🥇 กฎข้อแรกของการลงทุนหรือ? รู้ว่าเมื่อใดควรประหยัด! รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ก่อนโปรโมชั่น BLACK FRIDAY จะหมดเขตรับส่วนลด

ลุ้นรายงาน GDP ไตรมาส 4 ของไทย รวมถึงรายงาน ดัชนี PMI สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น

เผยแพร่ 19/02/2567 08:21
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI และดัชนีราคาผู้ผลิต PPI ของสหรัฐฯ ที่สูงกว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดมองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยไม่ถึง 4 ครั้งในปีนี้ 
  • จับตา รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของประเทศเศรษฐกิจหลัก พร้อมรอลุ้น รายงานอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 2023
  • ธีม US Exceptionalism ที่เริ่มแผ่วลง จะทำให้เงินดอลลาร์ย่อตัวลงบ้างหรือแกว่งตัว sideways ทั้งนี้ เงินดอลลาร์อาจยังพอได้แรงหนุนบ้าง หากบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ย จนทำให้ผู้เล่นในตลาดเชื่อว่าเฟดอาจลดดอกเบี้ยได้ตาม Dot Plot ล่าสุด จริง ในส่วนของค่าเงินบาท โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าเริ่มแผ่วลง เปิดโอกาสเงินบาทแกว่งตัว sideways หรือแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่เงินบาทยังขาดปัจจัยหนุนการแข็งค่าที่ชัดเจน และยังมีความเสี่ยงผันผวนอ่อนค่า หากรายงานข้อมูล GDP ไทยออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งมั่นใจว่า ธปท. อาจลดดอกเบี้ยได้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งในปีนี้ ขณะเดียวกัน ควรจับตาทิศทางเงินหยวนของจีน (CNY) ราคาทองคำ รวมถึง ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ที่จะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเงินบาทได้พอสมควรในช่วงนี้
  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    35.65-36.25
    บาท/ดอลลาร์

    มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

    • ฝั่งสหรัฐฯผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ โดย S&P Global (Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยหากดัชนี PMI สหรัฐฯ โดยเฉพาะในส่วนภาคการบริการ ปรับตัวสูงขึ้น ดีกว่าคาด ก็อาจยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดประเมินว่า เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ย และหากบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ต่างย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ยเช่นกัน ก็อาจทำให้สุดท้าย ผู้เล่นในตลาดกลับมาเชื่อว่า เฟดจะสามารถทยอยลดดอกเบี้ยได้ตาม Dot Plot ล่าสุด อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดต่างก็เริ่มมองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยไม่ถึง 4 ครั้ง ในปีนี้ ซึ่งใกล้เคียงกับมุมมองของเฟดใน Dot Plot ล่าสุด ทำให้ การปรับมุมมองใหม่ของผู้เล่นในตลาดอาจไม่ได้ช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อได้มากนัก ยกเว้นว่า ผู้เล่นในตลาดจะมองว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะ Nvidia ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้พอสมควร
    • ฝั่งยุโรปบรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของทั้งธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผ่านรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของทั้งอังกฤษรวมถึงยูโรโซน นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ BOE และ ECB เพื่อประกอบการพิจารณาแนวโน้มนโยบายการเงินของทั้งสองธนาคารกลาง โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดต่างคาดว่า BOE อาจเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในการประชุมเดือนสิงหาคม ส่วน ECB อาจเริ่มทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในการประชุมเดือนมิถุนายน
    • ฝั่งเอเชียในส่วนรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกหนี้ชั้นดี (Loan Prime Rate: LPR) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมหรือไม่ โดยนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า PBOC อาจลดอัตราดอกเบี้ย LPR ลง -10bps เพื่อช่วยหนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการของญี่ปุ่น เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อนึ่ง ในส่วนนโยบายการเงิน เราคาดว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) อาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 6.00% หลังอัตราเงินเฟ้อยังสูงกว่าเป้าหมายของ BI ขณะเดียวกัน BI ก็ต้องการลดแรงกดดันต่อเงินรูเปียะห์ (IDR) ในช่วงที่ตลาดเริ่มกังวลว่า เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ยตามที่เคยประเมินไว้ ส่วนธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ก็จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 3.50% เพื่อให้มั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อจะทยอยกลับสู่เป้าหมาย 2% ได้
    • ฝั่งไทยบรรดานักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 อาจขยายตัวเพียง 2.5%y/y ทำให้ทั้งปี 2023 เศรษฐกิจจะโตราว +2.1%y/y ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ต่างได้ประเมินไว้ก่อนหน้า ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่กดดันการเติบโตเศรษฐกิจไทยอาจมาจากการหดตัวต่อเนื่องของสินค้าคงคลัง (Inventories) รวมถึงการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่ชะลอลงชัดเจน ตามการจัดตั้งรัฐบาลและพิจารณางบประมาณที่ล่าช้า อนึ่ง หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้แย่กว่าที่ตลาดประเมินไว้มาก ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดยิ่งคาดหวังว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะทยอยลดดอกเบี้ยนโยบายลงอย่างน้อย 2 ครั้ง ในปีนี้

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย