Fed Funds futures ในตลาดไม่ได้มีนัยสําคัญ แต่อย่างใด
• Strategy: ประเมินตลาดหุ้นทั่วโลกมีโอกาสปรับตัวผันผวนต่อไปอีกสัก ระยะ จากปัจจัยการเมืองสหรัฐฯที่มีโอกาสพลิกไปพลิกมา ส่วนในบ้านเรา อาจต้องระวังปัจจัยการเมืองเช่นกัน ที่อาจมีความเข้มข้นมากขึ้นในเดือน หน้า ด้วยเหตุนี้ในเชิงกลยุทธ์ เราจึงยังคงแนะนํานักลงทุนให้ Wait & See และถือครองหุ้นในส่วนเดิม รอจังหวะการตั้งรับที่เหมาะสม โดยยังคง ประเมินแนวรับของ SET Index ช่วงไตรมาส 3 ไว้ที่ 1270 และ 1240 จุด ตามล่าดับ หุ้นเด่นของเรายังคงได้แก่ COCOCO, SAPPE, STGT, SCCC, TASCO, BCH, BBL, KTB, CKP, TVO
• Factors: สําหรับปัจจัยที่น่าติดตามประจําสัปดาห์นี้ ได้แก่
1) การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bol) ในวันที่ 30-31 ก.ค. ซึ่งคาดว่าจะ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายแต่อย่างใด แต่น่าจับตาว่าจะมีการส่ง สัญญาณในเชิง Hawkish บ้างหรือไม่ หลังตัวเลข Core CPI ขยายตัว เร็วขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน
2) การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 30-31 ก.ค. ซึ่งคาดว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายแต่อย่างใด แต่แนะน่าติดตามการ ให้ความเห็นของนาย Jerome Powell หลังการประชุม ว่าจะมีการส่ง สัญญาณมั่นใจต่อแนวโน้มเงินเฟ้อเหมือนเดิมหรือไม่
3) รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยประจําเดือนมิถุนายนในวันที่ 31 ก.ค.
4) การประชุมธนาคารอังกฤษ (BoE) ในวันที่ 1 ส.ค. ว่าจะมีการปรับลด ดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกของ Cycle มาอยู่ที่ระดับ 5.0% เหมือนกับที่นัก ลงทุนบางส่วนคาดการณ์หรือไม่
• June trade data: กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขส่งออก-นําเข้า ประจําเดือนมิถุนายน ไฮไลท์ที่น่าสนใจดังนี้
1) ยอดส่งออกหดตัว 0.3% ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่วนยอดน่าเข้า ขยายตัว 0.3% ต่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้เช่นกัน ส่งผลให้ดุลการค้า เกินดุล 218 ล้านเหรียญฯ ต่ากว่าที่ตลาคาดการณ์ไว้
2) หากเขาไปดูในรายละเอียด จะพบว่ายังมีหลายสินค้าที่มียอดส่งออก เดือนมิถุนายนอยู่ในเกณฑ์ดี อาทิ ยางพารา (+28.8% YoY), น้ามะพร้าว (+19%), ทูน่ากระป๋อง (+15.6%), อาหารสัตว์เลี้ยง (+13.1%), ไก่แปรรูป (+4.0%), วงจรพิมพ์ (+5.9%) มองเป็นบวก ต่อหุ้นที่เกี่ยวข้องได้แก่ STA, NER, TEGH, COCOCO, MALEE, PLUS, TU, AAI, ITC, GFPT, CPF, TFG, BTG, KCE
บทวิเคราะห์นี้จัดทำขึ้นและเผยแพร่โดยทีมนักวิเคราะห์ของ Trinity Securities