FED มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.5% ตามคาด ส่วนปีหน้าส่งสัญญาณ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยตลาดคาดลด 3 ครั้ง ขณะที่ความเสี่ยงต่อการที่จะเกิด RECESSION ลดลง โดยปี 2567 คาดการณ์GDP GROWTH 1.4% YOY ใน อีกมุมหนึ่ง ธปท. ให้ความเห็นว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ฐานะ การคลังแข็งแกร่งแม้จะมีการกู้เงินตามโครงการ DIGITAL WALLET พร้อมส่ง สัญญาณคงดอกเบี้ย โดยเห็นว่าที่ดอกเบี้ยนโยบาย 2.5% เป็นระดับที่เหมาะสม ส่วน GDP GROWTH ปี 2567 คาดว่าอยู่ที่ 3.2% (ไม่รวม DIGITAL WALLET) อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังคงแสดงความหนักใจต่อภาวะเศรษฐกิจในปีหน้า ซึ่งดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับการส่งสัญญาณของ ธปท. ทั้งนี้มุมมองที่แตกต่าง กันดังกล่าว อาจทำให้การเดินนโยบายการเงิน และการคลัง ไม่สอดคล้องกัน ทำ ให้ประสิทธิภาพของนโยบายต่างๆ ลดลง และสร้างความสับสนให้ตลาดการเงิน
SENTIMENT เชิงบวกจากตลาดหุ้นต่างประเทศ อาจทำให้เกิด TECHNICAL REBOUND ระยะสั้น แต่หากความเชื่อมั่น และ มูลค่าการซื้อขายยังไม่กลับ SET INDEX ยังผันผวนต่อ กรอบวันนี้ 1345 –1366 จุด หุ้น TOP PICK เลือก CPN, CRC และ PLANB
FED คงดอกเบี้ยตามคาด ส่งสัญญาณหั่นดอกเบี้ย 3 ครั้งปีหน้า หนุนดัชนีสหรัฐฯ ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ของปี
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯทั้ง 3 ตลาดปรับตัวขึ้นแรงในช่วง 1.37% - 1.40% และทำ จุดสูงสุดใหม่ของปีนี้ หลัง FED มีมติเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25% - 5.50% ในการประชุมคืนที่ผ่านมา ซึ่งการประกาศคงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นไป ตามที่ตลาดคาด และเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 3 หลังจากที่ FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 11 ครั้งนับตั้งแต่ที่เริ่มวัฏจักรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยใน เดือนมี.ค.2565 โดย FED ได้ส่งสัญญาณยุติวัฏจักรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดย ระบุว่า "คณะกรรมการ FED จะทำการพิจารณาปัจจัยหลายประการสำหรับการคุม เข้มนโยบายการเงินในอนาคต
โดยการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (DOT PLOT) เจ้าหน้าที่ FED ส่ง สัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 3 ครั้งในปี 2567 โดยปรับลดครั้งละ 0.25% รวม 0.75% จากเดิมที่ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียง 2 ครั้งในการ ประชุมเดือนก.ย.66 ในส่วนของปี 2568 เจ้าหน้าที่ FED ส่งสัญญาณปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยอีก 4 ครั้งรวม 1.00% ส่วนในปี 2569 ยังมีสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย อีก 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% รวม 0.75% ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้แนวโน้ม อัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ระดับ 2.50%
หากพิจารณาในมุมของ FED WATCH TOOL จะเห็นได้ว่าทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ก็ ทยอยปรับตัวลงเช่นเดียวกัน โดยตลาดคาดจะทยอยลดดอกเบี้ยตั้งแต่ มี.ค.67-ธ.ค. 67 ครั้งละ 0.25% จนสิ้นปี 2567 เหลือ 4.00%
ขณะที่หากพิจารณาในมุมของตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ REAL GDP และ CORE PCE INFLATION ซึ่ง FED มีการเปลี่ยนมุมมอง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
REAL GDP PROJECTION : ปรับเพิ่มคาดการณ์ REAL GDP สู่ระดับ 2.6% ในปี 2566 จากเดิมที่ระดับ 2.1% และคาดว่าอยู่ที่ 1.4%, 1.8% และ 1.9% ในปี 2567, 2568 และ 2569 ตามลำดับ
CORE PCE INFLATION : ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐลงสู่ระดับ 3.2% ในปี 2566 จากเดิมที่ระดับ 3.7% และคาดว่าอยู่ที่ 2.4%, 2.2% และ 2.0% ในปี 2567, 2568 และ 2569 ตามลำดับ
สรุป FED คงดอกเบี้ยตามคาด ส่งสัญญาณหั่นดอกเบี้ย 3 ครั้งปีหน้า หนุนดัชนี สหรัฐฯ ปรับขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ของปี ซึ่งวันนี้ตลาดหุ้นไทยคาดได้รับ SENTIMENT เชิงบวก โดยฝ่ายวิจัยฯมองกรอบการเคลื่อนไหวของวันนี้ที่ระดับ 1345-1366 จุด
ภาวะการเงินบ้านเรายังไม่ผ่อนคลาย เพิ่มความท้าทายให้ เศรษฐกิจไทย
วานนี้ ธปท. มีการประชุม MONETARY POLICY FORUM ครั้งที่ 4/2566โดยยังคงมี มุมมองต่อภาวะการเงินบ้านเรามีความตึงตัวขึ้น แต่ไม่ได้มากจนเป็นอุปสรรคต่อการ ฟื้นตัวโดยรวม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน 2.5% เป็นระดับที่เหมาะสม (NEUTRAL) ซึ่งไม่ได้เป็นระดับที่สูงเกินไปจนฉุดเศรษฐกิจ และไม่ได้เป็นระดับที่ต่ำเกินไป จนหนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโต ทั้งนี้ ธปท. อาจไม่ลดดอกเบี้ยจนกว่าจะเห็นสัญญาณ เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างมีนัยฯ
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทย ธปท. ค่อนข้างมองในเชิงบวก
• ธปท. คาด GDP +2.4% ในปี 66 และ +3.2% ในปี 67 อีกทั้งยังคงย้ำว่า เศรษฐกิจบ้านเราอยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดยมีแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชน เป็นสำคัญ เฉพาะอย่างยิ่งภาคบริการ บวกกับภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัว ต่อเนื่อง และในระยะต่อไปมีแนวโน้มขยายตัวสมดุลมากขึ้น แต่ต้องติดตาม ความเสี่ยงที่การส่งออกอาจฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้
• เงินเฟ้อล่าสุดจนถึงช่วงต้นปีหน้ามีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมาตรการ ช่วยเหลือค่าครองชีพ ฐานที่สูง และปัจจัยด้านอุปทาน ซึ่งไม่ได้สะท้อนภาวะเงิน ฝืดในระยะต่อไป บวกกับภาคการบริโภคยังขยายตัวได้ดี หนุนให้เงินเฟ้อระยะ กลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3%
ในทางกลับกันรัฐบาลมองวิเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงวิกฤต ทั้งในเรื่องค่าแรงที่ยังต่ำอยู่ รวมถึง GDP GROWTH ยังขยายตัวได้น้อย ทำให้รัฐบาลต้องรับมือกับการฟื้นตัวที่ไม่ เต็มที่ และจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาโครงสร้างต่างๆ ซึ่งถือเป็นความท้าทายกับการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในระยะถัดไป ท่ามกลางภาวะการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น
สรุป มุมมองเศรษฐกิจที่ต่างกัน ระหว่างผู้ที่กำหนดนโยบายการเงิน กับ ผู้ที่กำหนด นโยบายการคลัง อาจทำให้การออกมาตรการต่างๆ ลดประสิทธิผลลง นอกจากนี้ยัง อาจสร้างความสับสนให้กับตลาดการเงิน นำมาซึ่งความผันผวน ของ SET INDEX ใน ระยะต่อไป
หุ้นไทยทำ 52 WEEK LOW สวนทางหุ้นนอกทำ 52 WEEK HIGH
แม้วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง 15.95 จุด หรือ -1.16% อยู่ที่ 1357.97 จุด ปรับตัวลดลงมา -18.6%YTD และเป็นการทำจุดต่ำสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และต่าง กับตลาดหุ้นโลก (MSCI ACWI INDEX) ปรับตัวขึ้นมา +17.2%YTD และเป็นการทำ จุดสูงสุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา แรงผลักดันหุ้นโลกและหุ้นสหรัฐทำจุดสูงสุดใหม่ เกิดขึ้น หลังจาก FED มีมุมมองเตรียมใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยลดดอกเบี้ยในปี 2567 3 ครั้ง และ ปี 2568 อีก 2 ครั้ง
และหากมาดูข้อมูล BOND YIELD 10 ปี ของสหรัฐกับไทย พบว่า BOND YIELD 10 ปี สหรัฐวานนี้ปรับตัวลง 20 BPS. มาอยู่ที่ 4.01%ลดลงจากจุดสูงสุดของปี-101 BPS. ตามกลไกจะช่วยหนุนตลาดหุ้นให้ซื้อขายบน P/E ที่สูงขึ้น 4.7 เท่า หรือเพิ่ม UPSIDE ให้กับS&P500 INDEX ถึง 24% ส่วน BOND YIELD 10 ปี ไทย ปัจจุบันลดลงจาก จุดสูงสุดของปี -55 BPS. มาอยู่ที่ 2.85% ตามกลไกจะช่วยหนุนตลาดหุ้นให้ซื้อขายบน P/E ที่สูงขึ้น 1เท่า หรือเพิ่ม UPSIDE ให้กับ SETINDEX ราว7%
จากประเด็นดังกล่าว คาดช่วยหนุนให้ SET INDEX มีโอกาสรีบาวน์กลับขึ้นมาบ้าง โดย แนะนำเก็งกำไรหุ้นที่ได้ประโยชน์จากความหวังนโยบายการเงินโลกค่อยๆ ผ่อนคลายลง และหุ้นได้ประโยชน์จากบาทแข็งค่า อย่าง หุ้นกลุ่มการเงิน TIDLOR MTC SAWAD JMT, หุ้นปันผลสูง TISCO SIRI AP SPALI และหุ้นโรงไฟฟ้า BGRIM GULF GPSC
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities