🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

Valuation ถูก แต่ยังไม่มีข่าวหนุน 

เผยแพร่ 28/06/2566 10:14
SETI
-

ภายใต้สมมุติฐานที่อนุรักษ์นิยมกล่าวคือ Market Earning Yield Gap 4%, Bond Yield 1 ปี 2.25%และ EPS ปี 2566 ที่ 91.80 บาท คำนวนได้SET Index ที่ 1480 จุด ซึ่งเราเห็นว่าที่บริเวณ 1480 จุดลงมาเป็นเวทีสำหรับนักลงทุนระยาว ที่จะทยอยซื้อหุ้นพื้นฐานดีสะสม แต่อย่างไรก็ตามในระยะสั้นยังเป็นไปได้ที่จะเห็น SET Index ปรับฐานลงมาได้อีก ประเมินจากปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานที่มีแรง กดดันหลักมาจาก สถานการณ์การเมืองซึ่งจนถึงปัจจุบันความไม่แน่นอนในการ โหวตเลือกประธานสภาฯ และนายกรัฐมนตรียังมีอยู่สูง ขณะที่ตัวเลขการค้า ระหว่างประเทศของไทย แม้การส่งออกจะลดลงน้อยกว่าที่คาด แต่เราก็ยังอยู่ใน ฐานะที่ขาดดุลการค้า ซึ่งกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่า และมีส่วนทำให้ทิศทางของ Fund Flow ยังไหลออก

แม้ SET Indexจะดูไม่แพงในเชิง Valuationแต่การที่ในระยะสั้นยังถูกปกคลุมด้วย กระแสเชิงลบ ทำให้ยังอาจเห็นการปรับตัวลดลงได้ SET Index มีแนวรับถัดไปที่ 1450 จุด และแนวต้าน 1490 จุด หุ้น Top Pick เลือก ADVANC, BEM และ JMT

ดอกเบี้ยอาจขึ้นต่อ หนุนความเสี่ยงเกิด Recession มากขึ้น

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่พุ่งขึ้น 12.2%MoM (ระดับสูงสุด นับตั้งแต่เดือนก.พ.2565) สู่ระดับ 763,000 ยูนิตในเดือนพ.ค.66 สูงกว่าที่ นักวิเคราะห์คาดที่ระดับ 675,000 ยูนิต และสูงกว่าเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 680,000 ยู นิต ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 109.7 จุด ในเดือน มิ.ย.66 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2565 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดที่ ระดับ 104.0 จุด และสูงกว่าระดับ 102.5 จุดจากเดือนพ.ค.66

ประเด็นดังกล่าวทำให้วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯดีดตัวกลับราว 1.1%-1.6% หลังจากที่ ก่อนหน้านี้กังวลการขึ้นดอกเบี้ยเชิงรุกของ Fed และความไม่สงบในรัสเซีย

ซึ่งหากถามว่าความกังวลการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ยังอยู่หรือไม่ ต้องตอบว่ายังมีอยู่ หลังอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ระดับสูง +4.0%YoY โดย Fedจะยังมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ 5.50% ในการประชุมรอบเดือน ก.ค.66 ด้วยความน่าจะเป็น 77% ขณะที่ อัตราดอกเบี้ยปลายปี 2565 อยู่ในช่วง 5.50%-5.75% (ตามการสำรวจของ Fed Watch Tool) หากดอกเบี้ยยังเร่งขึ้น ก็มีโอกาสเกิดความเสี่ยงการเกิด Recession ใน อนาคตตามไปด้วย ขณะที่ปัญหาเสถียรภาพของสถาบันการเงินในสหรัฐ ก็เป็น ผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยแรง ที่ต้องจับตามอง

สรุป อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูงของสหรัฐ ส่งผลให้ธนาคารกลาง มีแนวโน้ม เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ขณะที่ความเสี่ยงการเกิด Recession เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจกดดันให้ Fund Flow ไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย และ อีกส่วนหนึ่งอาจไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงโซนเอเชียมากขึ้น

สรุป อัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ระดับสูงของสหรัฐ ส่งผลให้ธนาคารกลาง มีแนวโน้ม เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไป ขณะที่ความเสี่ยงการเกิด Recession เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอาจกดดันให้ Fund Flow ไหลออกจากสินทรัพย์เสี่ยงเข้าสู่สินทรัพย์ปลอดภัย และ อีกส่วนหนึ่งอาจไหลเข้าสินทรัพย์เสี่ยงโซนเอเชียมากขึ้น

ดุลการค้าไทยยังน่าเป็นห่วง เสี่ยงเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

วานนี้กระทรวงพาณชย์เผย การส่งออกไทยเดือน พ.ค. มีมูลค่า 2.4 หมื่นล้านเหรียญ ฯ หรือ -4.6%YoY หดตัวน้อยกว่าตลาดคาดที่ -8.0%YoY และปรับตัวดีขึ้นจาก เดือนก่อนที่ -7.6%YoY ส่วนการนำเข้าเดือน มีมูลค่า 2.6 หมื่นล้านเหรียญฯ พ.ค. - 3.4%YoY หดตัวน้อยกว่าตลาดคาดและเดือนก่อนที่ -10.0%YoY และ -7.3%YoY ตามลำดับ

โดยในเดือน พ.ค. การส่งออกไทยส่วนใหญ่หดตัวจากกลุ่มสินค้าแร่และเชื้อเพลิง (- 39.9YoY) รวมถึงสินค้าเกษตรกรรม (-27.0%YoY) ส่วนการนำเข้าไทยสินค้า วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปที่ลดลง -11.9%YoY ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวล เนื่องจากอาจเป็น หนึ่งสัญญาณสะท้อนการชะลอตัวภาคการผลิต จนกระทบต่อภาคส่งออกในระยะ ถัดไปได้เช่นกัน

ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าที่มากกว่าการส่งออกในเดือน พ.ค. ทำให้บ้านเรายังคงขาดดุล ทางการค้าต่อเนื่องราว 1.8 พันล้านเหรียญฯ ซึ่งสูงกว่าเดือนก่อนที่ 1.5 พันล้าน เหรียญฯ โดยภาคการค้าของไทยที่ชะลอตัวลงตามเศรษฐกิจโลก ทำให้ Demand อ่อนแอ กลายเป็นประเด็นความเสี่ยงที่อาจเข้ามากดดันเงินบาทให้อยู่ในโซนอ่อนค่า ขณะที่ล่าสุดเงินบาทเตรียมทดสอบแนวต้าน 35.50 บาท/USD หากผ่านได้ต้องระวัง วิ่งไปที่ 36.00 บาท/USD จนส่งผลกระทบต่อการไหลออกของ Fund Flow ต่างชาติ ต่อเนื่อง

สรุป การส่งออก-นำเข้าของไทยเดือน พ.ค. แม้จะออกมาดีกว่าคาดและเดือนก่อนหน้า แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในโซนหดตัวตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งดุลการค้า ไทยยังคงขาดดุลหนักต่อเนื่อง จนอาจกระทบกับ GDP growth บ้านเราในปีนี้ (สำนัก เศรษฐกิจต่างๆ คาดเฉลี่ย +3.5%YoY) รวมถึงเป็นความเสี่ยงที่อาจเข้ามากดดันเงิน บาทอ่อนค่าต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบต่อการไหลออกของ Fund Flow ต่างชาติ

หาหุ้น Trading บนความเสี่ยงเรื่องการสลับขั้วตั้งรัฐบาล

ประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมือง เป็นส่วนหนึ่งที่กดดันหุ้นไทยปรับฐานลงมาแล้ว ติดต่อกัน 7 วัน กว่า -81 จุด เหลือ -5.12%และช่วงเวลาเดียวกัน ต่างชาติยังขายสุทธิ สะสมหุ้นไทยมาแล้วกว่า 7 พันล้านบาท

ยิ่งใกล้วันเปิดประชุมรัฐสภาในวันที่ 3 ก.ค. และเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 4 ก.ค. 66 เข้ามาทุกที ประเด็นทางการเมืองก็มีความร้อนแรงมากขึ้น ทั้งหลาย อุปสรรคที่จะต้องผ่านด่านในการจัดตั้งรัฐบาล ดังนี้

• ปมพรรคก้าวไกลชูนโยบายหาเสียงแก้ ยกเลิก ม.112 โดยศาลรัฐธรรมนูญ สอบถามไปยังอัยการสูงสุด ว่าพิจารณารับหรือไม่รับรับคำร้อง กรณีมีผู้ ร้องว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 49 หรือไม่ โดยขอให้แจ้งต่อศาลรัฐธรรมนูญ ภายใน 15 วัน หรือ วันที่ 11 ก.ค. 66 • เสียงสนับสนุนจาก ส.ว. อาจไม่เพียงพอต่อการจัดตั้งรัฐบาล โดยวานนี้นาย เสรี สุวรรณภานนท์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน ส.ว. ได้ออกมาเผยต่อสื่อว่า เสียง ส.ว. ส่วนใหญ่ไม่ สนับสนุน Candidate นายกรัฐมนตรีจากพรรคก้าวไกล • คุณสมบัติและความเหมาะสมตามรัฐธรรมนูญของว่าที่นายกฯ ต้องใช้เวลา ในการตรวจสอบ อาทิ คดีการถือหุ้นสื่อ ITV ของคุณพิธา ซึ่งทาง กกต. อยู่ ระหว่างการรวบรวมข้อมูลและจะเรียกให้เข้าไปชี้แจงในเร็ววันนี้ • ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรยังไม่ได้ข้อยุติซึ่งพรรคเพื่อไทยยึดมั่นในสูตร 14 +1 (14 รัฐมนตรี+ 1 ประธานสภาฯ) รวมถึงวันนี้ทางพรรคก้าวไกล - เพื่อ ไทย ยกเลิกการหารือประเด็นสภาฯในวันนี้

ภาพสถานการณ์การเมืองไทยที่ดูไม่ค่อยราบรื่น เป็นปัจจัยที่เข้ามากดดันตลาดหุ้น ไทยในช่วงนี้ โดยฝ่ายวิจัยฯ คาดว่า SET Index อยู่ในช่วงค้าหาฐานภายใต้แนวต้าน 1490-1500 จุด โดยแนวรับถัดไป 1450 จุด แต่ในอีกมุมหนึ่งเริ่มเห็นกระแสหรือโอกาส การเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองที่หนาหูมากขึ้น

ดังนั้นน่าจะเห็นการกลับมา Trading หุ้นที่ลงมาลึกตั้งแต่ช่วงหลังเลือกตั้งถึงปัจจุบัน (15 พ.ค. –27 มิ.ย. 66)จากความกังวลการเปลี่ยนผ่านหรืออาจได้รับผลกระทบจาก นโยบายหาเสียงของก้าวไกล โดยฝ่ายวิจัยฯ คัดกรองและแบ่งหุ้นออกมาเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. หุ้นต้นทุนค่าแรง รายได้อิงโครงการภาครัฐ STEC, CK, BEM

2. หุ้นหวังพึ่งกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม SAWAD, CBG, JMT, TIDLOR

3. หุ้นทุนผูกขาด TRUE, CRC, CPAXT, CPN, CPALL (BK:CPALL)

4. หุ้นได้รับผลกระทบปรับสูตรค่าไฟฟ้า GULF, BGRIM, GPSC, PTTGC

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย