ในสหรัฐ เริ่มพูดถึงภาวะ DISINFLATION หลังตัวเลข PCE เดือน ต.ค. ลงมาที่ 3% YOY ตามด้วยเงินเฟ้อในยุโรปเดือน พ.ย. ที่เข้าใกล้เป้าหมาย 2% ขณะที่ จีน แสดงตัวเลข PMI ที่ลดลงต่อเนื่อง 2 เดือน ส่วนบ้านเราเอง REAL INTEREST RATE ปรับขึ้นมาสูงมาก + การฟื้นตัวเศรษฐกิจยังไม่เต็มประสิทธิภาพ องค์ประกอบดังกล่าวล้วนเป็นแรงกระตุ้นให้ ธนาคารกลางต่างๆ เริ่มกลับมาพิ จรณาใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งภาวะดังกล่าวน่าจะดีต่อตลาดหุ้น สำหรับความผันผวนและปรับลดลงของ SET INDEX วานนี้ เป็นผลมาจากการ ปรับหุ้นเข้าออกของ MSCI แต่ก็มีจุดที่น่าสนใจคือ พบว่าสัดส่วนการซื้อขายผ่าน PROGRAM TRADE ปรับขึ้นมาแตะระดับ 55% ของมูลค่าการซื้อขายรวม ส่วน การประมวลผลหุ้นที่เข้าออก SET50 หากเป็นไปตามเกณฑ์ปกติTLI, DELTA และ INTUCH จะหลุดออก ส่วน KCE, ITC และ BCP จะถูกนำเข้าคำนวนแทน
เชื่อว่าระดับความผันผวนของ SET INDEX จะลดลง ขณะที่ได้แรงหนุนจากตลาด หุ้นสหรัฐที่ปับขึ้นแรง คาด SET INDEX ฟื้นตัว ประเมินกรอบช่วง 1370 – 1390 จุด หุ้น TOP PICK เลือก BEM, CPN และ WHA
แรงกดดดันเงินเฟ้อน้อยลง หนุนธนาคารกลางใช้นโยบาย การเงินผ่อนคลายมากขึ้น
วัฏจักรการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมีโอกาสมากขึ้นในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐ ยุโรป จีน รวมถึงไทย หลังแรงกระตุ้นเงินเฟ้อที่กดดันเศรษฐกิจได้เบาลงเรื่อยๆ สะท้อนจากสัญญญาณล่าสุด ดังนี
• สหรัฐ : เงินเฟ้อ PCE เดือน ต.ค. +3.0%YOY ตามคาด และทำระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2564 โดยหลักๆ ชะลอตัวลงจากราคาพลังงาน รวมถึง ภาคบริการ และกำลังเข้าสู่ภาวะ DISINFLATION
• ยุโรป : เงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ย. + 2.4% ชะลอตัวลงต่ำกว่าคาดและเดือนก่อน มาก และยังทำจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2564 โดยเป็นการปรับตัวลดลง ในทุกองค์ประกอบ โดยมีแรงฉุดจากราคาพลังงานเป็นหลัก ทำให้เงินเฟ้อยุโรป ปัจจุบันเข้าใกล้กรอบเป้าหมายที่ 2% อย่างมาก
• จีน : PMI ภาคการผลิตของจีนเดือน พ.ย. อยู่ที่ 49.4 ต่ำกว่าคาดที่ 49.6 และ ลดจากเดือนก่อนที่ 49.5 โดยเป็นการหดตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 อีกทั้ง ยอดขายบ้านใหม่ในจีนเดือน พ.ย. ติดลบเกือบ 30%YOY และยังหดตัว ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าเศรษฐกิจจีนยังไม่พ้นวิกฤตและอาจทำให้ รัฐบาลจีนต้องใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
ขณะที่ในบ้านเรา คาดว่าจะเห็น กนง. ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นเช่นกัน ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยี่กำลังฟื้นตัว รวมถึงรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจซึ่งในเดือน ต.ค. ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยอยู่ที่ 0.66 พันล้านเหรียญ เกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยในระยะถัดไปเชื่อว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการส่งออกที่มีทิศทางขยายตวเด่น ในช่วงที่เหลือของปีนี้ซึ่งน่าจะเป็นแรงหนุนที่ดีต่อเงินบาทให้พลิกกลับมาแข็งค่า และเป็น บวกต่อ FUND FLOW
สรุป ธนาคารกลางหลายประเทศมีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น หลังแรงกดดันเงินเฟ้ออาจไม่ใช้อุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ภาพรวม เศรษฐกิจในบ้านเรายังถือว่าอบู่ในช่วงของการฟื้นตัว หลังดุลบัญชีเดินสะพัดไทย เกินดุลต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะเป็นแรงหนุนที่ดีต่อเงินบาทให้พลิกกลับมาแข็งค่า และเป็นบวก ต่อ FUND FLOW
ราคาน้ำมัน และ FT อาจผันผวน หนุน กนง.ลดดอกเบี้ยเร็วกว่า คาด
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ BRENT ปรับตัวลงแรงกว่า 2.4% อยู่ระดับ 80 เหรียญฯ/ บาร์เรล หลังการประชุม OPEC+ ที่ผลิตน้ำมันในสัดส่วนกว่า 40% ของการผลิต น้ำมันทั่วโลกนั้น ได้ตกลงที่จะปรับลดการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจในปริมาณ 2 ล้าน บาร์เรล/วันใน 1Q67 ซึ่งเป็นการปรับลดกำลังการผลิตที่น้อยกว่าที่ตลาดคาด เนื่องจาก ก่อนหน้านี้กลุ่ม OPEC+ ส่งสัญญาณว่าจะปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน เพิ่มอีก 2 ล้านบาร์เรล/วันใน 1Q67 ซึ่งราคาน้ำมันดิบยังสามารถปรับตัวลงต่อได้ จากค่า FUTURES ของน้ำมัน BRENT ที่ตลาดมอง ณ สิ้นปีนี้อยู่ระดับ 77 เหรียญฯ/ บาร์เรล ซึ่งประเด็นดังกล่าวอาจสร้างแรงกดดันต่อ SET INDEX ในช่วงสั้น เนื่องจาก MARKET CAP หุ้นกลุ่มน้ำมันมีสัดส่วนราว 1 ใน 3 ของสัดส่วน SET INDEX ทั้งหมด
ขณะที่ในมุมของค่าไฟในประเทศ ล่าสุดมีกระแสข่าวว่าจาก กกพ. ว่าค่าไฟงวดใหม่จะ ปรับขึ้นเป็นหน่วยละ 4.68 บาท(สำหรับเดือน ม.ค.-เม.ย.67) แต่ทางด้านกระทรวง พลังงาน และนายกฯ จ่อสกัดเพื่อช่วยเหลือประชาชน โดยคาดว่าค่าไฟจะอยู่ราวหน่วย ละ 4.20 บาทเท่านั้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวต้องติดตามต่อไป ส่งผลให้หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ยังผันผวน อาทิ GULF GPSC BGRIM
ส่วนสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยเดือนล่าสุดอยู่ระดับ -0.31%YOY บวกกับตัวเลขเศรษฐกิจ 3Q66 ที่โตเพียง 1.5%YOY เท่านั้น จึงทำให้สำนักเศรษฐกิจ ทั้ง ธปท. กระทรวงการคลัง, สศช. ได้ปรับประมาณการ GDP GROWTH ปี 2566- 2567 ลง ผนวกกับราคาน้ำมันดิบที่มีโอกาสปรับตัวลงในอนาคต ทำให้มีโอกาสที่ ประเทศไทยจะเข้าสู่ภาวะเงินฝืด หรือ RECESSION ได้ ดังนั้น กนง.อาจคำนึงถึงความ เสี่ยงดังกล่าว และหนุนให้วงจรการลดดอกเบี้ยเกิดเร็วขึ้นกว่าที่คาด ซึ่งหากเกิดขึ้น จริง ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินตามกลไกดอกเบี้ยที่ลดลง 25 BPS. (จาก 2.50% เป็น 2.25%) มีโอกาสที่จะเป็นแรงผลักให้TARGET SET INDEX ปรับตัวสูงขึ้นอีก 78 จุด จากเดิมที่ตั้งเป้าหมายไว้ 1717 จุด
สรุป สถานการณ์ประเทศไทยที่เศรษฐกิจยังไม่ได้ฟื้นตัวมากนัก บวกกับราคา น้ำมันดิบโลกที่มีโอกาสปรับตัวลงในอนาคต แต่ยังต้องติดตามการยกเลิกนโยบาย ปรับลดราคาพลังงาน และค่าไฟฟ้า ในต้นปีหน้า ส่งผลต่อการตัดสินใจของกนง. อาจ พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าคาดหรือไม่? ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงจะ หนุนให้ TARGET SET INDEX ปรับตัวขึ้นอีก 78 จุด จากเดิมทิ่อยู่ระดับ 1717 จุด
จบ MSCI REBALANCE หวัง SETผันผวนน้อยลงและค่อยๆฟื้น
วานนี้ MSCI มีการ REBALANCE หุ้นไทยหนุนให้มูลค่าซื้อขายพุ่งขึ้นแรงเป็น 7.7 หมื่นล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนการซื้อขายจากนักลงทุนต่างชาตสูงถึง 69% สูงสุด เป็นอันดับ 2 ของปี เป็นรองเพียงวันที่ MSCI REBALANCE ตอนสิ้นเดือน พ.ค. 66 ที่ สัดส่วนการซื้อขายจากนักลงทุนต่างชาตสูงถึง 75%
อีกทั้งวานนี้มูลค่าซื้อขายผ่าน PROGRAM TRADING สูงถึง4.17 หมื่นล้านบาท คิด เป็นสัดส่วน 55% ของมูลค่าซื้อขายรวม และแซงมนุษย์ไปแล้ว
อย่างไรก็ตามจะสังเกตได้ว่าความผันผวนและมูลค่าซื้อขายต่างชาติพุ่งขึ้นแรง เฉพาะ วันที่ MSCI REBALANCE แล้ว หลังจากนั้นก็จะลดลงสู่ภาวะปกติคาดหวัง SET INDEX จะค่อยๆฟื้นกลับขึ้นมา โดยได้แรงหนุนจากกองทุนไทยที่น่าจะมาเป็นพระเอก ผลักดัน SET จากการตั้งกองทุน THAILANDESG FUND หวังเม็ดเงินจะเข้ามาหนุน ตลาดได้ร้อนแรงกว่าช่วงเดือน พ.ย. 66 ที่สถาบันฯ ซื้อสุทธิหุ้นไทยสูงถึง 8.4 พันล้าน บาท
ต่อมาดูว่าจะมีหุ้นอะไรเข้า SET50 SET100 รอบ 1H67 บ้าง
ฝ่ายวิจัยฯ ทำการคำนวณหาหุ้นเข้าออก SET50 SET100 รอบ 1H66 คาดตลาดฯ ประกาศสัปดาห์ที่ 3 เดือน ธ.ค. และมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 67 ดังนี้
• หุ้นที่มีโอกาสเข้า SET50 คือ KCE, ITC, BCP
• หุ้นออกจาก SET50 คือ TLI, INTUCH, DELTA
• หุ้นที่คาดว่าเข้า SET100 คือ ITC, BA, SISB, SAPPE, QH, SKY, RBF, ICHI, MOSHI, JAS, TKN
• หุ้นออกจาก SET100 คือ TLI, MBK, THG, CKP, SABUY, PSL, STEC, PTG, DELTA, INTUCH, ACE
***อย่างไรก็ตามด้วยมูลค่าซื้อขายปีนี้ที่เบาบางมาก หากตลาดหย่อนเกณฑ์ TURNOVER ลงเป็น 8/12 เดือน หุ้น INTUCH กับ DELTA ก็จะไม่หลุด SET50 แถม มีหุ้น AEONT เข้า SET100 มาเพิ่มด้วย***
และจากสถิติในอดีต หุ้นที่ถูกคัดเข้ามักจะปรับตัวเพิ่มขึ้น และหุ้นที่ออกมักจะปรับตัว ลดลง โดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนก่อนมีผลบังคัยใช้ โดยหุ้นเข้า SET50 มักปรับตัว เพิ่มขึ้นเฉลี่ย +5.7% ออก -2.1% และหุ้นเข้า SET100 มักปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย +1.3% ออกลบเล็กน้อย -0.9%
กลยุทธ์ : แนะนำหาจังหวะเก็งกำไรหุ้นที่มีโอกาสถูกคัดเข้าใน SET50 และ SET100 สูง (สีเขียว) คาดว่าน่าจะ OUTPERFORM ตลาดได้ดีในเดือน ธ.ค. ชอบ KCE, ITC, BA, QH
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities