🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

รอดูดอกเบี้ย (ยุโรป) ลง 

เผยแพร่ 06/06/2567 09:20
SETI
-

วันนี้จะมีการประชุม ECB ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ย นโยบายลง 0.25% มาสู่ระดับ 4.25% เราประเมินว่าการขยับลงดอกเบี้ย ของ ECB น่าจะมีโอกาสทำให้เห็นการปรับลดดอกเบี้ยของ FED เกิดได้เร็ว ขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำมาผสมรวมกับตัวเลขตลาดแรงงานที่ส่ง สัญญาณอ่อนแอลงก็เป็นไปได้ที่จะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยในการประชุม รอบเดือน ก.ย.67 สำหรับในบ้านเรา ประเมินจากท่าทีของ ธปท. ยังไม่เห็น สัญญาณของการปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาส โดยจุด เปลี่ยนอาจมาจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือแม้กระทั่งภาวะการชะลอตัวของ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกำลังเป็นกระแส สำหรับ SET INDEX หากดอกเบี้ย อยู่ในทิศทางลงก็มีโอกาสที่จะเห็นเม็ดเงินไหลกลับเข้ามา กลยุทธ์ที่ใช้จึงเป็น การทยอยสะสมหุ้นถือลงทุนระยะยาว

มูลค่าการซื้อขายที่เบาบางมีส่วนทำให้ SET INDEX ผันผวนได้ง่ายขึ้น แต่ก็ ยังมีความหวังว่าจะรักษาฐานแนวรับ 1330 จุดไว้ได้ ส่วนแนวต้านวันนี้ กำหนดที่ 1347 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BEM, CPALLและTIDLOR

ถึงเวลาวัฏจักรดอกเบี้ยขาลง !!!

อัตราเงินเฟ้อของหลายๆ ประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ชะลอตัวลง ด้วยอัตราเร่งที่ค่อนข้างชันในช่วง 8-9 เดือน และค่อยๆ ทยอยปรับตัวลดลงเข้าใกล้ กรอบเป้าหมาย ถือเป็นปัจจัยสำคัญหนุนให้ธนาคารกลางต่างๆ มีแนวโน้มดำเนิน นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น โดยล่าสุด วานนี้ธนาคารกลางแคนาดา (BOC) ประกาศปรับลดดอกเบี้ยครั้งแรกรอบ 4 ปีจากระดับ 5.0% เหลือ 4.75% หลังเงินเฟ้อ ชะลอตัว (เดือน เม.ย. +2.7%YOY)

ขณะที่การประชุมนโยบายการเงินยุโรปในวันนี้ (6 มิ.ย. 67) เวลา 19.15 น. CONSENSUS คาดว่าจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เหลือ 4.25% สอดคล้องกับการส่งสัญญาณจากสมาชิกคณะกรรมการ ECB หลายรายในช่วงที่ ผ่านมา หากข้อมูลค่าจ้างและเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ในปัจจุบัน ส่วน ธนาคารกลางอื่นๆ อาจจะยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในการประชุมรอบเดือน มิ.ย. 67

จุดเริ่มต้องการลดดอกเบี้ยของ ECB แซงหน้า FED จะทำให้อัตราดอกเบี้ยที่จริงของ สหรัฐฯ สูงกว่ายุโรป อาจมีผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

อย่างไรก็ตาม หาก FED เริ่มปรับลดดอกเบี้ยในช่วงเดือน ก.ย. หรือ พ.ย. 67 เชื่อว่า จะลดแรงกดดันจาก DOLLAR แข็งค่าขึ้นได้ ซึ่งน่าจะหนุนให้เงินบาทชะลอการอ่อนค่า และทำให้การตรึงดอกเบี้ยไทยไว้ที่ 2.5% อาจมีข้อจำกัดน้อยลง นอกจากนี้ทิศ ทางการปรับลดดอกเบี้ยไทยอาจมีโอกาสมากขึ้น หากมีมาตรการเปลี่ยนแปลง ตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท. คนใหม่ แทนคุณปรเมธีที่จะหมดวาระ ก.ย. 67

3 กลุ่มหุ้นไทยมักรีบาวน์รับกระแสดอกเบี้ยขาลง

ด้วยความคาดหวังของตลาดฯ ว่าดอกเบี้ยทั่วโลกเริ่มเข้าสู่ทิศทางขาลงอย่างแท้จริง (รายละเอียดเพิ่มอยู่ในหัวข้อข้างบน) ทั้ง ECB BOE และ FED ซึ่งสอดคล้องกับจึงทำให้ วานนี้ BOND YIELD สหรัฐฯปรับตัวลงแรงทุกช่วงอายุ อาทิ ช่วงอายุ 2 ปี –1% อยู่ ระดับ 4.72%,5 ปี-1.2% อยู่ระดับ 4.29%, 10 ปี-1.2% อยู่ระดับ 4.28%

ขณะที่หากพิจารณาในมุมของค่าเงินบาท จะเห็นได้ว่าในภาวะปกติแล้ว ค่าเงินบาท มักจะแข็งค่าในช่วงที่ FED ทยอยลดดอกเบี้ย สังเกตได้จากช่วงปลายปี 2018 ถึง ปลายปี 2020 FED ลดดอกเบี้ย จาก 2.5% เหลือ 0.25% ค่าเงินบาทก็แข็งค่าขึ้นจาก 32.5 บาท/เหรียญ เหลือ 30.0 บาท/เหรียญ เป็นต้น

ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ฝ่ายวิจัยฯ คาดการณ์ว่ามีอยู่ 3 กลุ่มที่มักรีบาวน์ ประจำ และราคาหุ้นยัง LAGGARD SET อยู่มาก ดังนี้

▪ หุ้น TECH ในไทย(ฟื้นตัวตาม NASDAQ) และเช้านี้ตลาดหุ้นไต้หวัน +2%

อาทิ DELTA KCE HANA

▪ หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็งค่า GULF BGRIM GPSC

▪ หุ้นรับวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง MTC SAWAD TIDLOR JMT

ดังนั้น ในยามที่ตลาดหุ้นทั่วโลกสดใสเช่นนี้ตามความคาดหวังว่าธนาคารกลางต่างๆ จะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น คาดหวัง SET INDEX ได้รับ SENTIMENT เชิงบวกเช่นกันในวันนี้ โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ระดับ 1330 - 1347 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ ฝ่ายวิจัยฯ คาดการณ์ว่ามีอยู่ 3 กลุ่มที่มักรี บาวน์ประจำ คือ 1.หุ้น TECH ในไทย 2.หุ้นได้ประโยชน์บาทแข็ง 3.หุ้นรับวัฎจักร ดอกเบี้ยขาลง

เห็นสัญญาณเล็กๆ ว่า SET มีโอกาสรีบาวน์

SET INDEX ถูกต่างชาติขายมา 10 วันติด มูลค่ากว่า 1.9 หมื่นล้านบาท กดดันหุ้น ย่อตัวลงมาแล้ว 41 จุด อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นสัญญาณว่ามีแรงขายออกมามาก เกินไป (OVERSOLD) จากสัญญาณทางเทคนิคดังนี้

▪ SET INDEX ย่อตัวลงมาจนสัญญาณทางเทคนิค RSI ลดเหลือ 33 หรือเข้า ใกล้เขต OVERSOLD (RSI

▪ ปัจจุบันหากเข้าไปดูสัญญาณ RSI รายตัว พบว่า มีจำนวนหุ้นทั้งหมดใน ตลาดเข้าเขต OVERSOLD (RSI

นอกจากปัจจัยทางเทคนิคแล้ว ฝ่ายวิจัยฯ ยังเห็นแรงกดดันที่จะทำให้ FUND FLOW ไหลออกลดลง ดังนี้

▪ ต่างชาติขายหุ้นไทยน้อยลง โดยวานนี้เหลือมูลค่าขายเพียง -121 ล้านบาท (ก่อนหน้าขายเกินวันละ 1 พันล้านบาท)

▪ แรงกดดันจากกาปรับพอร์ตตามดัชนี MSCI จบลง ในช่วงที่ผ่านมา MSCI มี การลดน้ำหนักหุ้นไทย โดยมีหุ้นใหญ่ที่หลุดจากดัชนี อย่าง BTS LH MTC เป็นต้น กดดัน FUND FLOW จากกองทุนต่างประเทศไหลออกต่อเนื่อง ถึง ปลายเดือน พ.ค. และยังมีควันหลงปรับพอร์ตตามต่อในช่วงต้นเดือน มิ.ย. เล็กน้อย เนื่องด้วยมูลค่าซื้อขายหุ้นไทยค่อนข้างเบาบาง แต่การปรับพอร์ต น่าจะเสร็จสิ้นแล้ว สะท้อนได้จากทั้ง 3 หุ้น รีบาวน์กลับขึ้นมาในวานนี้ BTS +8.7%, LH +2.4%, MTC +3.5%

▪ BOND YIELD ในหลายๆ ประเทศช่วงนี้ลดลงเร็ว ปกติจะเห็นเม็ดเงินทยอย หนุนสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มเติม โดยเฉพาะหุ้นเทคฯ, หุ้นโรงไฟฟ้า และหุ้นการเงิน เป็นต้น

ความคาดหวัง SET มีโอกาสรีบาวน์เล็กๆ หลังตอบรับแรงกดดันความไม่แน่นอนทาง การเมืองมานานระดับหนึ่ง แนะนำทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานขนาดใหญ่ ADVANC, GULF, TU, MTC, BBL และหุ้นกำไรดี SNNP, SJWD

ถึงเวลาเข้าสะสมหุ้นกลุ่มอสังหาฯ แล้วหรือยัง ???

ท่ามกลางปัจจัยลบทั้งภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวไม่ทั่วถึง, อัตราดอกเบี้ยไทยและหนี้ ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ความสามารถของผู้กู้ซื้อที่อยู่อาศัยลดลง ประกอบกับ การเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ นำไปสู่อัตราการถูกปฏิเสธ สินเชื่อสูงขึ้น ไม่เฉพาะในกลุ่มบ้านระดับกลาง-ล่าง ยังเริ่มลามไปถึงบ้านระดับกลางบน ส่งผลให้กำไรปกติของผู้ประกอบการ 15 รายในกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ฝ่ายวิจัย รวบรวมข้อมูลงวด 1Q67 ทำได้เพียง 5.65 พันล้านบาท ลดลงในอัตราเดียวกันเฉลี่ย 34% YOY และ QOQ

จากภาพรวมที่ยังต้องเฝ้าระวังเรื่องสภาพเศรษฐกิจไทย และสถานการณ์ตลาดที่ไม่ เอื้ออำนวย อาจเห็นผู้ประกอบการบางรายปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลง อาทิ ชะลอเปิดโครงการใหม่ ซึ่งไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงในการพัฒนา โครงการ แต่ยังจะช่วยลดปริมาณ SUPPLY และลดการแข่งขันในตลาดลงอีก ซึ่งจะ เป็นผลดีต่อผู้พัฒนาบางราย เฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายใหญ่อย่าง AP, SPALI, SIRI, SC และ ORI ที่ยังมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่จำนวนมาก นอกจากนี้การ โอนกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ใหม่ที่มีกำหนดสร้างเสร็จพร้อมส่งมอบมากขึ้นตั้งแต่ 2Q67 เป็นต้นไป คาดทำให้ทิศทางกำไรมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นได้ใน 2Q67 และมากขึ้นงวด 2H67 โดยให้น้ำหนักของช่วงครึ่งหลังจะดีกว่าครึ่งแรก เฉพาะอย่างยิ่งไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลของกลุ่มฯ นอกจากแรงหนุนเปิดโครงการใหม่ และส่งมอบคอนโดฯ ี่จะมีมากขึ้นแล้ว ยังคงคาดหวังการดำเนินงานนโยบายการเงินและการคลังที่จะ เดินหน้าไปในทิศทางเดียวกันมากขึ้น เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว โดยภาครัฐ น่าจะเห็นการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น ซึ่งในภาคอสังหาฯ ก่อนหน้านี้มี การออกมาตรการลดค่าธรรมเนียมโอนฯ-จดจำนองให้กับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่ เม.ย.-ธ.ค. 2567 และคงติดตามว่าจะมีมาตรการอสังหาฯ อื่น ออกมาเพิ่มเติมอีกหรือไม่ เนื่องจากทางสมาคมอสังหาฯ เตรียมยื่นหนังสือแบงค์ชาติ ในการขอผ่อนปรน/ยกเลิกมาตรการ LTV รวมถึงขยายการถือครองสิทธิของ ต่างชาติในคอนโดฯ จากเดิม 49% เป็น 69% และลดขนาดที่ดินในการพัฒนา โครงการ ฯลฯ ขณะที่ฝั่งนโยบายการเงินในไทย คาดหวังจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง ภายในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ คาดเป็นอีกแรงกระตุ้นต่อภาคอสังหาฯ โดยเฉพาะ กำลังซื้อในกลุ่มราคา 5-7 ล้านบาทลงมา น่าจะผ่อนคลายขึ้น

แม้ช่วงสั้นการลงทุนในกลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย ยังขาดปัจจัยเชิงบวกเข้ามากระตุ้นหลัง ผ่านพ้นงบ 1Q67 ที่อ่อนแอ ทำให้เพิ่ม DOWNSIDE ต่อประมาณการกำไรกลุ่มฯ (แม้ มีการปรับลงของกำไรบางบริษัทแล้วก็ตาม) แต่การปรับตัวลงของราคาหุ้นหลายตัว ช่วงที่ผ่านมา จนมีมูลค่าหุ้นที่ไม่แพง ด้วย PER ซื้อขายต่ำกว่า 6-8 เท่า และ DIV YIELD เฉลี่ยสูงเกิน 6% ต่อปี อาจสร้างโอกาสในการลงทุนสำหรับนักลงทุนระยะ กลาง-ยาวในการเริ่มเข้าสะสม

คงแนะนำลงทุนเท่าตลาดสำหรับกลุ่ม โดยเลือกหุ้นเด่น คือ AP (FV@16.00) และ SPALI (FV@25.40) จากการฟื้นตัวเด่นของผลประกอบการตั้งแต่ 2Q67 หนุนจาก เปิดโครงการแนวราบใหม่จำนวนมาก และส่งมอบกรรมสิทธิ์คอนโดฯ ใหม่ นอกจากนี้ การมีพอร์ตสินค้าหลากหลาย และส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มราคาต่ำกว่า 7 ล้านบาท โดย AP มีสัดส่วนเกือบ 50% และ SPALI สัดส่วนกว่า 70% ทำให้ได้รับประโยชน์ พอสมควรจากมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของภาครัฐ ขณะที่โครงสร้างการแข็งแกร่ง ด้วย NET GEARING ต่ำกว่า 1 เท่า, PER ซื้อขายเพียง 4-6 เท่า และปันผลสูงเกือบ 8% ต่อปี

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย