เห็นพัฒนาการเชิงบวกของ SET INDEX เล็กน้อยจากการที่ดัชนีค่อยๆ ขยับตัวสูงขึ้น+แรงขายสุทธิของต่างชาติลดลง อย่างไรก็ตามมูลค่าการ ซื้อขายที่ยังไม่มากพอทำให้เรายังไม่พ้นจากภาวะความผันผวน ส่วนแรง ขับเคลี่อนที่น่าจะพอทำให้เราหลุดออกจากภาวะผันผวนได้ น่าจะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ความคาดหวังว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยมากกว่า 1 ครั้งในปี 2567 ซึ่งภาวะดังกล่าวน่าจะทำให้เงินบาทแข็งค่าและดึงดูดเม็ดเงินให้ไหล เข้ามาได้บางส่วน อีก เรื่องหนึ่งคือมาตรการกระตุ้นจากรัฐบาลของบ้าน เรา ซึ่งน่าจะมีทั้ง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง DIGITAL WALLET รวมถึงมาตรการกระตุ้นอุตสาหกรรมต่าง ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็น มาตรการกระตุ้นตลาดหุ้น ซึ่งรอกรอบเวลาที่ชัดเจน ทั้ง TESG และ วายุภักษ์ ซึ่งหากทุกส่วนที่กล่าวถึงเกิดขึ้น SET INDEX ก็จะมีแนวโน้มที่ดี ประเมินว่า SET INDEX วันนี้มีโอกาสปรับตัวขึ้นไปยืนเหนือ 1330 จุดได้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณบวกทาง TECHNICAL ประเมินกรอบ 1323 – 1335 จุด หุ้น TOP PICK วันนี้เลือก CENTEL, CPN และ GPSC
หวังดอกเบี้ยขาลง หนุนเม็ดเงินไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยง วานนี้มีรายงานตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจสหรัฐ ดังนี้
• เงินเฟ้อเดือน มิ.ย. +3.0%YOY ซึ่งต่ำกว่าตลาดคาด +3.1%YOY และชะลอ ตัวลงจากเดือนก่อนที่ +3.3%YOY รวมถึงเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี
• ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานล่าสุด 222,000 ราย ชะลอตัวลงต่อเนื่องจาก สัปดาห์ก่อนที่ 230,000 ราย
ินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนมิ.ย. ที่ชะลอตัวลงมากกว่าคาด บวกกับตลาดแรงงานสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอตัวลงต่อเนื่อง ล้วนเป็นปัจจัยที่ FED นำไปพิจารณาผ่อนคลาย นโยบายการเงินมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดคาดว่า FED จะปรับลดดอกเบี้ยมากถึง 3 ครั้ง ในปีนี้ (เดิมคาด 1-2 ครั้ง) โดยครั้งแรกเป็นเดือน ก.ย. มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 84.6%
ภาวะดังกล่าวทำให้ยังเห็นภาพของเม็ดเงินมีแนวโน้มออกจากสินทรัพย์ปลอดภัย และ ไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดย DOLLAR INDEX อ่อนค่าลงเหลือ 104.44 จุด ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ดีดตัวขึ้นมา 85.4 เหรียญฯ อีกทั้งตลาดหุ้นโลกส่วนใหญ่ ปิดตัวในแดนบวก ส่วน BOND YIELD 10 ปีสหรัฐฯ ร่วงลงมาอยู่ที่ 4.2% (-4.2%MTD หรือลดลง27 BPS.) ส่งผลให้ส่วนต่าง BOND YIELD 10 ปี สหรัฐฯ –ไทย มี GAP ที่ แคบลงมาอยู่ที่ 1.59% หนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 36.37 บาท/USD
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ฝ่ายวิจัยฯ คาดการณ์ว่ามีอยู่ 3 กลุ่ม หวังรีบาวน์ รับ กระแส BOND YIELD สหรัฐปรับลง ดังนี้
1. หุ้นปันผลสูง อาทิSIRI, TTB, PTTEP
2. หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็ง GULF, BGRIM, GPSC
3. หุ้นรับวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง JMT, MTC, SAWAD,TIDLOR
สรุป ความคาดหวัง FED ลดดอกเบี้ยจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณชะลอ ตัวลง ทำให้ยังเห็นภาพของเม็ดเงินมีแนวโน้มออกจากสินทรัพย์ปลอดภัย และไหลเข้า สู่สินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
ัฏจักรดอกเบี้ยขาลงสหรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้น หวัง FUND FLOW เข้าเอเชียและไทยระยะถัดไป
ัฏจักรดอกเบี้ยขาลงสหรัฐที่กำลังจะเกิดขึ้น อาจทำให้เห็นการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินเข้า สู่ตลาดหุ้นเอเชียหรือตลาดหุ้นกำลังพัฒนาในระยะถัดไปมากขึ้นจาก 3 เหตุผลดังนี้
1. หุ้นในฝั่งประเทศเกิดใหม่มักจะปรับตัวขึ้นได้ดี เวลา FED เร่งใช้นโยบาย การเงินผ่อนคลาย หรือ ใช้ QE ช่วงนั้นเม็ดเงินมีการเอนเอียงไหลมาเข้าหุ้น เทคฯ และหุ้นประเทศกำลังพัฒนา มากกว่าหุ้นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งในช่วง QE1 –3 ที่ MSCI EMERGING +134% มากกว่า MSCI WORLD +116% และช่วง QE COVID ที่ MSCI EMERGING +89% มากกว่า MSCI WORLD +75%
2. P/E67F MSCI WORLD (ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว) 20.4 เท่า เร่งตัวสูงขึ้นกว่า MSCI EMERGING (ตลาดหุ้นกำลังพัฒนา) ที่ 13.4 เท่า โดยเฉพาะตลาด หุ้น NASDAQ มี P/E 44.2 เท่า (P/E67F 35.6 เท่า) น่าจะเป็นแรงจูงใจให้นัก ลงทุนเพิ่มน้ำหนักในตลาดหุ้นกำลังพัฒนามากขึ้น อีกทั้งยังมีโอกาสได้กำไร จากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม
3. ค่าเงินเอเชียหรือค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้น จากส่วนต่างผลตอบแทน ดอกเบี้ยไทยสหรัฐที่แคบลง และเริ่มเห็นสัญญาณค่าเงินบาทเร่งตัวแข็งค่าขึ้น ในช่วงนี้ โดย 2 สัปดาห์ ค่าเงินบาทแข็งลงมาเกือบ 1บาท จาก 37 บาท/ เหรียญ เหลือ 36 บาท/เหรียญ
สรุป FUND FLOW มีโอกาสเอนเอียงมาที่ตลาดหุ้นเอเชีย และไทยมากขึ้น ช่วยหนุนให้ SET INDEX ยืนเหนือ 1300 จุด และน่าจะเดินหน้าสู่ 1400 จุดในช่วงถัดไปได้
มาตรการภาครัฐฯ เตรียมเข้ามาในช่วงที่เหลือของปี ลุ้นพยุง SET ยืนเหนือ 1350 จุด
หลังกระทรวงการคลังมีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการ DIGITAL WALLET(รายละเอียดเพิ่มเติมในบทวิเคราะห์ MARKET TALK วันที่ 11 ก.ค.67) ต่อมาวานนี้ รมช.คลัง กล่าวในแง่ของผลต่อเศรษฐกิจ ว่าตัวเลขคาดการณ์ผู้มาใช้ สิทธิในโครงการดังกล่าวราว 40 กว่าล้านคน ซึ่งคาดว่าจะกระตุ้น GDP GROWTH ได้ ราว 1.3-1.8% แต่หากท้ายสุด มีผู้มาใช้สิทธิมากกว่าที่ประเมินไว้ ก็เชื่อว่าจะมีผลดีกับ เศรษฐกิจมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับสำนักเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้ง WORLD BANK และ สศช. ที่คาดว่า DIGITAL WALLET จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ราว 0.5- 1.0% และ 0.25% ตามลำดับ ซึ่งหากโครงการ DIGITAL WALLET กระตุ้นเศรษฐกิจ ได้จริง และหนุนให้เงินเฟ้อขยับขึ้นตามที่ ธปท. คาด อาจจะทำให้ประเทศไทยยังไม่เห็น การปรับลดดอกเบี้ยในปีนี้ดังประเทศสหรัฐฯ และหนุนค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น ขณะที่ประเด็นบวกถัดมา คือ ความคาดหวังเม็ดเงินจาก THAIESG เงื่อนไขใหม่ ที่คาด จะมีเม็ดเงินไหลกลับเข้ามาหนุนตลาดหุ้น 6 –7 หมื่นล้านบาท/ปีและหนุนให้กองทุนลด สถานะเงินสดและซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นในพอร์ตช่วงเวลาที่เหลือของปี(ซึ่งมีกระแสข่าวว่าอาจ นำเข้าที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า) อีกทั้งมีกระแสการฟื้นกองทุนรวมวายุภักษ์ แบบกา รันตีผลตอบแทนขั้นต่ำเพื่อพยุงตลาดหุ้นไทยเพิ่มเติม ซึ่งทั้ง 2 โครงการหากเกิดขึ้น จริง และมีผลบังคับใช้เร็ว ก็จะยิ่งเป็นแรงพยุงให้SET สามารถขยับขึ้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น
สรุป มาตรการภาครัฐฯ เตรียมเข้ามาในช่วงที่เหลือของปี ทั้งโครงการ DIGITAL WALLET และกองทุน THAIESG / วายุภักษ์ ลุ้นเป็นปัจจัยเร่งให้เม็ดเงินทยอยไหล เข้าหุ้ไทยระยะถัดไป และพยุง SET ยืนเหนือ 1350 จุดได้ไม่ยาก ส่วนวันนี้คาดกรอบ การเคลื่อนไหวของ SET 1323-1333 จุด
กกพ.เตรียมนำเสนอแนวทางค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค.2567 วันนี้ แนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น 20-40 สตางค์...หนุนกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP บอร์ด กกพ. เตรียมนำเสนอทางเลือกค่าไฟฟ้าผันแปร (FT) สำหรับงวดเดือน ก.ย.- ธ.ค. 2567 ในวันนี้ (12 ก.ค. 2567ช่วงเวลาประมาณ 10:00 น.) ซึ่งแนวโน้มค่า FT ดังกล่าวคาดจะปรับขึ้นราว 20-40 สตางค์/หน่วย มาอยู่ราว 59.72-79.72 สตางค์ ต่อหน่วย จากงวดปัจจุบันที่ 39.72 สตางค์/หน่วย ซึ่งเมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาท/หน่วย จะส่งผลให้แนวโน้มค่าไฟงวดใหม่คาดจะปรับขึ้นมาอยู่ในกรอบ 4.38 -4.58 บาท/หน่วย จากเดิม 4.18 บาท/หน่วย โดยปัจจัยการปรับขึ้นค่าไฟมาจาก
▪ การทยอยชำระหนี้คืนให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT)
▪ หนี้ค่าเชื้อเพลิงที่ต้องทยอยจ่ายคืนให้แก่ PTT (BK:PTT) ที่รับภาระให้แก่ประชาชนใน งวดก่อนหน้า
▪ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเหมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และแนวโน้ม ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว หนุนให้ราคาก๊าซฯปรับตัวสูงขึ้น
ึ่งหลังจากที่มีการนำเสนอ 3 แนวทางเรียบร้อยแล้ว ทางกกพ.จะมีการเปิดรับฟัง ความคิดเห็นแก่ประชาช และทุกฝ่าย ก่อนจะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป ประเด็นดังกล่าวถือเป็น SENTIMENT เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าทั้งกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP ที่มีสัดส่วนการขายไฟฟ้าให้แก่กลุ่มลูกค้า อุตสาหกรรมค่อนข้างสูง อาทิ GPSC (สัดส่วนราว 30-35% ของรายได้รวม), BGRIM (สัดส่วนราว 25-27% ของรายได้รวม), และ GULF (สัดส่วนราว 10% ของ รายได้รวม) ที่จะส่งผลให้มีรายได้จากการขายไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ในเชิงของ อัตรากำไร ส่วนหนึ่งถือเป็นกลไกค่าไฟฟ้าที่มีการปรับเพิ่มตามต้นทุน แต่อาจได้รับ ประโยชน์จากส่วนเพิ่มค่าไฟฟ้าสำหรับการทยอยชำระคืนหนี้ให้แก่ภาครัฐ (EGAT) ซึ่ง ยังถือเป็นประเด็นที่ยังต้องติดตามว่าจะมีการทยอยชำระคืนหนี้ดังกล่าวในสัดส่วน เท่าใด ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยเลือก GPSC (FV@55B) และ BGRIM (FV@34B) สำหรับการหาจังหวะ เข้าลงทุนในประเด็นข่าวดังกล่าว และ GULF (FV@56B) สำหรับการทยอยสะสม ลงทุนในระยะยาว
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities