ฝ่ายวิจัย ASPS ได้ประมวลภาพเม็ดเงินไหลออกจากจากตลาดการเงิน ไทย ในหลายช่องทางพบว่าเป็นสถานะที่น่ากังวล เริ่มจากในส่วนของ ตลาดหุ้นไทยพบว่านักลงทุนต่างชาติขายสุทธิช่วงปี 2013-ปัจจุบันรวม กว่า 1 ล้านล้านบาท (เป็นยอดช่วง 1H67 ที่ 1.17 แสนล้านบาท), ยอดเงิน ฝากสกุลต่างประเทศ (FCD) คงค้างราว 8 แสนล้านบาท, การลงทุนใน กองทุน FIF คงค้าง 1.1 ล้านล้านบาท และการขายสุทธิในตลาดตราสาร หนี้ 2013 - ปัจจุบัน 1.38 แสนล้านบาท (เป็นยอด 1H67 ที่ 6.67 หมื่น ล้านบาท) ตัวเลขเม็ดเงินไหลออกดังกล่าวสะท้อนภาพความไม่เชื่อมั่น ของนักลงทุน ซึ่งจำเป็นต้องเห็นมาตรการในการเรียกความเชื่อมั่นนัก ลงทุนให้กลับมา แต่อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ภาวะดังกล่าว อาจทำให้การฟื้นตัวของ SET INDEX เกิดได้ช้าลง
วันนี้รอดูผลของการใช้UPTRICK RULE ในการกำกับ SHORT SELL ส่วนปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานยังไม่เห็นแรงบวก วันนี้ประเมินกรอบการ เคลื่อนไหว 1295 –1309 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BEM, CK และ CPN
ัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานไม่มีอะไร SURPRISE สหรัฐฯ : เงินเฟ้อสหรัฐฯ ส่งสัญญาญชะลอตัวต่อเนื่อง ล่าสุดดัชนีPCE เดือน พ.ค. 67 +2.6%YOY ตามคาด ซึ่งปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ +2.7%YOY ถือเป็น มุมมองเชิงบวกในการพิจารณาผ่อนคลายนโยบายของ FED ขณะที่ FED WATCH TOOL คาด FED ลดดอกเบี้ยปีนี้ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเป็นเดือน ก.ย. 67 (ตลาดฯ ให้ น้ำหนักเกินครึ่งราว 56.3%) และครั้งที่ 2 เดือน ธ.ค. 6767 (ตลาดฯ ให้น้ำหนักราว 41.4%)
จีน : ภาพรวมเศรษฐกิจจีนในเดือน มิ.ย. 67 ยังคงดูฟื้นตัวไม่เต็มที่ หลัง PMI ภาค บริการจีนแม้จะอยู่ในโซนขยายตัว แต่ล่าสุดย่อตัวลงมา 50.5 จุด ต่ำกว่าคาดและ ต่ำสุดในรอบ 6 เดือน รวมถึงชะลอตัวลงมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามดัชนี PMI ภาคการผลิตยังดูทรงตัว 49.5 จุด ตามคาด และปรับตัวดีขั้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไทย : ภาพรวมเศรษฐกิจเดือน พ.ค. 67 ธปท. เผยว่าอยู่ในทิศทางขยายตัว แต่ชะลอ ลงบ้างหลังจากเร่งไปในเดือนก่อน หลังการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรม ลดลง อย่างไรก็ตาม ดุลบัญชีเดินสะพัดไทย ยังพลิกกลับมาเกินดุลได้ 647 ล้าน เหรียญฯ จากแรงหนุนของดุลการค้าด้วยมูลค่าการส่งออกสูงกว่าการนำเข้า ส่วนภาคการท่องเที่ยวหากตัดเรื่องฤดูกาลออกยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สำหรับการใช้จ่าย ภาครัฐเริ่มกลับเร่งตัวสูง ทั้งรายจ่ายประจำและลงทุน ถือเป็นแรงส่งที่ดีต่อ องค์ประกอบของ GDP โดยเฉพาะ C, G และ EX
เม็ดเงินไหลออกจากประเทศไทยทุกช่องทาง ซึ่งเป็นเหตุผลหลัก ให้บาทอ่อน SET ปรับลดลง
อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่ทยอยสูงขึ้นในช่วง 1-2 ปีนี้สู่ระดับ 5.50% ซึ่งแตกต่างจาก ดอกเบี้ยไทยที่อยู่ระดับ 2.50% ส่งผลให้เม็ดเงินของคนไทยไหลออกไปฝากเงิน ตปท. อย่างมีนัยสำคัญ โดยยอดคงค้าง FCD ของคนไทย เร่งตัวขึ้นอย่างมาก หลังดอกเบี้ย US-ไทย มีส่วนต่างที่กว้างขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2022 ซึ่งยอดคงค้าง FCD ของคนไทย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2022 เติบโต 17.9%YOY ปี 2023 เติบโต 38.0%YOY และปีล่าสุด ณ พ.ค.24 เติบโต 8.1%YOY ล่าสุดอยู่ที่ 2.18 หมื่นล้านเหรียญฯ หรือ ราว 8 แสนล้านบาท
ส่วนเม็ดเงินของต่างชาติก็ไหลออกจากประเทศไทยเช่นกันในช่วงที่ผ่านมา โดย ต่างชาติขายหุ้นและตราสารหนี้ไทยรวมกว่า 1.22 ล้านล้านบาท (รวม 11.5 ปี) แบ่งเป็นขายหุ้น 1.08 ล้านล้านบาท และ ตราสารหนี้ไทย 1.38 แสนล้านบาท ซึ่งถ้าหาก พิจารณาในช่วง 1.5 ปี เม็ดเงินของต่างชาติไหลออกตลาดการเงิน 5.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นขายหุ้น 3.1 แสนล้านบาท และตราสารหนี้ไทย 2.1 แสนล้านบาท เป็นต้น
ประเด็นดังกล่าว ส่งผลให้เม็ดเงินขับเคลื่อน SET INDEX หายไปในระดับหนึ่ง และ กดดันจนล่าสุดลงมาอยู่ที่ระดับ 1300 จุด ซึ่ง VALUATION ในระดับดังกล่าวอยู่ใน ระดับที่น่าสนใจมาก โดยมี P/E67F ที่ต่ำเพียง 14.2 เท่า (ต่ำกว่า -1SD), PBV 1.22 เท่า (ต่ำกว่า -2SD) และ DIVIDEND YIELD สูงถึง 3.5% (สูงกว่า+1SD) บวกกับความ คืบหน้าการเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ, รอรับเม็ดเงินจากกองทุน THAIESG ใหม่เข้ามาหนุน คาดจะช่วยหนุนให้ดัชนีค่อยๆ ทยอยฟื้น รวมถึงต่างชาติ อาจจะค่อยๆ ขายสุทธิเบาลงได้
กฏ UPTICK เริ่มแล้ว หุ้นที่เคยถูก SHORT เยอะอาจฟื้นบ้าง ในสัปดาห์นี้ ตลท. ออกมาตรการยกระดับความเชื่อมั่นตลาดทุน 4 ข้อ ดังนี้
1. กำหนดเกณฑ์หุ้นที่จะ SHORT SELLING ได้มากกว่า 7.5 พันล้านบาท และ TURNOVER > 2%
2. มี UPTICK RULE ในทุกบริษัท
3. ลงทะเบียน HIGH-FREQUENCY TRADING
4. เปิดเผยผู้ส่งคำสั่งไม่เหมาะสม
ประเด็นดังกล่าวคาดทำให้ความผันผวนของตลาดหุ้นไทยลดน้อยลง และปริมาณ การ SHORT SELL มีโอกาสลดลงตามลำดับ
สังเกตได้ว่าช่วง 1 เดือนกว่าๆ ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวนมาก จากความ ไม่แน่นอนทางการเมือง และยังมีความผันผวนเพิ่มเติมจากปริมาณการ SHORT SELL พุ่งขึ้นมาอยู่ในระดับ 13% –17% ของปริมาณซื้อขาย ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยในปี นี้ (YTD) ที่ 11.4% อย่างไรก็ตามพอมีข่าวเรื่อง UPTICK RULE ปริมาณการชอร์ต สุทธิก็ค่อยๆ ลดลงมาจนวันที่ 28 มิ.ย. เหลือสัดส่วนการ SHORT SELL 10.18%
ประเมินว่าหลังวันที่ 1 ก.ค. 67 UPTICK RULE มีผลบังคับใช้ ช่วยลดปริมาณการ SHORT SELL และความผันผวนของตลาดได้ดีในระดับหนึ่ง และน่าจะเป็นไปในทิศทาง เดียวกับช่วงโควิดปี 2563 หลังมีการใช้กฏ UPTICK มูลค่า SHORT SELL ลดลงจาก 3,992 ล้านบาทต่อวัน (สัดส่วน 5.97% ของมูลค่าซื้อขายต่อวัน) เหลือเพียง 850 ล้าน บาทต่อวัน (สัดส่วน 1.23% ของมูลค่าซื้อขายต่อวัน) หรือลดลงไปกว่า 79% ขณะที่ มูลค่าซื้อขายรายวันไม่ได้ลดลงตาม
ดังนั้น ฝ่ายวิจัยฯ ทำการค้นหา หุ้นที่ถูก SHORT SELL เยอะ ในช่วงที่ตลาดเริ่มผัน ผวนจากประเด็นการเมืองจนถึง ปัจจุบัน (21 พ.ค. – 28 มิ.ย. 67) ได้รายชื่อหุ้นที่มี สัดส่วน SHORT SELL เยอะสุด 20 อันดับแรก เชื่อว่าระยะถัดไปปริมาณการ SHORT มีโอกาสลดลง ส่งผลให้หุ้นผันผวนน้อยลง และมีโอกาสฟื้นตัวในช่วงสั้นๆ ได้ คือ IVL 30.6%, AWC 30.0%, IRPC 29.7%, SCGP 29.5%, KKP 28.1% ฯลฯ
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities