ข่าวเด่น
เสนอซื้อเสนอขาย
ประเภทตราสารทั้งหมด

โปรดลองค้นหาใหม่อีกครั้ง

Investing Pro 0
โอกาสสุดท้าย: ปลดล็อกข้อมูลพรีเมียมด้วย รับส่วนลด 60%

จับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชี้ชะตาทิศทางเงินดอลลาร์

th.investing.com/analysis/article-200445951
จับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชี้ชะตาทิศทางเงินดอลลาร์
โดย Poon Panichpibool   |  Oct 02, 2023 08:11
บันทึกแล้ว ดู รายการที่ได้บันทึก.
ได้บันทึกบทความนี้ไว้เรียบร้อยแล้วใน รายการที่ได้บันทึก ของคุณ
 
  • สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ตามความต้องการถือเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและความกังวลแนวโน้มเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน
  • รอจับตา รายงานดัชนี ISM PMI และยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ของสหรัฐฯ ส่วนในฝั่งไทย รอติดตาม อัตราเงินเฟ้อ CPI
  • เงินดอลลาร์มีโอกาสชะลอการแข็งค่าหรือพลิกกลับมาอ่อนค่าลงได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยเฉพาะฝั่งการจ้างงานไม่ได้ออกมาดีกว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดคลายกังวลแนวโน้มการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นานของเฟด ทั้งนี้ หากตลาดการเงินยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงก็อาจช่วยหนุนเงินดอลลาร์ได้ ในส่วนของค่าเงินบาท โมเมนตัมการอ่อนค่าเริ่มแผ่วลงบ้าง และการอ่อนค่าอาจยังถูกจำกัดแถวโซนแนวต้านล่าสุดแถว 36.85 บาทต่อดอลลาร์ ทว่า ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจยังมีความผันผวน (แต่มองว่าแรงขายอาจลดลง) นอกจากนี้ ควรระวังและจับตาทิศทางราคาน้ำมันดิบ รวมถึงราคาทองคำ โดยการปรับฐานต่อเนื่องของราคาทองคำ อาจหนุนให้ผู้เล่นในตลาดทยอยเข้าซื้อทองคำ ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง
  • มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้
    36.25-36.85
    บาท/ดอลลาร์

มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก

  • ฝั่งสหรัฐฯไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญในเดือนกันยายน อาทิ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (ISM Manufacturing & Services PMIs) รวมถึงรายงานข้อมูลตลาดแรงงาน โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls:NFP) โดยในส่วนของดัชนี ISM ภาคการผลิต ตลาดประเมินว่า ภาคการผลิตของสหรัฐฯ อาจฟื้นตัวดีขึ้น แต่โดยรวมยังคงอยู่ในภาวะหดตัวต่อเนื่อง สะท้อนผ่านดัชนี ISM PMI ภาคการผลิต ที่ระดับ 47.7 จุด (ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด หมายถึง ภาวะหดตัว) ส่วนภาคการบริการ แม้ว่าจะยังคงขยายตัวได้ แต่จะเป็นการขยายตัวในอัตราชะลอลงชัดเจน หลังการใช้จ่ายครัวเรือนอาจเผชิญแรงกดดันจากการชะลอตัวลงต่อเนื่องของการจ้างงาน รวมถึงผลกระทบจากภาระหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้นและค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง แย่กว่าคาด ทำให้โดยรวมดัชนี ISM PMI ภาคการบริการอาจลดลงสู่ระดับ 53.5 จุด ส่วนในฝั่งตลาดแรงงาน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินว่า การจ้างงานมีแนวโน้มชะลอตัวลงมากขึ้น โดย NFP เดือนกันยายน อาจเพิ่มขึ้นราว 1.6 แสนราย ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นเกือบ 1.9 แสนราย (ซึ่งต้องจับตาว่า จะมีการปรับปรุงข้อมูลก่อนหน้าหรือไม่ เพราะในปีนี้ NFP มักจะถูกปรับลดลงราว -5 หมื่นตำแหน่ง หลังการปรับปรุงข้อมูล) ส่วนอัตราการว่างงานอาจทรงตัวที่ระดับ 3.8% ไม่ต่างจากเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกันกับ อัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) ที่จะขยายตัว +4.3%y/y เท่ากับเดือนก่อนหน้า และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอย่างใกล้ชิด
  • ฝั่งยุโรปผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) อย่างใกล้ชิด หลังจากล่าสุด อัตราเงินเฟ้ออังกฤษและยูโรโซน ชะลอตัวลงมากขึ้น ทำให้ตลาดเริ่มมองว่า ทั้ง BOE และ ECB อาจจบรอบการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว
  • ฝั่งเอเชียไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งญี่ปุ่น อาทิ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ Tankan ที่สำรวจโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) รวมถึง ข้อมูลตลาดแรงงานญี่ปุ่น โดยเฉพาะ อัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Wage growth) ซึ่งอาจส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินของ BOJ ได้ หากภาพรวมเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวดีขึ้น ส่วนค่าจ้างก็มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี จนอาจทำให้ BOJ มั่นใจว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ใกล้ระดับเป้าหมาย 2% ได้อย่างยั่งยืน ในส่วนผลการประชุมบรรดาธนาคารกลางฝั่งเอเชีย เราประเมินว่า แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลงในหลายประเทศ จนเข้าใกล้เป้าหมายของบรรดาธนาคารกลาง แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากภาวะ El Nino และการปรับตัวขึ้นของราคาพลังงานในช่วงที่ผ่านมา ก็อาจทำให้บรรดาธนาคารกลางฝั่งเอเชีย เลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิม โดยธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA), ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) และธนาคารกลางอินเดีย (RBI) อาจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 4.10%, 5.50% และ 6.50% ตามลำดับ  
  • ฝั่งไทยเราประเมินว่า แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้วยการลดค่าไฟฟ้าลง แต่ทว่า ผลกระทบจากภาวะ El Nino อาจยังหนุนให้ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้นราว +0.3%m/m (ส่วนใหญ่มาจากการปรับตัวขึ้นของราคาข้าว แป้ง ผักและผลไม้) นอกจากนี้ ราคาพลังงานยังปรับตัวขึ้นไม่น้อยกว่า +2%m/m ทำให้โดยรวมอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อาจเพิ่มขึ้น +0.2%m/m หรือ +0.86%y/y ทั้งนี้ หากโมเมนตัมอัตราเงินเฟ้อรายเดือนเพิ่มขึ้นไม่เกิน +0.2%m/m ก็อาจทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้กังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อมากนักและการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจถึงจุดยุติแล้วที่ระดับ 2.50% อนึ่ง การฟื้นตัวของภาคการส่งออกที่ดีขึ้น อาจช่วยหนุนให้ดัชนี PMI ภาคการผลิตของไทยในเดือนกันยายน ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 49.5 จุด ได้ สอดคล้องกับ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment) ที่อาจปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 50 จุด ได้อีกครั้ง หนุนโดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ

จับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชี้ชะตาทิศทางเงินดอลลาร์
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ณัฐชาต เมฆมาสิน
คาด SET เปิดตลาดถูกกดดันจากกลุ่ม Oil & Gas โดย ณัฐชาต เมฆมาสิน - Dec 07, 2023

Oil in focus / Short selling ŞET: คาด SET Index เปิดตลาดถูกกดดันจากกลุ่ม Oil & Gas หลังราคา น้ํามันดิบร่วงแรงเมื่อคืนนี้ นอกจากนั้น ยังต้องจับตาการอ่อนค่าของเงิน...

Poon Panichpibool
ราคาทองคำมีโอกาสผันผวนย่อตัวลงได้บ้าง ตามแรงขายทำกำไร โดย Poon Panichpibool - Nov 20, 2023

Economic Highlight ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการจากสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น รวมถึงรายงานอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 **ราคาทองคำ =...

Adipong Pathomsoontornchai
บทวิเคราะห์ว่าตัวเลขดัชนี CPI ของสหรัฐในค่ำคืนนี้จะออกมาอย่างไร โดย Adipong Pathomsoontornchai - Sep 13, 2023

บทวิเคราะห์ว่า...ตัวเลขดัชนี CPI ของสหรัฐในค่ำคืนนี้จะออกมาอย่างไรในคืนนี้เวลา 19:30 จะมีการประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ ดัชนี CPI ของสหรัฐ...

จับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชี้ชะตาทิศทางเงินดอลลาร์

แสดงความคิดเห็น

เกณฑ์การแสดงความคิดเห็น

เราสนับสนุนให้ท่านได้ใช้ช่องทางการแสดงความคิดเห็นนี้เพื่อสื่อสารสัมพันธ์กับผู้ใช้เว็บไซต์อื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนในทัศนคติและสอบถามข้อสงสัยกับผู้เขียนและสอบถามซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ตามเพื่อให้การสื่อสารสัมพันธ์นี้เป็นไปอย่างเรียบร้อยที่เราทุกคนต้องการและคาดหวังดังนี้กรุณาพึงระลึกในข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้:  

  • มีเนื้อหาสาระ การสนทนาควรมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ
  • เอาใจใส่และตรงประเด็น กรุณาโพสต์ในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่กำลังอภิปราย
  • ให้เกียรติ แม้ในการแสดงความคิดเห็นเชิงลบก็ตามควรต้องกระทำในลักษณะสร้างสรรค์และสุภาพ
  • ใช้สไตล์การเขียนมาตรฐานทั่วไป ที่รวมถึงการใช้เครื่องหมายวรรคตอนและตัวอักษรใหญ่เล็ก
  • หมายเหตุ: ข้อความและลิงค์ประเภทสแปมและ/หรือเพื่อการส่งเสริมการขายที่ปรากฎในการแสดงความคิดเห็นจะถูกลบทิ้ง
  • หลีกเลี่ยงการลบหลู่ การให้ร้ายผู้อื่น และการกล่าวโจมตีโดยส่วนตัว ที่กระทำต่อผู้เขียนเนื้อหาในเว็บหรือต่อผู้ใช้เว็บไซต์คนอื่น
  • เฉพาะภาษาไทยเท่านั้น สามารถแสดงความคิดเห็นเป็นภาษาไทยเท่านั้น

ผู้ที่โพสต์เนื้อหาข้อความสแปมหรือใช้เว็บไซต์นี้ไปในทางผิดจะถูกลบรายชื่อทิ้งจากเว็บไซต์และถูกปิดกั้นการลงทะเบียนเป็นสมาชิกในอนาคตซึ่งเป็นไปตามดุลพินิจของเว็บไซต์ Investing.com

เขียนบรรยายความคิดของคุณได้ที่นี่
 
คุณแน่ใจว่าต้องการลบกราฟนี้?
 
โพสต์
และโพสต์บน :
 
แทนที่กราฟที่แนบมาด้วยกราฟใหม่ ?
1000
ความสามารถในการแสดงความคิดเห็นของคุณถูกระงับในขณะนี้เนื่องจากมีรายงานเชิงลบจากผู้ใช้เว็บไซต์ ผู้ดูแลเพจของเราจะทบทวนสถานะของคุณ
กรุณารอสักครู่ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นอีกครั้ง
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ ความคิดเห็นของคุณทั้งหมดจะอยู่ระหว่างการอนุมัติจากผู้ดูแลระบบ ดังนั้นอาจใช้เวลาระยะหนึ่งก่อนที่จะปรากฎบนเว็บไซต์ของเรา
 
คุณแน่ใจว่าต้องการลบกราฟนี้?
 
โพสต์
 
แทนที่กราฟที่แนบมาด้วยกราฟใหม่ ?
1000
ความสามารถในการแสดงความคิดเห็นของคุณถูกระงับในขณะนี้เนื่องจากมีรายงานเชิงลบจากผู้ใช้เว็บไซต์ ผู้ดูแลเพจของเราจะทบทวนสถานะของคุณ
กรุณารอสักครู่ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นอีกครั้ง
เพิ่มกราฟไว้ในคอมเมนต์
ยืนยันการบล็อก

คุณแน่ใจหรือว่าคุณต้องการบล็อก %USER_NAME%?

เมื่อทำการบล็อก คุณและ %USER_NAME% จะไม่สามารถเห็นโพสต์ของแต่ละฝ่ายบนเว็บไซต์ Investing.com ได้

%USER_NAME% ได้ถูกเพิ่มเข้าไปใน Block List ของคุณแล้ว

เนื่องจากคุณเพิ่งยกเลิกการบล็อกบุคคลนี้ คุณต้องรอ 48 ชั่วโมงก่อนการบล็อกอีกครั้ง

รายงานความคิดเห็นนี้

ฉันรู้สึกว่าความคิดเห็นนี้

ความคิดเห็นได้รับการติดธงเตือน

ขอบคุณ!

รายงานของคุณได้ถูกส่งไปยังผู้ดูแลบอร์ดของเราเพื่อการทบทวน
สมัครสมาชิกด้วย Google
หรือ
สมัครสมาชิกด้วยอีเมล