ข้างนอกก็แรง ข้างในก็ร้อนแม้สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจะสามารถหลีกเลี่ยงความรุนแรงในรัสเซีย จากการที่ กลุ่มนักรบรับจ้าง แวกเนอร์ เคลี่อนกำลังเข้ามาในรัสเซียเพื่อกดดันให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงใน กลาโหม รัสเซีย แต่จากเค้าโครงของปัญหาที่ยังคงมีอยู่ อาจทำให้ สถานการณ์ต่างๆ พลิกผันได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจเป็นแรงกระตุ้นให้ราคาสินค้า โภคภัณฑ์ และเงินเฟ้อโลกปรับตัวขึ้นมาได้ ถือเป็นแรงกดดันต่อตลาดหุ้น ส่วนใน บ้านเรามีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา 3 ก.ค.66 ซึ่ง ประเมินว่าน่าจะเห็น การโหวตเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร์ในวันอังคารที่ 4 ก.ค. และหลังจากนั้นซึ่ง เชื่อว่าน่าจะเป็นสัปดาห์เดียวกัน ก็น่าจะเริ่มการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งเรา มองว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของตลาดหุ้น อย่างไรก็ตามจากการติดตาม พัฒนาการของข่าวพบว่ายังมีความไม่แน่นอนระดับสูง
ในเชิงกลยุทธ์ เมื่อกำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนที่สำคัญ ควรมีระดับเงินสดสำรองใน พอร์ตระดับหนึ่ง วันนี้คาด SET Index มีแนวรับช่วง 1480-1490 จุด แนวต้านที่ 1520 จุด หุ้น Top Pick เลือก JMT, PLANB และ PTTEP
สถานการณ์ในรัสเซียไม่นิ่ง หนุนราคา Commodities พุ่งสูง
ในช่วงวันศุกร์ที่ผ่านมา “กลุ่มวากเนอร์” ซึ่งเป็นกลุ่มทหารรับจ้างที่สู้รบกับยูเครน ให้กับรัสเซีย โดยมีกำลังพลราว 25,000 นาย ได้ท้าทายอำนาจ ปธน. ปูตินครั้งสำคัญ เนื่องจากความไม่พอใจต่อ รมว.กระทรวงกลาโหม รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่บริหาร จัดการสู้รบอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
โดยกลุ่มวากเนอร์ได้เริ่มเดินหน้าบุกเข้ายึดฐานทัพทางการทหารของรัสเซียในเมือง “รอสตอฟ” อยู่ทางตอนใต้ของรัสเซีย และมุ่งหน้าไปยังเมือง “โวโรเนส” เตรียมจะเข้ายึด “กรุงมอสโก” ซึ่งเป็นเมื่อหลวงรัสเซีย ขณะที่ในเวลาต่อมาได้มีการเจรจาระหว่าง หัวหน้ากลุ่มวากเนอร์ (นายเยฟเกนี ปริโกซิน) - ปธน.เบลารุส (นายอเล็กซานเดอร์ ลู กาเชนโก) จนกลุ่มวากเนอร์ยอมถอยและยุติปฏิบัติการยึดอำนาจรัสเซีย โดยแลกกับ การยกเลิกข้อกล่าวหากองทหารแวกเนอร์เป็นกบฏ และปริโกซินไปลี้ภัยที่เบลารุส
อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์การเจรจาดังกล่าวจะสิ้นสุดภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ความเสี่ยงของสถานการณ์ภายในประเทศรัสเซียยังต้องถือว่ายังไม่ยุติ และหากมี การประทุความรุนแรงขึ้นมา อาจเป็นปัจจัยที่เข้ามาผลักให้ราคา Commodities เพิ่มขึ้นอีกครั้ง จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากรัสเซียประเทศที่ส่งออกข้าวสาลี อันดับ 1 ของโลก และยังมีกำลังการผลิตน้ำมันอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
และเมื่อย้อนไปดูข้อมูลในอดีตจะเห็นได้ว่า นับตั้งแต่ปลายปี 2022 ไปจนถึงช่วงที่รัสเซีย ปะทะยูเครน ราคาน้ำมัน +76% ภายในระยะเวลาเพียงแต่ 6 เดือน ซึ่งผลกระทบ ดังกล่าวมักจะมาพร้อมกับปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูง จากต้นทุนที่สูงขึ้น (Cost-Push Inflation) และอาจทำให้ความกังวลเรื่องทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นกลับมาอีกครั้ง ขณะเดัยวกันการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้น 9 เดือนแรกในปี 2022 ของประเทศที่อยู่ใกล้ รัสเซียค่อนข้างผันผวน ซึ่งสวนทางกับประเทศที่อยู่ห่างไกลออกมา
สรุป ความไม่แน่นอนการเมืองภายในประเทศรัสเซีย แม้จะสิ้นสุดลงภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง แต่ความเสี่ยงดังกล่าวไม่ได้มีการยืนยันวันจะจบลง และหากมีความยืดเยื้อ อาจเป็นปัจจัยที่เข้ามาผลักให้ราคา Commodities เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมักตามมาดัวย ปัญหาเงินเฟ้อพุ่งสูง ทำให้ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นกลับมาสร้างความกังวลให้กับตลาด การเงินได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตามเชื่อว่าตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า ประเทศใกล้เคียงรัสเซีย
ปัจจัยในประเทศ ยังกดดันค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อ
วันที่ 24 มิ.ย. 66 มีราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา เรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ.2566 ตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค.66 เป็นต้นไป ซึ่งจากแหล่งข่างอ้างอิง ถามไปยังทุกพรรค การเมืองที่เกี่ยวข้อง ให้คำตอบในทิศทางเดียวกันว่าสามารถ เปิดสมัยประชุมสภาฯได้ ตั้งแต่ 4 ก.ค.66 และเลือกประธานสภา ซึ่งหากเรียงตาม Timeline วาระต่อมา คือ การ โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี(ไม่เกินสัปดาห์ที่ 2 เดือน ก.ค.66) ซึ่งประกอบด้วย ส.ส. 500 คน และ ส.ว. 250 คน รวม 750 คน หมายความว่า ต้องได้คะแนนเสียงสนับสนุน 376 คนขึ้นไป ซึ่งเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลที่มีการลงมติข้อตกลง MOU ร่วมกันมี เพียง 312 เสียงซึ่งขาดอีก 64 เสียงถึงจะมีคะแนนเสียงสนับสนุนเลือกนายกรัฐมนตรี ได้ซึ่งต้องพึ่งพาเสียงจาก สว.บางส่วน (64/250 คน) ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นความ เสี่ยงที่ คาดทำให้ Fund Flow ต่างชาติหยุดชะงัก ค่าเงินบาทอ่อนค่า และส่งผลให้ SET Index ผันผวน
ขณะที่ภาคส่งออกไทยมีโอกาสฟื้นตัวในช่วง 2H66 หลังล่าสุด ยอดส่งออกรถยนต์ เดือน พ.ค. อยู่ที่ 8.64 หมื่นคัน หรือ +12.25%YoY ซึ่งจากข้อมูลในอดีต จะเห็นได้ว่า ยอดส่งออกรถยนต์มักเป็น Leading Indicator ต่อภาพรวมการส่งออกไทยในอีก 1 เดือนถัดไป ขณะที่สถิติในอดีตยังบ่งชี้อีกว่า ช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. ตัวเลขส่งออกมัก ขยายตัวได้ดีเสมอ
ด้วย 2 ประเด็นข้างต้น ทำให้ค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ ระดับ 35.13 บาท/เหรียญฯ และเป็นปัจจัยที่ทำให้ Flow ต่างชาติไหลออกจากประเทศ ไทย กลยุทธ์เน้นหุ้นได้ประโยชน์จากบาทค่าเงินบาทอ่อนค่า ทั้งกลุ่มส่งออก(DELTA HANA KCE TU CPF GFPT NER), กลุ่มท่องเที่ยว(AOT (BK:AOT) AAV BA MINT CENTEL ERW SHR)
สรุป ยอดส่งออกรถยนต์ที่ขยายตัวได้ดีตั้งแต่เดือน เม.ย. บวกกับสถิติในอดีตช่วง เดือน พ.ค.-มิ.ย. ที่ตัวเลขส่งออกมักขยายตัวเสมอ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณชี้นำต่อ ภาพรวมการส่งออกไทยจะไม่หดตัวแรงในเดือน พ.ค.66 บวกกับประเด็นการเมืองที่ ยังมีความไม่แน่นอนของการจัดตั้งรัฐบาลว่าจะสำเร็จหรือไม่ คาดทำให้ค่าเงินบาท อ่อนค่าต่อเนื่อง ชอบหุ้นได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่า HANA KCE CPF AOT MINT CENTEL
หาหุ้นรับมือ ปัจจัยภายนอกและในประเทศผันผวน
ปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในประเทศ อาจกดดันให้SET Index ผันผวน พร้อม กับสภาพคล่องหุ้นไทยแผ่วเบาในช่วงนี้ เริ่มจากประเด็นความรุนแรงภายในประเทศ รัสเซีย หากยืดเยื้ออาจกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และยังส่งผลให้ราคาน้ำมันขยับตัว สูงขึ้นด้วย ส่วนประเด็นในประเทศยังอยู่ในช่วงรอความชัดเจนทางการเมืองมาระยะ หนึ่ง ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่ามาต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงหลังการเลือกตั้งมาถึงปัจจุบัน แล้วกว่า 3.4% และการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้น จะเริ่มต้น นับจากการ เปิดประชุมสภาวันที่ 3 ก.ค. 66
ดังนั้นภายใต้ความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกและภายในประเทศ กลยุทธ์การ ลงทุนต้องเน้นเลือกหุ้นที่มีปัจจัยเฉพาะตัวสนับสนุน โดยฝ่ายวิจัยฯ แบ่งออกเป็น 2 ธีม คือ
1. หุ้นที่ได้รับผลกระทบจำกัด หรือมักปรับตัวขึ้นได้ดีในช่วงที่มีความรุนแรงใน ประเทศรัสเซีย แนะนำ หุ้นน้ำมัน PTTEP, หุ้นผันผวนต่ำ AOT ADVANC , หุ้นอิงกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ BEM, MAJOR, PLANB
2. หุ้นได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อน ในช่วงที่การเมืองยังไม่นิ่ง แนะนำ หุ้น ส่งออก KCE, HANA, TU หุ้นท่องเที่ยว ERW, CENTEL
ภาพรวม SET Index ยังอยู่ในภาวะผันผวน โดยวันนี้คาดว่าเคลื่อนไหวในกรอบ 1490 –1520 จุด
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities