รับส่วนลด 40%
ใหม่! 💥 รับ ProPicks เพื่อดูกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทน ชนะดัชนี S&P 500 มากกว่า 1,183% รับส่วนลด 40%

เงินเฟ้อเดือนพ.ค.ชะลอสู่ระดับ 0.53% ตามการปรับตัวลงของราคาพลังงานปีก่อน

เผยแพร่ 06/06/2566 16:36
อัพเดท 09/07/2566 17:32

เงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 0.53%

ตามการปรับตัวลงของราคาพลังงาน ค่าไฟฟ้าและฐานราคาที่สูงปีก่อน

  • Headline Inflation May 2023

Actual: 0.53%       Previous: 2.67% 

KTBGM: 1.20%     Consensus: 1.55%

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคมชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 0.53% จากการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าพลังงานและค่าไฟฟ้าตามมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ รวมถึงฐานราคาที่สูงในปีก่อนหน้า
  • สำหรับเดือนมิถุนายน กระทรวงพาณิชย์มองว่า อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงหรือหดตัวตามฐานราคาที่สูงในปีก่อน ส่วนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็อยู่ในระดับต่ำจากปีก่อนหน้ามาก อีกทั้งยังมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ ค่าไฟฟ้าจากภาครัฐ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ค่าแก๊สหุงต้มที่ยังสูง การส่งผ่านต้นทุนและปัญหาภัยแล้งก็อาจส่งผลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อได้ ทั้งนี้ ตลอดทั้งปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1.7%-2.7%
  • แม้อัตราเงินเฟ้อชะลอลงมากกว่าที่เราคาด ทว่า เราเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลับไม่ได้ชะลอลงมากนัก และมีโอกาสที่หากเศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นหรือมีการใช้นโยบายของรัฐบาลใหม่ เช่น การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ผู้ประกอบการอาจส่งผ่านต้นทุน หนุนให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นได้ ทำให้เรายังมองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีโอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 2.25% 
  • อย่างไรก็ดี เราพร้อมจะปรับมุมมองดังกล่าวใหม่ หากธปท. แสดงความกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อน้อยลงในงานสัมมนา Monetary Policy Forum ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 มิถุนายน นี้ ทั้งนี้ เรามองว่า ในระยะสั้น บอนด์ยีลด์ไทยมีโอกาสลดลง ตามการปรับลดโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. ซึ่งอาจเป็นจังหวะในการรอ Sell on Rally และเราคงแนะนำให้รอจังหวะยีลด์ปรับตัวขึ้นในการเข้าซื้อบอนด์

กระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ระดับ        0.53% ลดลงจากระดับ 2.67% ในเมษายน

  • กระทรวงพาณิชย์รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนล่าสุด ลดลงกว่า -0.71% จากเดือนก่อนหน้า (เรามองเพียง   -0.05%) กดดันโดยการปรับตัวลงของราคาพลังงานและค่าไฟฟ้า ในขณะที่ราคาในหมวดอาหารและครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อได้ แต่ยังคงมีการปรับตัวลดลงต่อเนื่องในส่วนราคาเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ 
  • เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงต่อเนื่องสู่ระดับ 0.53% จาก 2.67% ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยหนุนยังคงเป็นราคาหมวดอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ตามความต้องการบริโภคและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงความแปรปรวนของสภาพอากาศที่กระทบต่อผลผลิตในภาคเกษตร อย่างไรก็ดี ปัจจัยกดดันอัตราเงินเฟ้อ มาจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ และระดับฐานราคาสินค้าและบริการที่สูงในปีก่อนหน้า และเมื่อหักราคาอาหารสดรวมถึงพลังงานออก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ชะลอลงต่อสู่ระดับ 1.55%
  • กระทรวงพาณิชย์ คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายนอาจชะลอลงหรือหดตัวจากฐานราคาที่สูงในปีก่อน กอปรกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงก็อยู่ในระดับต่ำจากปีก่อนหน้า และยังมีมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้า ค่าครองชีพจากภาครัฐ ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังคงประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปี ที่ระดับ 1.7%-2.7% (ค่ากลาง 2.2%)

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไม่ได้ชะลอลงมาก ทำให้เรายังคงมองว่า กนง. มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยต่อสู่ ระดับ 2.25% แต่พร้อมปรับมุมมองใหม่ หลังงานสัมมนา Monetary Policy Forum

  • เรามองว่า การชะลอตัวลงของอัตราเงินเฟ้อนั้นเป็นไปตามที่เราคาด (และทาง ธปท. ก็น่าจะคาดการณ์ไว้อยู่แล้ว) เนื่องจากฐานราคาในปีก่อนหน้าอยู่ในระดับสูง อีกทั้งราคาพลังงานและค่าไฟฟ้าก็ปรับตัวลดลงพอสมควร อย่างไรก็ดี เราเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานกลับไม่ได้ชะลอลงมากนัก ทำให้มีความเสี่ยงที่ หากบรรดาผู้ประกอบการมีการส่งผ่านต้นทุนมากขึ้น ตามภาระต้นทุนที่สูงและแนวโน้มการบริโภคในประเทศที่คึกคักมากขึ้น ก็อาจกลับมาหนุนให้อัตราเงินเฟ้อทยอยปรับตัวสูงขึ้นได้ นอกจากนี้ เรามองว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลใหม่ ก็อาจมีผลต่อการประเมินแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ เพราะหากมีการผลักดันค่าแรงขั้นต่ำได้สำเร็จ ก็อาจเห็นการทยอยส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการมากขึ้น ทำให้เรามองว่า “ยังมีโอกาส” ที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้ง +0.25% สู่ระดับ 2.25% ในการประชุมเดือนสิงหาคม ซึ่งเรามองว่าจะตอบโจทย์ของ กนง. ทั้งในแง่การเพิ่มขีดความสามารถนโยบายการเงิน (Policy Space) รวมถึงทำให้ กนง. มั่นใจว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริง (Real Policy Rate) จะเป็นบวก เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับสู่ระดับศักยภาพ 
  • อย่างไรก็ดี เรายอมรับว่า มุมมองดังกล่าวของเรา (ซึ่งเป็นส่วนน้อยของตลาด) อาจผิดไปจากความเป็นจริงได้ หาก ธปท. ลดความกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อหรือประเมินใหม่ว่า อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเป็นบวกได้ หลังอัตราเงินเฟ้ออาจชะลอมากกว่าที่เคยประเมินไว้ ทั้งนี้ เราจะรอจับตาสัญญาณดังกล่าว ผ่านมุมมองของธปท. ในงานสัมมนา Monetary Policy Forum ในวันที่ 14 มิถุนายน โดยหาก ทาง ธปท. คลายความกังวลต่อทิศทางอัตราเงินเฟ้อและมั่นใจว่าระดับดอกเบี้ยนโนยายปัจจุบันสามารถคุมปัญหาเงินเฟ้อได้ เราก็พร้อมปรับมุมมองใหม่ว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุด (Terminal Rate) จะอยู่ที่ 2.00% จากที่มองว่ามีโอกาสที่จะขึ้นไปถึง 2.25% 
  • ในช่วงก่อนรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่มองว่า ธปท. มีโอกาส 50%-60% ที่จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อสู่ระดับ 2.25% ทำให้เรามองว่า อัตราเงินเฟ้อล่าสุดที่ชะลอลงมากกว่าคาด จะทำให้ผู้เล่นในตลาดปรับลดมุมมองดังกล่าวลง ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ไทยมีโอกาสย่อตัวลงได้บ้าง อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า การปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์ระยะสั้นอาจเป็นไปอย่างจำกัด (จนกว่าตลาดจะเริ่มมองว่ามีโอกาส “ลด” ดอกเบี้ย) ขณะที่ บอนด์ยีลด์ระยะกลางและระยะยาวมีโอกาสย่อตัวลงได้มากกว่า โดยเฉพาะในช่วงที่บอนด์ยีลด์ทั่วโลก อย่าง ในฝั่งสหรัฐฯ มีการปรับตัวลดลง ทว่า เราคงมุมมองว่า การปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์ดังกล่าว ควรเป็นจังหวะในการทยอยขายทำกำไรหรือ Sell on Rally และอาจไม่ใช่จังหวะ Follow Buy หรือไล่ราคาซื้อ (เน้นกลยุทธ์ ซื้อ-ขายในกรอบ) เพราะหาก ธปท. ยังคงกังวลต่อแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ และยังเชื่อมั่นในการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดกลับมามองว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับตัวขึ้นต่อได้ ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ไทยมีโอกาสรีบาวด์ขึ้น ซึ่งเรามองว่า หากบอนด์ยีลด์ อย่าง บอนด์ยีลด์ระยะกลาง-ยาว ปรับตัวสูงขึ้น ก็อาจเป็นจังหวะในการทยอยเข้าซื้อ เช่น บอนด์ยีลด์ 5 ปี ที่ระดับ 2.25% ขึ้นไป ก็ถือว่า เป็นระดับที่น่าสนใจ ส่วนบอนด์ยีลด์ 10 ปี ที่ระดับ 2.50% ขึ้นไป ยังคงเป็นระดับที่ผู้เล่นสามารถถือยาวได้ เพื่อรอการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์ระยะยาว ในช่วงครึ่งหลังของปี หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงหนักและเข้าสู่ภาวะถดถอย

ความคิดเห็นล่าสุด

การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย