สัญญาณการไหลออกของเม็ดเงินลงทุนจากตลาดหุ้นไทย ยังคมชัดทั้ง 3 ส่วน เริ่มจาก FUND FLOW ต่างชาติยังคงไหลออกต่อเนื่อง แม้ปัจจุบัน สัดส่วนการถือหุ้นต่างชาติที่ปิดโอนฯต่ำเพียง 22.6% และการถือผ่าน NVDR เหลือ 5.24% ส่วนที่ 2 เป็นแรงขายที่เกิดจาก SHORT SELL ซึ่ง YTD สัดส่วนการ SHORT SELL ต่อมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ 13.8% โดยบางวันสูงกว่า 16% และส่วนที่ 3 เป็นการไหลออกจากกรณี MARGIN FORCE SELL ซึ่งเพิ่มขึ้นมาในช่วงท้าย หลังจากที่ราคหุ้นใน ตลาดได้ปรับตัวลดลงมาแล้วระดับหนึ่ง ทั้งนี้สัดส่วนของ MARGIN คงค้าง เทียบกับ MARKET CAP อยู่ที่ประมาณ 1.54% ทั้งนี้แรงขายทั้ง 3 ส่วนยัง ดำเนินไปต่อเนื่อง ส่วนแรงซื้อที่เข้ามาดูเหมือนยังไม่ชัดเจนโดยเรายังรอสรุป เรื่องเงื่อนไขกองทุนประหยัดภาษี ที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น ส่วนกลไกที่ ชะลอ SHORT SELL อย่าง UPTRICK RULE ก็จะมีผลบังคับ 1 ก.ค.67
ยังไม่มีปัจจัยเชิงบวกที่จะเข้ามาดึงให้SET INDEX พ้นจากช่วงการปรับฐาน โดยเรายังเห็นเม็ดเงินไหลออกจากตลาดหุ้นต่อเนื่อง วันนี้คาดกรอบ 1288 –1305 จุด TOP PICK เลือก CK, KBANK (BK:KBANK) และ MAJOR
กระแสดอกเบี้ยไทย-โลก สวนทางกัน หนุนค่าเงินบาทมี เสถียรภาพมากขึ้น
กระแสดอกเบี้ยโลก เริ่มเข้าสู่ทิศทางขาลงชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มจากวานนี้แคนาดา ปรับลดดอกเบี้ยลงจาก 5% มาอยู่ที่ 4.75% (ปรับลดครั้งแรกในรอบ 4 ปี) ต่อมาคือ สวิตเซอร์แลนด์ก็ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจาก 1.50% มาอยู่ที่ 1.25% และ อังกฤษ แม้ว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 5.25% แต่ระยะถัดไปมีโอกาสสูงที่จะปรับลดดอกเบี้ย เนื่องจาก CPI เดือนล่าสุดชะลอลงเหลือ 2% ตามเป้าหมายแล้ว ส่วน ECB และ FED ตลาดก็คาดหวังว่าจะทยอยลดดอกเบี้ยในเดือน ก.ย.67 ทั้งคู่ เนื่องจากตัวเลข เศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามลำดับ ประเด็นดังกล่าวจึงทำให้ ค่าเงินของประเทศตัวเองอ่อนค่า ลงบ้างเล็กน้อย
ขณะที่หากพิจารณาในมุมของค่าเงินบาท มีโอกาสสูงที่ค่าเงินบาทจะทยอยแข็งค่า ตามกลไก และในภาวะปกติแล้ว ค่าเงินบาทมักจะแข็งค่าในช่วงที่ FED ทยอยลด ดอกเบี้ย สังเกตได้จากช่วงปลายปี 2018 ถึง ปลายปี 2020 FED ลดดอกเบี้ย จาก 2.5% เหลือ 0.25% ค่าเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นจาก 32.5 บาท/เหรียญ เหลือ 30.0 บาท/ เหรียญ เป็นต้น
ในส่วนของไทยมีโอกาสเห็นการคงดอกเบี้ยจนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจากการประชุมครั้ง ล่าสุด มีมติคงดอกเบี้ย 6 เสียง ต่อ 1 เสียง (ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการประชุมครั้งก่อนที่มีมติ คงดอกเบี้ย 5 เสียง ต่อ 2 เสียง) และ กนง.มองว่าระดับดอกเบี้ยที่ 2.50% อยู่ในระดับที่ สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจเข้าสู่ศักยภาพและเงินเฟ้อที่ปรับดีขึ้น รวมทั้ง เอื้อต่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงินในระยะยาว ดังนั้น การคงดอกเบี้ยของ ไทย ทำให้ TARGET SET ไม่สามารถขยับขึ้นได้ตามกลไก โดยทุกๆ ดอกเบี้ยที่ลดลง 25 BPS. จะหนุนให้มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้น ราว 4-5 พันล้านบาท/วัน รวมถึง P/E เพิ่มขึ้น 0.78 เท่า หรือเป็นแรงผลักให้TARGET SETINDEX ปรับตัวสูงขึ้นอีก 71 จุด
สรุป กระแสดอกเบี้ยโลก เริ่มเข้าสู่ทิศทางขาลงชัดเจนขึ้นตามลำดับ สวนทางกับไทยที่ มีโอกาสคงดอกเบี้ยในปีนี้ ตามทิศทางของ กนง.ที่ให้ไว้ หนุนค่าเงินบาทมีเสถียรภาพ มากขึ้นตามกลไก แต่หากพิจารณาในมุม TARGET SET จะไม่สามารถขยับขึ้นได้ตาม การยกระดับ P/E ขึ้นเช่นกัน
ยังไร้แรงหนุนใหม่ๆ จากปัจจัยในประเทศ วันนี้มีประเด็นที่น่าติดตามสำคัญ 2 เรื่อง ดังนี้
1. ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน พ.ค. 67 ในเวลา 13.30 น. กระทรวงพาณิชย์จะมีการรายงานตัวเลขส่งออกไทย โดย CONSENSUS คาดว่าจะเห็นขยายตัว +1.5%YOY ซึ่งน้อยกว่าเดือนก่อนที่ +6.8%YOY สอดคล้องกับสัญญาณการนำเข้าของจีนที่เติบโตได้น้อยลง
2. การพิจาณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2568 วาระที่ 1 ซึ่งคาดว่าจะจบในวันนี้ ขณะที่การประกาศงบปี 68ไม่น่าจะถูกเลื่อนออกไป แม้ จะมีความไม่แน่นอนทางการเมืองไทยอยู่บ้างในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 67แต่ยัง เชื่อว่าการสะสางคดีต่างๆ ทั้งกรณี “ฟ้องร้องยุบพรรคก้าวไกล” รวมถึง “ยื่น ถอดถอนตำแหน่งนายกฯ เศรษฐา” จะดำเนินได้ทันตามกรอบเวลาที่กำหนด ไว้ และไม่กระทบอย่างมีนัยฯ กับการประชุมพิจารณาในวาระ 2-3 ช่วงต้น เดือน ก.ย. นี้ ฝ่ายวิจัยฯ มองเป็น SENTIMENT เชิงบวกต่อหุ้นกลุ่มรับเหมา และวัสดุก่อสร้าง อาทิ SCC, SCCC, TASCO, STEC, CK เป็นต้น
ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงมาเยอะ เริ่มเห็นบริษัททยอยประกาศซื้อ หุ้นคืน แนะ MAJOR TU BEM
ตั้งแต่ต้นปี 2023 –20 มิ.ย. 67 หรือเกือบ 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยถูกต่างชาติ ขายสุทธิมาอย่างต่อเนื่องเกือบ 3 แสนล้านบาท กดดัน MARKET CAP ตลาดหุ้นไทย ลดลงจาก 20.57 ล้านล้านบาท เหลือ 16.06 ล้านล้านบาท ลดลงไปกว่า 4.5 ล้าน ล้านบาท ในช่วงเวลาสั้นๆ และ SET INDEX ยังปรับตัวลดลงไปแล้วกว่า -22.1% ในช่วงเวลาดังกล่าว
ขณะที่ช่วงนี้ตลาดยังเผชิญความผันผวนจากประเด็น MARGIN CALL รวมถึงวันนี้ SET INDEX ยังมีโอกาสผันผวนช่วงท้ายตลาดฯ จากกองทุนต่างประเทศมีการ REBALANCE ตามดัชนี FTSE อย่างไรก็ตามในยามที่ตลาดหุ้นตกลงมาหนักๆ ก็มีบางบริษัททยอยประกาศซื้อหุ้น คืน โดยในปีนี้มีบริษัทที่ประกาศซื้อหุ้นคืนมาแล้ว 16 บริษัท ดังน
ฝ่ายวิจัยฯ เลยทำการคัดกรองเบื้องต้น ว่ามีบริษัทจดทะเบียนไหนที่มีโอกาสประกาศ ซื้อหุ้นคืนในช่วงนี้ โดยเลือกจากหุ้นที่เคยประกาศซื้อหุ้นคืนมาแล้ว แต่ราคาหุ้นปัจจุบัน ยังต่ำกว่าตอนนั้น พร้อมกับเงื่อนไขอื่นๆ ประกอบดังนี้
▪ เป็นหุ้นที่เคยถูกซื้อหุ้นคืนในอดีต และราคาปัจจุบันต่ำกว่าตอนนั้น
▪ เป็นหุ้น VALUATION ถูก PE
▪ มีภาระหนี้สิ้นในระดับต่ำ D/E
▪ มีสถานะการเงินอยู่ในระดับดี CFO >0
▪ มีสภาพคล่องพอในซื้อหุ้นคืนได้ FREE FLOAT > 20% (ตามเกณฑ์หุ้นเข้า SET50 และ SET100)
จากรายชื่อหุ้นทั้ง 2 ส่วน ฝ่ายวิจัยฯแนะนำเก็งกำไรหุ้นที่ถูกประกาศซื้อหุ้นคืนในปีนี้ รวมถึงหุ้นที่มีโอกาสถูกซื้อหุ้นคืน อย่าง MAJOR, BEM, TU, M, III, BR
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities