แม้จะมีความคืบหน้าในกระบวนการพิจารณา 4 คดีทางการเมือง แต่กรณีที่ มีผลต่อเสถียรภาพรัฐบาลอย่าง กรณี นายกฯ เศรษฐา และ พรรคก้าวไกล ยังต้องรอลุ้นผลสรุปอีกระยะหนึ่ง ทำให้ยังมีน้ำหนักในการสร้างแรงกดดดัน ต่อ SET INDEX และมีส่วนทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังไม่กลับมา อย่างไรก็ตามยังคงมีความคาดหวังเชิงบวกในส่วนของมาตาการต่างๆ ที่ เตรียมเข้ามากระตุ้นตลาดหุ้น เริ่มจากแนวทางการลดแรงกดดันจาก SHORT SELL โดยการนำ UPTRICK RULE เข้ามาใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค.67 ซึ่ง หวังว่าจะเป็นกลไกที่ช่วงลดแรงกดดันด้านราคา และหวังว่าจะดึงเม็ดเงินใหม่ กลับเข้ามาซื้อชดเชยจากปริมาณ SHORT SELL ที่ลดลง ในอีกทางหนึ่ง กระทรวงการคลังให้ความมั่นใจกับการกลับมาของกองทุนลดหย่อนภาษี แนวคิดคล้ายๆ LTF ปัจจุบันรอผลสรุป
ยังไม่เห็นประเด็นที่จะดึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนกลับมา ซึ่งก็น่าจะทำให้ SET INDEX ยังผันผวนอยู่ในบริเวณต่ำกว่า 1300 จุด ประเมินกรอบ 1290 –1310 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CPN, KBANK (BK:KBANK) และ PTTEP
ความไม่ชัดเจนทางการเมืองยังหลงเหลือ มีส่วนกดดันตลาด สำหรับความคืบหน้าทางการเมืองไทยวานนี้ มีพัฒนาการเชิงบวกหวังลดระดับความ กังวลเรื่องการเบิกจ่ายงบปี 68 ล่าช้า รวมถึงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจยังเดินหน้า ตามแผน ใน 2 ประเด็น ดังนี้
1. กระบวนการเลือก สว.67 ศาล รธน. มีมติมติเอกฉันท์ไม่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญ ม.107 พร้อมเดินหน้าเลือก สว. ระดับประเทศ วันที่ 26 มิ.ย. นี้
2. อสส. สั่งฟ้องอดีตนายกฯ ทักษิณ ทำผิด ม.112 ศาลอาญาประทับรับ ฟ้อง แต่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว โดยยื่นหลักทรัพย์ 5 แสนบาท
ส่วนอีก 2 ประเด็น ยังไม่มีกรอบเวลาข้อสรุปที่ชัดเจน ทำให้ความกังวลเสถียภาพ รัฐบาลยังไม่ค่อยคืบหน้าซึ่งอาจมีน้ำหนักกดดันตลาดการเงินต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง
1. คดี 40 ส.ว.ยื่นถอดถอน นายกฯ เศรษฐา ศาล รธน. นัดพิจารณา ตรวจสอบคุณสมบัตินายกฯ จะมีขึ้นอีกรอบในวันที่ 10 ก.ค. 67
2. คดียุบพรรคก้าวไกล ศาล รธน. นัดพิจารณาคดียุพรรคก้าวไกลต่อ เป็นวันที่ 3 ก.ค. 67 และนัดให้คู่กรณีมาตรวจพยานหลักฐานวันที่ 9 ก.ค. 67
ขณะที่ในมุมของการดำเนินนโยบายการเงิน ผู้ว่า ธปท. เผยกับ BLOOMBERG ว่า "ไม่เห็นด้วย" กับข้อเสนอของรัฐบาลที่จะปรับขึ้นกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อจากช่วง 1- 3% เนื่องจากมีความกังวลว่าการกระตุ้นเงินเฟ้อ ซึ่งจะดันให้ต้นทุนกู้ยืมพุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ แนวทางดำเนินนโยบายการเงิน-การคลังที่ไม่ประสานกัน มีส่วนสร้างแรงกดดันต่อ การไหลออกของ FUND FLOW ต่างชาติ
สรุป ความไม่ชัดเจนยังหลงเหลือในประเด็นการเมืองไทย ทำให้ความกังวลเสถียภาพ รัฐบาลยังไม่ค่อยคืบหน้า ขณะที่แนวทางดำเนินนโยบายการเงิน-การคลังที่ยัดูไม่สอด ประสานกัน มีส่วนที่สร้างแรงกดดันต่อการไหลออกของ FUND FLOW ต่างชาติ ในช่วงนี้
กองทุนประหยัดภาษีจะกลับมาหรือไม่ และในอดีตกองทุน ลักษณะไหนช่วยพยุงและเพิ่มสภาพคล่องให้SET ได้ด
วานนี้รมว.คลัง กล่าวว่า รัฐบาลอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการกระตุ้นตลาดทุนไทย โดยยืนยันว่าหลังจากนี้จะมีออกมาอีกหลายมาตรการ เช่น มาตรการกองทุนรวมหุ้น ระยะยาว (LTF) หรือ กองทุนรวมส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศ (THAI ESG) ซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดของการปรับปรุง แต่ยืนยันว่า จะเร่งพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วที่สุด ขณะที่เฟทโก้-สมาคม บลจ. เตรียมขอ นัดพบ รมว.คลัง ยื่นเสนอกองทุนภาษีประหยัดภาษีแบบเดิม คือ LTF หวังหนุนหุ้นไทย กลับมาคึกคักอีกครั้ง
ึ่งวันนี้ฝ่ายวิจัยฯ จะมาเปรียบเทียบเงื่อนไขและข้อจำกัดของแต่ละกองทุนประหยัดภาษี ทั้ง LTF SSF และ THAIESG ว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างไร โดยเรียงลำดับจากกองทุนที่ มีเงื่อนไขที่ช่วยหนุนลภาพคล่องให้ SET INDEX จากมากไปน้อย ดังนี้
ินทรัพย์ที่ลงทุน : LTF - หุ้นไทยโดยต้องมีสัดส่วนลงทุนไม่น้อยกว่า 65%, THAIESG – หุ้นและตราสารหนี้ไทยที่ได้“SET ESG RATING”, SSF – สินทรัพย์ทุก ประเภททั้งไทยและต่างประเทศ
วงเงินสูงสุดที่ลดหย่อนได้ : LTF –500,000 บาท, SSF -200,000 บาท และเมื่อรวม กับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่นๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท, THAIESG – 100,000 บาท
ระยะเวลาการลงทุน : LTF -7 ปีปฎิทิน, THAIESG –ไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์, SSF - ไม่น้อยกว่า 10 ปีบริบูรณ์
ซึ่งจะเห็นได้ว่ากองทุน LTF มีข้อดีและสามารถพยุงหุ้นไทยได้มากกว่ากองทุน THAIESG และ SSF อย่างเห็นได้ชัด จึงนำมาสู่มูลค่าเม็ดเงินซื้อสุทธิของนักลงทุนที่ มากกว่าเช่นกัน โดยกองทุน LTF มีมูลค่าเม็ดเงินเข้าเฉลี่ยรายเดือนอยู่ที่ 5-6 พันล้าน บาท ขณะที่กองทุน THAIESG และ SSF มีมูลค่าเม็ดเงินเข้าเฉลี่ยรายเดือนอยู่ที่ 1.1- 1.2 พันล้านบาทเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าให้ฝ่ายวิจัยฯเลือกเพียง 1 กองทุนที่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังที่ รมว.คลังบอกไว้ ขอเลือกกอง LTF เนื่องจากสามารถลงทุนในหุ้นไทยเต็มๆ หรือถ้าจะเป็นกองทุนใหม่ แนะนำเน้นให้น้ำหนักลงทุนในหุ้นไทยเป็นหลัก, เพิ่มเพดานวงเงินที่ลดหย่อนภาษี ได้มากขึ้น และระยะเวลาถือครองน้อยลง คาดทำให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคักดัง ช่วงเวลาในอดีตที่มีกองทุน LTF อยู่
FUND FLOW ไหลออกตลาดหุ้นไทยมากสุดในภูมิภาค หวังแรง ขายจะค่อยๆ ลดลงมาบ้าง
การก้าวสู่วัฏจักรดอกเบี้ยขาลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวของ FUND FLOW ต่างชาติ ในช่วง 1H67 เอนเอียงไปที่หุ้นกลุ่ม TECH มากขึ้น สะท้อนได้จากตลาดหุ้น NASDAQ ปรับตัวขึ้นได้โดดเด่น +19%YTD
เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวของ FUND FLOW ในตลาดหุ้นในภูมิภาค ที่เอนเอียงไปที่ ตลาดหุ้นในแถบเอเชียเหนือเป็นหลัก (ส่วนใหญ่มีหุ้นกลุ่ม TECH ประกอบ) โดย ต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นญี่ปุ่นมากสุด +3.79 หมื่นล้านเหรียญ รองลงมาคือ เกาหลี ใต้ +1.59 หมื่ล้านเหรียญ และไต้หวัน + 4.1 พันล้านเหรียญ ในทางตรงกันข้ามขายสุทธิตลาดหุ้นในแถบเอเซียใต้ อย่าง ตลาดหุ้นไทยถูกขายสุทธิ มากสุด -2.78 พันล้านเหรียญ ตามมาด้วยเวียดนาม -1.4 พันล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์-481 ล้านเหรียญ และอินโดนีเซีย -423 ล้านเหรียญ FUND FLOW ที่ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยในปีนี้สูงสุดในภูมิภาค และเกิน 1 แสนล้าน บาท กดดันให้เตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงสุดในภูมิภาค -8.4%YTD
การไหลออกของ FUND FLOW ในตลาดหุ้นไทยเกิดขึ้นหนักๆ ในช่วงปลายเดือน พ.ค. - ปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงที่มีความไม่แน่นอนจากทางการเมืองสูง กดดันให้ต่างชาติ ขายหุ้นไทย 19 วันทำการติด กว่า -3.66 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตามในระยะสั้นน่าจะเห็น FUND FLOW ชะลอการไหลออกบ้าง เนื่องจาก สถานะการณ์การเมืองมีอยู่ แต่เหตุให้เปลี่ยนแปลงเร็วๆ อย่างมีนัยฯ ยังไม่เกิดขึ้นอีก ซักระยะ อีกทั้งนักลงทุนยังเฝ้ารอกฏ UPTICK และ LTF ใกล้เข้ามามากขึ้น รวมถึงเริ่ม เห็นต่างชาติกลับมาซื้อ SET50 FUTURES กว่า 22,257 สัญญา ในวานนี้ เพราะหากพิจารณาจากสถิติในปีนี้ พบว่า ต่างชาติซื้อ SET50 FUTURES เกิน 2 หมื่นสัญญาต่อวัน ทั้งสิ้น 16 วัน และ SET INDEX ปรับขึ้นได้ถึง 15 วัน น่าจะเป็น สัญญาณที่ดีขึ้น และต่างชาติอาจจะขายสำหรับหุ้นไทยน้อยลงในระยะถัดไปได้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities