กนง. มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.50%ทั้งนี้เป็นการ สะท้อนภาพเศรษฐกิจปี 2567 ที่ GDP Growth อยู่ที่ 4.4% พร้อมกับการเกิด ภาวะเอลนีโญ อาจนำมาซึ่งเงินเฟ้อ ทั้งนี้ผลกระทบจากการปรับขึ้นดังกล่าว ส่งผลทำให้Upside ของ SET Index ซึ่งถูกคำนวนด้วยวิธีMarket Earning Yield Gap (MEYG) ถูกปรับลดลง โดยหากคงระดับ MEYG ที่ 3.3% ตามเดิม เป้าหมายของ SET Index จะถูกปรับลดลงจาก 1595 จุด เป็น 1524 จุด แต่ อย่างไรก็ตามก็เชื่อว่า Downside ก็จะอยู่ในภาวะที่จำกัดเช่นกัน เนื่องจากช่วงที่ ผ่านมาตลาดได้ดูดซับความคาดหวังว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วบางส่วน ขณะที่ หากมอง Valuation ในมุม PBV ต่ำเพียง 1.46 เท่า (ต่ำกว่า -1SD) ภายใต้ภาวะ ดังกล่าวทำให้ภาพการเคลื่อนไหวของ SET Index น่าจะผันผวนแต่กรอบไม่กว้าง
ประเมินการเคลื่อนไหวของ SET Index จะอยู่ในภาวะที่อึดอัด โดยกรอบการ เคลื่อนไหววันนี้อยู่ในช่วง 1486 – 1505 จุด สำหรับหุ้น Top Pick วันนี้เลือก HMPRO, JMARTและ KBANK (BK:KBANK)
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง หนุน หุ้นกลุ่มน้ำมัน
ตั้งแต่ต้นเดือนราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI ปรับตัวขึ้น 11% และ 12% ตามลำดับ หลังสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดว่า การที่ซาอุดีอาระเบียขยายเวลาปรับลด กำลังการผลิตน้ำมันโดยสมัครใจจำนวน 1 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปีนี้ และรัสเซีย ขยายเวลาปรับลดการส่งออกน้ำมันสู่ระดับ 300,000 บาร์เรล/วัน จนถึงสิ้นปีนี้ จะ ส่งผลให้Supply น้ำมันในตลาดโลกอยู่ในภาวะตึงตัวไปจนถึงไตรมาส 4 ปีนี้
ขณะที่วานนี้ EIA ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบที่เมืองคูชิง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบ สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าของสหรัฐ ลดลง 943,000 บาร์เรล สู่ระดับต่ำกว่า 22 ล้าน บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ก.ค. 65 ยิ่งทำให้Supply น้ำมันในตลาดโลกเผชิญ ภาวะตึงตัวมากยิ่งขึ้น ประเด็นดังกล่าว ทำให้ราคาน้ำมันดิบยังปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย Brent ปรับขึ้น 2.76% ปิดที่ระดับ 96.55 เหรียญฯ ดังนั้น SET Index น่าจะได้ ประโยชน์ จากที่มีสัดส่วนหุ้นน้ำมัน-โรงกลั่น เกือบ 1 ใน 3 ของน้ำหนักตลาดฯ โดยหุ้นที่ คาดได้ประโยชน์ คือ PTT (BK:PTT) PTTEP TOP SPRC เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการที่ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวขึ้นแรงกว่า 11%Mtd หรือ 30%Qtd และยืนระดับสูงนานๆ ทำให้ความกังวลอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำ ให้ Fed ยังคงดำเนินนโยบายทางการเงินเชิงรุกได้ ดังนั้นต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจ อยู่เรื่อยๆว่าจะมีสัญญาณไปทิศทางไหน วึ่งวันพรุ่งนี้จะมีการรายงาน ดัชนีราคาการใช้ จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่ง Bloomberg Consensus คาดอยู่ที่ 3.5%YoY (สูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่อยู่ระดับ 3.3%YoY)
สรุป ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยืนเหนือระดับ 95 เหรียญฯ จากความ กังวล Supply ในตลาดน้ำมันตึงตัวขึ้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวหนุนให้หุ้นกลุ่มน้ำมัน-โรง กลั่น Outperform ตลาดได้ในวันนี้ โดยฝ่ายวิจัยฯแนะนำ PTT PTTEP TOP SPRC เป็นต้น
กนง. มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 2.5%
การตอบสนอของตลาดจาก Bond Yield 1 ปีของไทยที่มีการเร่งตัวขึ้นมาสูงกว่า Policy Rate ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนการประชุม กนง. รอบล่าสุดในวันที่ 27 ก.ย. สะท้อนถึงโอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลืออยู่ได้ค่อนข้างดี
ขณะที่วานนี้ กนง. มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 2.5% ตามเศรษฐกิจไทยอยู่ ในทิศทางฟื้นตัว และประเมินเศรษฐกิจไทยปี 67 จะเร่งตัวสูงขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศ สอดรับกับภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง และภาคการส่งออกสินค้ากลับมา ขยายตัว อีกทั้งจะได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐ แต่อาจมีแรงกดดันด้าน อุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ปัจจัยเหล่านี้มีโอกาสทำให้เงินเฟ้อขยับสูงขึ้น โดย คาด ปี 67 อยู่ที่ 2.6% (เดิม 2.4%)
นอกจากนี้ กนง. ยังได้ปรับคาดการณ์ GDP ปี 66 ลดลงสู่ 2.8% (เดิม 3.6%) และปี 67เพิ่มขึ้นเป็น 4.4% (เดิม 3.8%) โดยมีแรงหนุนหลักจาก Digital wallet คาดว่าจะทำ ให้เม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 0.3-0.6 เท่า ของจำนวนเงินที่อีดฉีดทั้งหมด (Government Spending Multiplier) ส่งผลให้ GDP ปีหน้าโตอย่างน้อย 4%
เมื่อพิจารณาท่าที กนง. ต่อแนวโน้มดอกเบี้ยไทยระยะถัดไป มีการส่งสัญญาณว่า ดอกเบี้ยขาขึ้นรอบนี้จบแล้ว สะท้อนผ่านการใช้ถ้อยคำแถลงที่ว่า “ดอกเบี้ยในปัจจุบัน เหมาะสมกับการขยายตัวเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวแล้ว”
อย่างไรก็ตาม SET Index ตอบรับมาในระดับหนึ่งแล้ว จากที่ SET ปรับตัวลงราว 82 จุด จากจุดยอดที่ 1579 จุด ในช่วงปลายเดือน ส.ค.66-ปัจจุบัน (การปรับขึ้น 0.25% กดดับ SET 71 จุด)
สรุป กนง. Surprise ตลาด มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 2.5% ตาม เศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางฟื้นตัว และมองไปถึงการฟิ้นตัวเศรษฐกิจของไทยในปี 2567 แต่อาจมีแรงกดดันด้านอุปทานจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ปัจจัยเหล่านี้มีโอกาสทำให้ เงินเฟ้อขยับสูงขึ้น ฝ่ายวิจัยฯ แนะนำหุ้นอิงเศรษฐกิจฟื้นตัวตามมุมมอง กนง. คือ SCGP JMART CRC BJC CPN AOT (BK:AOT) ERW และหุ้นกลุ่ม Bank ที่ได้ประโยชน์จากการ ขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ KBANK BBL SCB
ยามดอกเบี้ยขึ้นอีกครั้ง และผลต่อ BANK กับ Non – Bank
กนง. มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีก 0.25% มาที่ 2.5%ทำให้อัตรา ดอกเบี้ยนโยบายไทย เข้าสู่จุดเหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาวตามมุมมองของ กนง. ภาพดังกล่าวบวกทันทีต่อเงินกู้ยืม ระหว่างธนาคาร (Interbank) ดีต่อ BBL, KTB ขณะที่ฝั่งดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อยังต้อง จับตามองการตอบสนองจากกลุ่มฯ หลังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยรอบก่อนหน้า ยัง ไม่มี ธ.พ. ใดขึ้น M-RATE ทั้งนี้ กรณีที่มีการเพิ่ม M-RATE มองว่า MLR ที่คิดกับ ลูกค้ารายใหญ่ น่าจะถูกปรับขึ้นในอัตราสูงกว่า MRR ที่คิดกับ SME และรายย่อย ซึ่ง ศักยภาพในการชำระหนี้ยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยรวมบวกต่อ BBL ที่มี สัดส่วนสินเชื่อรายใหญ่มากสุดในกลุ่มฯ
โดยการลงทุนสำหรับกลุ่มธนาคาร เลือก BBL จากคุณภาพสินทรัพย์แกร่งกว่ากลุ่ม ฯ และคาดรับประโยชน์จากการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่ากลุ่มฯ ส่วน ธ.พ. เล็ก แม้ เสียเปรียบ ธ.พ. ใหญ่ ยามดอกเบี้ยขาขึ้น แต่มีจุดเด่นจาก DIV YIELD สูง ยังชอบ TISCO ที่ให้ DIV YIELD สูงสุดในกลุ่มฯ มากกว่า KKP นอกจากนี้มุมมองในเชิงกล ยุทธ์ ภายใต้การกลับเข้าซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติวานนี้ ผสานกับการขึ้น ดอกเบี้ยนโยบาย น่าจะสร้างความคึกคักให้กับ KBANK ที่ราคาผ่านการปรับฐานเป็น อันดับต้นของกลุ่ม ธ.พ. ใหญ่ ราว 15.6% YTD (SET INDEX – 10.3% YTD) รายละเอียด Industry update กลุ่มธนาคาร “ต้องจับตามอง” (28 ก.ย. 66)
ส่วนกลุ่ม Non – Bank (เฉพาะ MTC, SAWAD, TIDLOR) กรณีที่ธนาคารมีการปรับ ขึ้น M-Rate และ Bond Yield ยืนในระดับสูง ในทางพื้นฐานส่งผลให้แนวโน้มต้นทุนทาง การเงิน (Cost of fund : COF) ของกลุ่มสูงขึ้นในระยะถัดไป ซึ่งโครงสร้างหนี้สินที่มี ดอกเบี้ยอายุ 1 ปี ณ สิ้นงวด 2Q66 เฉลี่ยอยู่ที่ 38% ของภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ย (หนี้กับ สถาบันการเงินประมาณ 21% ของภาระหนี้ที่มีดอกเบี้ย) โดยช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่ เริ่มต้นวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นของไทยช่วง 2H65 พบว่า COF กลุ่มฯ งวด 2Q66 อยู่ที่ ประมาณ 3.3% VS 3.0% งวด 2Q65 ตรงข้ามกับฝั่งดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อคงที่ (กรณี มีการปรับดอกเบี้ยขึ้นจะส่งผลเฉพาะสัญญาฉบับใหม่) ด้านคุณภาพสินทรัพย์กลุ่มฯ มองว่ายังอยู่ในวัฎจักรขาขึ้นของ NPL อย่างไรก็ดีราคาหุ้นกลุ่มจำนำทะเบียน ตั้งแต่ Bond yield ไทยปรับตัวขึ้นช่วง ก.ย. 66 ส่งผลให้ราคาหุ้นในกลุ่มฯ มีการปรับฐาน พอสมควร และ YTD ให้ผลตอบแทนติดลบทุกตัว น่าจะสะท้อนปัจจัยข้างต้นบางส่วน แล้ว ให้คำแนะนำ Outperform ต่อ TIDLOR(FV ปี 2566 @B26) เพราะราคาหุ้น YTD ลดลง 20.3% มากกว่า MTC และ SAWAD ลบ 3.3% และ 10.8% YTD ตามลำดับ ประกอบกับคุณภาพสินทรัพย์ของ TIDLOR ในเชิง Coverage ratio สูงสุดในกลุ่มฯ ที่ 266% ขณะที่ MTC (Neutral) ราคาหุ้นที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ราคาเทียบ FV ปี 2567 ที่ 40 บาท (FV ปี 2565 @B35) มี Upside เปิดกว้างขึ้น
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities