รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

จับตา “ทองคำ – น้ำมัน” อาจกลับเข้าสู่ขาขึ้น หลังเกิดสงครามอิสราเอลกับฮามาส

เผยแพร่ 10/10/2566 10:52
อัพเดท 09/07/2566 17:32

ตุลาคมโอกาส “ทองคำ – น้ำมัน” เป็นขาขึ้นทั้งในช่วงสั้นและระยะยาว ราคาเด้งรับปัจจัยหนุนรอบด้านทั้งสงครามอิสราเอล - ฮามาส และนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และค่าเงินดอลลาร์ อาจเข้าสู่รอบย่อตัว หลังเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯ แนะจับตาฤดูกาลประกาศผลประกอบการ เป็นโอกาสเพิ่มพอร์ตหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ 7 ตัว


            
นายณพวีร์ พุกกะมาน นักลงทุนและผู้ก่อตั้ง Creative Investment Space (CIS) สถาบันให้ความรู้ด้านนวัตกรรมการลงทุนรูปแบบใหม่ เปิดเผยว่า ผลจากการที่อิสราเอลทำสงครามกับกลุ่มฮามาส เป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญของราคาทองคำและน้ำมัน โดยเป็นไปได้ว่าทั้งสองสินทรัพย์อาจจบรอบการพักฐานเข้าสู่การฟื้นตัวครั้งใหม่ โดยราคาทองคำเมื่อคืนวันศุกร์ (6 ต.ค. 66) ที่ผ่านมามีการย่อตัวลงมาแตะแนวรับสำคัญที่เป็นจุดต่ำสุดเดิมในเดือนมีนาคมของปีนี้ ที่ระดับ 1,808 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เนื่องจากผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ยังคงพุ่งขึ้นและทำจุดสูงสุดที่ 4.85% ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ยังแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี ที่ระดับราคาทองคำดังกล่าวยังคงมีแรงซื้อกลับเข้ามาอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจประเมินได้ว่ามีนักลงทุนบางส่วนคาดการณ์ไว้แล้วว่าผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และค่าเงินดอลลาร์ จะเกิดการย่อตัวลง หลังจากเป็นขาขึ้นมาได้ระยะหนึ่ง ประกอบกับ RSI ของทองคำลงมาในระดับ Oversold ในรอบหลายปี ทำให้มีแรงซื้อคืนต่อเนื่องมาจนถึงเช้าวันจันทร์ (9 ต.ค. 66) ที่ตลาดซื้อขายเปิด หลังจากสงครามได้เกิดขึ้นในช่วงวันหยุด

              “หากไม่มีสงคราม การเด้งคืนของทองคำอาจมองเป็นการฟื้นตัวระยะสั้น แต่ทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่เกิดภาวะสงคราม จึงเป็นไปได้ว่าหากสงครามมีความรุนแรงยืดยาว ทองคำอาจจะปรับตัวขึ้นได้ต่อ ซึ่งสอดคล้องกับผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ Bond Yield อาจจะปรับตัวลงได้บ้าง”

              อย่างไรก็ตามในภาพทางเทคนิค ทองคำอาจจะติดแนวต้านระยะสั้นที่ 1,870 ดอลลาร์สหรัฐฯ และหากจะคาดหวังให้ราคาทองคำกลับมาเป็นขาขึ้นในระยะยาวจะต้องกลับมายืนเหนือระดับเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ที่ 1,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ ให้ได้ก่อน ขณะเดียวกันยังต้องจับตาแนวรับที่ 1,808 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยการที่ทองคำปรับตัวลงจากจุดสูงสุดของปีนี้แล้วกว่า 14% ถือเป็นระดับของการปรับฐานที่น่าสนใจ

              ส่วนราคาน้ำมัน ปรับตัวขึ้นแรงกว่า 5% ในการเปิดตลาดซื้อขายเช้าวันจันทร์ โดยน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลงจากจุดสูงสุด 94 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาที่เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน ที่ 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการปรับตัวลง 14% แล้วมีการฟื้นตัวขึ้น ในภาพทางเทคนิคยังถือว่ารักษาแนวโน้มการเป็นขาขึ้นในภาพใหญ่ไว้ได้ และอาจจะเดินหน้าปรับตัวขึ้นต่อ โดยหากผ่านจุดสูงสุดเดิมที่ 95 ดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีโอกาสแตะระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ

              “เดือนตุลาคมนี้นักลงทุนสามารถจับตาสองสินทรัพย์ดังกล่าวมีโอกาสที่จะเป็นขาขึ้นได้จากสงครามที่เกิดขึ้น แต่ถ้าหากความรุนแรงของสงครามลดลง สามารถที่จะขายทำกำไรในระยะสั้นได้”

              ปัจจัยระยะสั้นนี้ Fed Watch Tool บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่า 20% ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งถัดไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย Higher For Longer ที่จะคงดอกเบี้ยระดับสูงยาวนานต่อเนื่อง

              ขณะที่วันพุธนี้ (11 ต.ค. 66) จะมีการเปิดเผยรายละเอียดการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องรอดูความคิดเห็นของกรรมการแต่ละรายถึงแนวโน้มเศรษฐกิจ และในวันพฤหัสบดีนี้ (12 ต.ค. 66) จะมีการประกาศตัวเลข CPI หรือ อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายน ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ในครั้งต่อไปว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% หรือไม่

              สำหรับสินทรัพย์อื่น ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไปจะเข้าสู่ช่วงการแถลงผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ให้จับตาดูหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ทั้ง 7 ตัว มีโอกาสที่จะฟื้นตัวจากเดือนกันยายน โดยดัชนี NASDAQ ปรับตัวลดลงประมาณ 3% มีหุ้น 4 ตัวที่สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าดัชนี ได้แก่ Meta, Tesla, Alphabet และ Microsoft ส่วนหุ้นที่สร้างผลตอบแทนได้ต่ำกว่าก็มี Amazon, Apple และ Nvidia ช่วงนี้จึงน่าสนใจที่จะเริ่มทยอยสะสมหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะตัวที่ยัง Underperform ตลาดอย่าง Amazon, Apple และ Nvidia ที่มีอัพไซด์ให้สามารถที่จะทำกำไรได้

              ขณะที่สินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง “บิทคอยน์” ยังสามารถที่จะทยอยสะสมระยะยาวได้ โดยเป็นไปได้ว่าการตัดสินใจเรื่องอนุมัติ Bitcoin ETF อาจเกิดขึ้นในเดือนมกราคมปีหน้า ช่วงนี้จึงสามารถทยอยซื้อได้หากราคาไม่ร่วงต่ำกว่า 21,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนหุ้นเวียดนามสามารถเข้าซื้อได้เช่นกันหลังย่อตัวลงแล้วยังรักษาแนวโน้มขาขึ้นไว้ได้ ส่วนตลาดหุ้นจีนยังมีความเสี่ยงอีกมากยังไม่ใช่เวลาที่จะเข้าลงทุน

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย