รายงานการประชุมเฟดที่มีการเผยแพร่ออกมาในเมื่อช่วง 01:00 ที่ผ่านมานะครับ
คณะกรรมการหลายคนกล่าวถึงความเต็มใจที่จะกระชับนโยบายเพิ่มเติมหากมีความเสี่ยงที่แนวโน้มจะเกิดขึ้นจริงและจะดำเนินการดังกล่าวอย่างเหมาะสม
ผู้เข้าร่วมการประชุมประเมินว่าจะใช้เวลานานกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้เพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะเคลื่อนไหวอย่างยั่งยืนที่ 2%
และคณะกรรมการจำนวนมากแสดงความเห็นเกี่ยวกับความไม่แน่นอนเกี่ยวกับระดับของการจำกัดนโยบาย
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยฟิวเจอร์สระยะสั้นของสหรัฐลดลงหลังรายงานการประชุม FOMC ตลาดยังคงเดิมพันว่าเฟดจะเริ่มต้นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. โดยระบุว่า กรรมการเฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อของสหรัฐ และไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงมากพอที่จะทำให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่
"กรรมการเฟดมองว่า แม้เงินเฟ้อของสหรัฐชะลอตัวลงในปีที่แล้ว แต่ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อได้ปรับตัวลงสู่เป้าหมายของเฟดที่ระดับ 2% โดยเฉพาะข้อมูลที่มีการรายงานครั้งหลังสุดซึ่งแสดงให้เห็นว่าเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาอาหารและการบริการปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ" เฟดระบุในรายงานการประชุมซึ่งมีการเผยแพร่เมื่อวานนี้ (22 พ.ค.)
สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า รายงานการประชุมดังกล่าวยังบ่งชี้ว่า กรรมการเฟดหลายคนได้หารือกันเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหากเงินเฟ้อไม่ได้ชะลอตัวลงต่อเนื่องจนถึงเป้าหมายที่ระดับ 2% นอกจากนี้ กรรมการเฟดยังได้กล่าวถึงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะส่งผลให้เงินเฟ้ออยู่ในช่วงขาขึ้น ซึ่งรวมถึงสถานการณ์ตึงเครียดด้านภูมิรัฐศาสตร์ พร้อมระบุถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่มีต่อบรรดาผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภคที่มีรายได้ต่ำ
รายงานดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนในตลาดการเงินกังวลว่า เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้น โดยล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 59% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของปีนี้อย่างน้อย 0.25% ในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งลดลงจากระดับ 65.7% ในการสำรวจวันก่อนหน้า
ในการประชุมเมื่อวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 23 ปี และเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 6 หลังจากที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 11 ครั้งนับตั้งแต่ที่เริ่มวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.2565 ส่งผลให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรวม 5.25%
ในการประชุมวันดังกล่าว เฟดยังได้ประกาศชะลอการใช้มาตรการปรับลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2567 เฟดจะลดวงเงินพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่จะปล่อยให้ครบอายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม เหลือเพียง 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ระดับ 6 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่คงวงเงิน MBS ที่จะปล่อยให้ครบอายุในแต่ละเดือนโดยไม่มีการซื้อเพิ่มเติม อยู่ที่ระดับ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์
แม้ว่าเจ้าหน้าที่ FOMC จะใช้คำพูดแบบนี้ที่เราได้ยินกันจนชินกันเป็นส่วนใหญ่หลังการประชุมนโยบายครั้งล่าสุด แต่ดอลลาร์และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐก็ยังแข็งค่าขึ้น ในขณะที่ราคาทองคำ และ BTC มีการปรับตัวลงอีกครั้ง
แต่เมื่อวิเคราะห์จากรายงานการประชุม FOMC ในครั้งนี้ ไม่น่าจะสร้างความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อแนวโน้มระยะยาวสำหรับนโยบายของเฟด ดังที่สะท้อนให้เห็นจากการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยของอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้าของสหรัฐ
ในขณะที่คาดว่ารายงานการประชุม FOMC ในครั้งนี้ อาจเกิดค่าอันเดอร์โทนแบบ Hawkish ที่สามารถพิสูจน์ได้ เนื่องจากรายงานการประชุมครั้งนี้เป็นของเมื่อคืนวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมาที่เพิ่งมีการเผยแพร่รายงานฉบับเต็มออกมาในเมื่อคืนนี้ และยังไม่ได้รวมข้อมูล CPI เดือนเมษายนซึ่งเป็นข้อมูลของ CPI ล่าสุดที่เพิ่งประกาศออกมาในสัปดาห์ที่แล้ว แต่การบันทึกรายงานการประชุมครั้งนี้ยังไม่ได้รวมข้อมูล CPI ล่าสุดเข้าไปด้วย
ตลาดหุ้นได้ร่วงลงในช่วงเวลาซื้อขายปกติ เนื่องจากรายงานของธนาคารกลางสหรัฐล่าสุดระบุว่าเจ้าหน้าที่ไม่รีบร้อนที่จะลดอัตราดอกเบี้ย ตามรายงานการประชุม FOMC ที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดดังกล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ดัชนี S&P 500 ร่วงลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากเจ้าหน้าที่เฟดหลายคนแสดงความกังวลเกี่ยวกับขอบเขตของนโยบายที่จำกัด แต่รายงานการประชุมยังระบุด้วยว่านโยบายถูกมองว่ามีข้อจำกัด ซึ่งทำให้ราคาพันธบัตรอยู่ภายใต้แรงกดดัน โดยระยะเวลาครบกำหนดที่สั้นลงอาจส่งผลให้มีผลการดำเนินงานที่ต่ำกว่าความเป็นจริง
และการลดลงของราคาพันธบัตรดังกล่าว ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นอายุ 2 ปีของสหรัฐเพิ่มขึ้นสี่จุดเป็น 4.87% ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีการปรับตัวลง ซึ่งรวมไปถึงราคาทองคำและราคาน้ำมัน