แม้วานนี้หุ้นกลุ่มเทคฯ โลกตกแรง จากความกังวลปธน. ไบเดน เตรียม เพิ่มมาตรการกีดกันจีนที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงทรัมป์บอกไต้หวันควร จ่ายเงินให้กับสหรัฐฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปกป้องไต้หวัน กดดันหุ้น TSMC ของไต้หวันตกหนัก แต่คาดเม็ดเงินที่เคยไหลเข้าตลาดหุ้นในแถบ เอเชียเหนือ อาจไหลกลับเข้ามาที่ตลาดหุ้นเอเชียใต้และไทยมากขึ้น และยัง ได้แรงหนุนจากกำไรจากอัตาแลกเปลี่ยน หลังเงินบาทแข็งค่า หลัง FED มี โอกาสเร่งลดดอกเบี้ย และค่าเงินดอลลาร์อ่อนจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าเร็ว กลับมาที่ตลาดหุ้นไทย คาดมีหุ้นที่ได้ SENTIMENT บวก น่าสะสมลงทุน ในช่วงนี้อยู่ 3 ธีม 1). หุ้นนิคม AMATA, WHA, ROJNA, PIN รับกระแส การกระจายการลงทุนลดความเสี่ยงในจีน และในอดีตขึ้นได้แรงใน สมัยทรัมป์เป็นปธน. 2). หุ้นน้ำมัน โรงกลั่น PTTEP TOP BCP จากราคา น้ำมันฟื้นแรงสต็อกลดลง และเก็งกำไรนโยบายเน้นพลังงานฟอสซิล ของทรัมป์ 3). หุ้นรับบาทแข็ง BOND YILED สหรัฐลงเร็ว GULF, GPSC, SIRI, INTUCH, MTC, SAWAD ส่วน SET INDEX วันนี้ประเมินเคลื่อนไหวในกรอบ 1310–1328จุด ส่วน หุ้น TOP PICK เลือก CPALL (BK:CPALL), GULFและ BDMS
ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับฐานแรง มีปัจจัยอะไรเป็นตัวกดดัน และ ส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลงราว 1.3%-2.9% โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม TECH ที่ ปรับตัวลงแรง อาทิ NVIDIA -6.6% AAPL -2.5% AMZN -2.6% MSFT -1.3% ตามลำดับ ขณะที่หุ้น TECH ไต้หวันอย่าง TSMC ก็ปรับตัวลงแรงถึง 6.1% ซึ่งปัจจัย กดดันหลักๆ คือ ทางรัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมพิจารณาออกมาตรการที่เข้มงวดบังคับใช้ ต่อบริษัท TECHNOLOGY ในสหรัฐฯ หากทางบริษัทยังคงอนุญาตให้บริษัทจีนเข้าถึง เทคโนโลยีของสหรัฐ ขณะที่ทางทรัมป์กล่าวว่า ไต้หวันควรจ่ายเงินให้กับสหรัฐเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ ปกป้องไต้หวัน และไต้หวันยังได้เอาธุรกิจชิปของเราไปทั้ง 100% ถ้อยแถลงดังกล่าวทำ ให้หลายฝ่ายเกิดความวิตกเกี่ยวกับพันธกรณีของสหรัฐในการปกป้องไต้หวัน หากถูก จีนโจมตี ในกรณีที่นายทรัมป์ชนะการเลือกตั้งในเดือนพ.ย.67 และกลับมาดำรง ตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเป็นสมัยที่ 2 ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยดังกล่าว ทำให้DOLLAR INDEX อ่อนค่าแรง 0.5% อยู่ที่ระดับ 103.75 จุด และหนุนราคาน้ำมันดิบ BRENT วานนี้ปรับตัวขึ้น 1.6% อยู่ระดับ 85.08 เหรียญ ฯ/บาร์เรล อีกทั้งราคาน้ำมันดิบยังมีปัจจัยหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของ EIA ที่ลดลง 4.9 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่ตลาดคาดลดลงเพียง 30,000 บาร์เรล ประเด็นดังกล่าว ถือว่าสร้าง SENTIMENT เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มโรงกลั่น-น้ำมันอย่าง PTT (BK:PTT) PTTEP TOP BCP SPRC เป็นต้น
ขณะที่ทางฝั่งประเทศไทยหากทางทรัมป์ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐเป็น สมัยที่ 2จริง คาดหนุนให้ยอด BOI และ FDI เร่งตัวขึ้นเฉกเช่นในอดีต และตอบสนองใน เชิงราคาหุ้นได้เป็นอย่างดี โดยเมื่อปี 2017 ที่ ทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีสมัย 1 SET +13.6% ส่วนหุ้นกลุ่มนิคมอย่าง AMATA +126%, ROJNA +56% และWHA +35%
ขณะที่ปัจจุบันตัวเลขของต่างชาติที่ได้รับการส่งเสริมลงทุนยังเร่งตัวขึ้น YOY โดยมี เม็ดเงินเข้ามาลงทุนในไทยช่วง 5M67 ทะลุ 7.1 หมื่นล้านบาท และปรับตัวเพิ่มขึ้น 58%YOY โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.ญี่ปุ่น 2.สิงคโปร์ 3. สหรัฐฯ 4.จีน 5.ฮ่องกง เชื่อว่าแรงดึงดูดนักลงทุนต่างชาติตามแนวทางของรัฐบาล จะ หนุนให้ยอด FDI ขยับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งยอดการขอรับการส่งเสริมฯ จาก FDI ในงวด 1Q67 ขยายตัว +16%YOY ซึ่งน่าจะเห็นเม็ดเงินที่ไหลเข้าจริงๆ ในอีก 1-2 ปีข้างหน้า ประเด็นดังกล่าว ถือว่าสร้าง SENTIMENT เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มนิคมอย่าง AMATA WHA ROJNA PIN เป็นต้น
สรุป ตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับฐานแรง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม TECH หลังคำพูดของทั้งไบ เดน-ทรัมป์ ส่งผลให้ DOLLAR INDEX อ่อนค่าแรง และหนุนราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น ตามกลไก ดีต่อ PTT PTTEP TOP BCP SPRC เป็นต้น ส่วนหุ้นกลุ่มนิคมอย่าง AMATA WHA ROJNA PIN จะได้ประโยชน์หากเกิดการกีดกันการค้ากันระหว่าง สหรัฐฯ-จีน เฉกเช่นเดียวกับตอนที่ทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดีสมัย 1
เห็นแววเงินบาทแข็งค่ามากขึ้น DOLLAR INDEX ปรับตัวลดลงมาต่อเนื่อง จนล่าสุดอ่อนค่ามากสุดในรอบ 2 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 103.75 จุด โดยย่อตัวลงมา -2.0%MTD หลังได้รับแรงกดดันจาก
1. เงินเยนแข็งค่าขึ้นกว่า 1%ในเชิงเปรียบเทียบกับ USD ภายใน 1 วัน คาดญี่ปุ่น ออกโรงแทรกแซงค่าเงิน
2. BOND YIELD 10Y สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่ต้นเดือน ก.ค. ราว 30 BPS. มาอยู่ที่ 4.16% อีกทั้งวานนี้ยังมีแรงกดดันจากผู้ว่าการ FED (คริสโตเฟอร์ วอลเลอร์) ส่งสัญญาณ FED ลดดอกเบี้ยเดือนก.ย. 67 โดย มองว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีโอกาสชะลอตัว แต่ไม่ถึงกับเข้าสู่ภาวะ RECESSION พร้อมกับเชื่อว่าใกล้ถึงเวลาเหมาะสมที่จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ย
ดอลลาร์ที่อ่อนค่า บวกกับความคาดหวังดอกเบี้ยขาลง ส่งผลให้ผลต่างระหว่าง BOND YIELD 10Y สหรัฐฯ – ไทย มี GAP ที่แคบลง หนุนให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า เป็น 35.88 บาท/USD ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยฯ แนะนำหุ้นไทย 3 กลุ่มมักรีบาวน์ประจำ รับ กระแสดังกล่าว
1. หุ้นปันผลสูง อาทิ SIRI TTB INTUCH
2. หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็ง อาทิ GULF BGRIM GPSC
3. หุ้นรับวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง อาทิ TIDLOR MTC SAWAD
เศรษฐกิจไทยยิ่งโต ก็ยิ่งลดความเสี่ยงจากหนี้สาธารณะเกิน กรอบเป้าหมาย 70% วานนี้ในการประชุมสภาฯ มีมติเสียงข้างมาก (297:164 เสียง) รับหลักการร่าง กฎหมายเพิ่มงบโครงการ DIGITAWALLETวงเงิน 1.22 แสนล้านบาท ก่อนที่จะมีการ พิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบเพิ่มเติมปี 2567 วาระ 2-3 ต่อไปในวันที่ 31 ก.ค. 67 การใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นความเสี่ยงที่ทำให้หนี้สาธารณะ/GDP สูงขึ้น ตามไปด้วย ขณะที่ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินสมมุติฐานต่างๆ ได้ว่า รัฐบาลสามารถก่อหนี้ เพิ่มได้ราว 1.2 ล้านล้านบาท ภายใต้ GDP เท่าเดิมก็ยังอยู่ในกรอบ 70% หนี้ สาธารณะต่อ GDP อย่างไรก็ตามหาก GDP เติบโตได้อย่างน้อย 3% จะก่อหนี้เพิ่มขึ้น ได้ถึง 1.45 ล้านล้านบาท โดยที่ไม่เกินกรอบเป้าหมาย
สรุป เศรษฐกิจไทยที่เติบโตมากขึ้น จะทำให้การก่อหนี้สาธารณะมี ROOM ที่กว้างขึ้น ลดความเสี่ยงการกู้เกินกรอบวินัยการเงินการคลัง
จับตางบ 2Q67 ของธนาคารที่เหลือ ... ตลาดให้น้ำหนักไปที่ NPL และ CREDIT COST
จับตาการประกาศงบการเงินงวด 2Q67 ของธนาคารที่เหลือในวันที่ 18 –19 ก.ค. 67 โดยฝ่ายวิจัยคาดการณ์กำไรสุทธิกลุ่มฯ (8 ธนาคาร) ที่ 6.1 หมื่นล้านบาท ลดลงราว 2%QOQ (ทรงตัว YOY) จากรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) อ่อนแอ ตามทิศทางสินเชื่อ ชะลอตัว รวมทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ของ ธ.พ. ใหญ่ ประกอบกับต้นทุนทางการเงิน ปรับขึ้นเพราะการ REPRICING เงินฝากประจำ ด้าน CREDIT COST มองไว้ทรงตัว QOQ (+ YOY) ภายใต้ภาพเศรษฐกิจไทยที่ไม่ได้มพัฒนาการจากงวดก่อน ส่งผลให้ประเมิน NPL / LOAN กลุ่มฯ ขยับมาที่ 3.7% เทียบ กับ 3.6% ณ สิ้นงวดก่อน (3.5% ณ สิ้นปี 2566) และ COVERAGE RATIO ต่ำลง เหลือ 176% จาก 179% ณ สิ้นงวดก่อน เหตุเพราะการบริหารจัดการคุณภาพ สินทรัพย์เชิงรุก ผ่านการ WRITE-OFF และขาย NPL สะท้อนความเปราะบางของ เศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ หากพิจารณาการเติบโตของกำไรเชิง YOY ประเมิน TTB ที่มี TAX SHIELD และ KBANK (BK:KBANK) จากทิศทาง CREDIT COST ลดลงมาที่ 1.9% (1Q67 ที่ 1.9% และ 2Q66 มีฐานสูงที่ 2.1%) มีโอกาสกำไรสุทธิขยายตัว YOY สูงกว่ากลุ่มฯ (รายละเอียด เพิ่มเติม INDUSTRY UPDATE กลุ่มฯ วันที่ 2 ก.ค. 67) โดยประเด็นที่ฝ่ายวิจัยมองว่าตลาดให้น้ำหนักในงวดนี้อยู่ที่คุณภาพสินทรัพย์ หลัง TISCO ประกาศงบการเงินสัปดาห์ก่อน แม้กำไรสุทธิตามคาด แต่สัดส่วน NPL / LOAN เพิ่มมากกว่าคาด จากสินเชื่อเช่าซื้อและจำนำทะเบียนรถ ซึ่งภาพดังกล่าวอาจ เปิด DOWNSIDE RISK ต่อคาดการณ์กำไร 2Q67 จาก CREDIT COST รวมถึงการ ตั้งสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงให้กับบริษัทที่ถูกลดอันดับเครดิตโดย TRIS RATING เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาพรวมกลุ่มฯ จืดชืด แต่ด้วยค่าเฉลี่ย PBV กลุ่มฯ ซื้อขาย 0.8 เท่า และให้ DIV YIELD เกิน 5% ต่อปี ยังมีความน่าสนใจเชิง VALUATION ให้คำแนะนำ OUTPERFORM กับ KBANK (FV@B148), BBL (FV@B175) และ TTB (FV@B1.98) สำหรับ ธ.พ. ที่เหลือ เรียงตามความชอบดังนี้ KTB (NEUTRAL : FV@B19) > TISCO (NEUTRAL : FV@B100) > SCB (NEUTRAL : FV@B111) > KKP (UNDERPERFORM : FV@B49)
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities