ดอกเบี้ยยังไม่จบขาขึ้น กดดันตลาดหุ้นต่อ 

เผยแพร่ 01/06/2566 09:33
อัพเดท 09/07/2566 17:32
SETI
-

การประชุม กนง.วานนี้มีมติเอกฉันธ์ ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ 2% ส่วนทิศทางจากนี้ไปยังมีโอกาสปรับตัวขึ้นไปได้อีก เนื่องจากเห็นว่าอัตราเงิน เฟ้อยังมีแรงกระตุ้นให้มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นผลจากการผลักต้นทุนส่วนเพิ่มจาก ผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคที่ยังไม่หมด และการเดินหน้าตามนโยบายที่พรรคการเมืองได้หา เสียงไว้ ทิศทางดอกเบี้ยที่มีโอกาสปรับขึ้นได้อีกจะส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้น โดยจะ ทำให้Market Earning Yield Gap ซึ่งก็คือผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยง สำหรับ การลงทุนในตลาดหุ้นไทยปรับลดลง ทำให้SET Index ต้องซื้อขายบนค่า PER ที่ ต่ำลง และในอีกทางหนึ่งมีผลทำให้ Fund Flow ไหลเข้าตลาดหุ้นน้อยลง ส่วนเรื่อง Debt Celling สหรัฐ วานนี้ได้ผ่านการลงมติในสภาล่างแล้ว ถัดไปจะนำเข้าสู่สภา สูง และน่าจะเสร็จสิ้นก่อนเส้นตายที่ รมว.คลัง ได้แจ้งไว้

SET Index ยังอยู่ภายใต้แรงกดดัน โดยล่าสุดเป็นเรื่องของทิศทางอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ความกังวลจากปัจจับการเมืองในประเทศก็ยังไม่จบ คาด SET Index อยู่ใน กรอบ 1520 – 1545 จุด หุ้น Top Pick เลือก CRC, GULF และ KTB

ประเด็น DEBT CEILING ใกล้เส้นตายสัปดาห์หน้า ขณะที่ FED ยังมี มุมมองดอกเบี้ยเชิงรุก กดดันสินทรัพย์เสี่ยงช่วงสั้น

แม้ความคืบหน้าประเด็น Debt Ceiling ค่อยๆ คลี่คลายลง หลังสภาล่าง ผ่านโหวตมติ กฎหมายดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วย 314-117 เสียง แต่มติดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยัง สภาบน (สภา ส.ว.) ตาม Timeline คาด สว. จะเจรจากันให้จบภายในศุกร์นี้เพื่อทำการ โหวตในวันที่ 5 มิ.ย.66 (หลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ครั้งประวัติศาสตร์) และหากวุฒิสภา ให้ความเห็นชอบ ก็จะส่งต่อให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ ลงนามเป็นกฎหมาย เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป ซึ่งจากแหล่งข่าวใน Bloomberg คาดสหรัฐฯ จะขยายเพดาน หนี้ 1 Trillion USD สู่ 32.28 Trillion USD

ขณะที่วานนี้ตัวเลขเปิดรับสมัครงาน (Job Opening) ออกมาสูงกว่าคาด อยู่ที่ระดับ 10.1 ล้านตำแหน่ง (สูงสุดในรอบ 3 เดือน) เช่นเดียวกับ อัตราส่วนการเปิดรับสมัครงาน ต่อจำนวนแรงงานอยู่ที่ 1.79 ซึ่งยังอยู่ในระดับสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 (บริษัท เปิดรับสมัครงาน 1.79 ตำแหน่งงานต่อจำนวนแรงงาน 1 คน) สะท้อนว่าโอกาสที่ค่าจ้าง แรงงานราย ช.ม. (Wage Hour) จะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนดอกเบี้ย และเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับสูงยาวนานขึ้น ประเด็นดังกล่าว ทำให้นักลงทุนยังคงกังวลการ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุมรอบเดือน มิ.ย.66 โดยการสำรวจของ Fed Watch Tool เผยว่ามีโอกาสสูงถึง 72% ที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยไปสู่ 5.50% ซึ่งในช่วงต้น เดือน ตลาดคาดว่า Fed จะยุติการขึ้นดอกเบี้ยแล้วในรอบประชุมดังกล่าว

สรุป ความกังวลการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed เริ่มร้อนแรงต่อเนื่อง หลังตัวเลขทาง เศรษฐกิจอย่าง Job Opening ออกมาดีกว่าคาด ขณะที่ประเด็น Debt Ceiling แม้ ผ่านการโหวตจากสภาล่าง (สส.) แต่ขั้นตอนต่อไปต้องนำเรื่องสู่สภาบน (สว.) เพื่อ ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าว ขณะที่การจ่ายหนี้ก่อนแรก จะเริ่มขึ้นวันจันทร์หน้า ด้วย ประเด็นทั้งหมด สร้างความกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นช่วงสั้นรวมถึงไทย ที่วันนี้คาดกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index 1520-1545 จุด

กนง. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 2.0%

วานนี้ กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 2.0% เพื่อให้สอด คลองกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้

• เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีโดยยังคงคาดการณ์ GDP ปี 66 – 67 ไว้ ที่ +3.6%YoY และ +3.8%YoY ตามลำดับ หลักๆ มาจากภาคการท่องเที่ยว โดยได้ปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวจาก 28 ล้านคน เป็น 29 ล้านคน ซึ่ง จะเป็นแรงส่งต่อเนื่องไปยังการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 4.4% (เดิม 4.0%)

• การส่งออกค่อยๆ ทยอยฟื้นตัว โดยเฉพาะในช่วง 2H66

การระดมทุนภาคเอกชนไม่ได้เป็นอุปสรรค แม้ภาวะการเงินจะตึงตัวมากขึ้น

• อัตราเงินเฟ้อระยะถัดไปมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงสูงจาก Demand ที่ ขยายตัวตามเศรษฐกิจ การส่งผ่านต้นทุนที่ยังไม่หมด บวกกับนโยบายกระตุ้น เศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่ อีกทั้ง เงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวในระดับสูง และ อาจใช้เวลานานในการปรับตัวลดลง รวมถึงมีความเสี่ยงสูงจาก Demand

ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินของบ้านเราในระยะถัดไป กนง. เผยว่าจะไม่อิงตาม ธนาคารกลางต่างประเทศ แต่จะขอพิจารณาจากข้อมูลที่เข้ามาหลังจากนี้ บวกกับ ภาพรวมของเศรษฐกิจในช่วงนั้นๆ ทั้งนี้ กนง. ไม่ได้ส่งสัญญาณที่แน่ชัดในการปิดประตู ขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งหากดอกเบี้ยยังขยับขึ้นต่อเนื่อง จะสร้างแรงกดดันต่อ SET Index เนื่องจากทำให้ Market Earning Yield Gap แคบลง ลดแรงดึงดูด Fund Flow ไหลเข้า สินทรัพย์เสี่ยง แต่ยังมีหุ้นได้ Sentiment เชิงบวกจากแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง อย่าง CRC CPALL (BK:CPALL) COM7 AOT (BK:AOT) CENTEL MAJOR KTB KBANK (BK:KBANK)

ขณะเดียวกันสภาวะทางการเงินของไทยยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากดุลบัญชี สะพัดเดือน เม.ย. พลิกกลับมาขาดดุล 476 ล้านเหรียญฯจากดุลการค้า -556 ล้านเหรียญ ฯ หลังภาคการค้าระหว่างประเทศชะลอตัวตามเศรษฐโลก ขณะที่ดุลบริการเกินดุลเพียง เล็กน้อย +80 ล้านเหรียญฯ ปัจจัยดังกล่าวอาจทำให้ค่าเงินบาทยังไม่กลับมาแข็งค่า

สรุป กนง. มีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 2.0% สอดคล้องเศรษฐกิจไทยที่มี แนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การดำเนินนโยบายการเงินระยะถัดไปจะพิจารณา จากข้อมูลและภาพรวมของเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งหาก มีการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ อาจจะสร้างแรงกดดันต่อ SET Index ได้

ขณะเดียวกันยังต้องติดตามสภาวะทางการเงินของไทยอย่างใกล้ชิด หลังดุลบัญชี เดินสะพัดเดือน เม.ย. พลิกขาดดุล ซึ่งอาจกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้

วิเคราะห์หุ้นที่ต่างชาติซื้อขายหุ้นไทยในเดือน พ.ค.66

เดือน พ.ค.66 SET Index +0.29% ปิดที่ระดับ 1533.54 จุด ซึ่งตลอดเดือนที่ผ่านมามี ปัจจัยที่ทำให้ตลาดผันผวน ทั้งการเจรจาเพื่อขยายเพดานหนี้สหรัฐฯ และการเลือกตั้งใน ไทย ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นมีความเคลื่อนไหวที่ส่งผลต่อ SET Index ทั้งด้านบวกและลบ หาก พิจารณาหุ้นที่ต่างชาติซื้อ-ขายมากสุดในเดือน พ.ค.66 มีรายละเอียด ดังนี้

• หุ้นที่ถูกขายสุทธิคือ หุ้นขนาดใหญ่ที่ธุรกิจมีอาจเข้าข่ายผูกขาด หรือสัดส่วน รายได้เยอะกว่าคู่แข่งในกลุ่ม อาทิ AOT CPALL MAKRO PTTEP CPN LH CPF เป็นต้น

• หุ้นที่ถูกซื้อสุทธิคือ หุ้นกลาง-ใหญ่ที่มีรายได้ในประเทศเป็นหลัก และ หุ้นกลุ่ม ธพ. หุ้นท่องเที่ยว อาทิ KBANK BBL MINT SCC BH CK WHA เป็นต้น

สรุป Fund Flow ต่างชาติที่ไหลออกจากตลาดหุ้นไทยในเดือน พ.ค.66 ราว 3.3 หมื่น ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากความกังวลในการเปลี่ยนผ่านนโยบายรัฐบาลใหม่ ดังนั้น กลยุทธ์เน้นหุ้นที่ต่างชาติยังซื้อสุทธิต่อเนื่อง อย่าง GULF หุ้นขนาดใหญ่ที่กำไรเติบโต เป็นขั้นบันได CRC และหุ้นขนาดใหญ่ที่ผันผวนต่ำ ปันผลสูง KTB เป็น Toppicks

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย