เช้านี้ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน โดยส่วนใหญ่อยู่ ในช่วงที่รอความชัดเจน เริ่มจากเพดานหนี้สหรัฐฯ ที่แม้จะบรรลุข้อตกลงเบื้องต้น แต่ก็ยังต้องผ่านขั้นตอนทางสภาฯ ส่วนในบ้านเราวันนี้จะมีการประชุมของว่าที่ พรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรค 312 เสียง ซึ่งมีประเด็นที่ต้องรอความชัดเจนหลักๆ เป็น เรื่องต่ำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร์ และตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี ในส่วนของ ตลาดการเงิน ในวันพรุ่งนี้จะมีการประชุม กนง. ซึ่งถูกคาดมหายว่าจะเห็นการปรับ ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ 2% แต่สิ่งที่ต้องลุ้นต่อไปก็คือทิศทางหลังจากนี้ว่าจะมี การปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในการประชุมรอบที่เหลือของปีนี้หรือไม่ ทั้งนี้หากมี สัญญาณของการปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ ก็จะสร้างแรงกดดันต่อ SET Index เนื่องจาก ทำให้Market Earning Yield Gap แคบลง ลดลแรงดึงดูด
Fund Flow ภายใต้ภาวะที่ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐาน และหลาย เรื่องอยู่ระหว่างการรอผล คาด SET Index วันนี้อยู่ในกรอบ 1520 – 1545 จุด หุ้น Top Pick วันนี้เลือก KTB, MAJOR และ SCGP
ติดตามการเปลี่ยนผ่านนโยบายการเงินสหรัฐฯ
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐปิดทำการเนื่องในวัน Memorial Day และยังเป็นวันหยุดของตลาด หุ้นหลายๆ ประเทศ อาทิ อังกฤษ เกาหลีใต้ เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านการ ดำเนินนโยบานการเงินของ Fed ทำให้การซื้อขายหุ้นไม่ค่อยคึกคัก โดยตลาดหุ้นยุโรป ปิดตัวราว -0.2% ถึง +0.7% ส่วนในบ้านเราแม้จะ +0.66% แต่มีมูลค่าการซื้อขายเพียง 37.8 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ภายในสัปดาห์นี้เจ้าหน้าที่ Fed หลายรายจะออกมาให้ความเห็นและมุมมอง เกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินสหรัฐฯ ก่อนที่จะประชุม Fed ในวันที่ 14 มิ.ย. นี้ (ปฏิทินการให้ความเห็นดังตารางด้านล่าง) ทั้งนี้หากมีสัญญาณที่บ่งบอกว่าเงินเฟ้อสหรัฐฯ ยังสูงหรือชะลอตัวได้ช้ากว่าคาด อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไป หรือคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงนานกว่าเดิม
ซึ่งล่าสุดตลาดคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed จะยังคงมีอยู่ โดยการสำรวจของ Fed Watch Tool เผยว่ามีโอกาสสูงถึง 64% ที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยไปสู่ 5.50% ซึ่งในช่วง ต้นเดือน ตลาดคาดว่า Fed จะยุติการขึ้นดอกเบี้ยแล้วในรอบประชุมดังกล่าว
สรุป การซื้อขายในตลาดหุ้นในช่วงนี้ค่อนข้างเบาบาง เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาล วันหยุดยาว และหลายๆ ประเทศกำลังเข้าสู่ปลายดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่การประชุม Fed ในรอบเดือน มิ.ย. นี้ อาจจะเห็นจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 1 ครั้ง หากเงินเฟ้อยังสูง และอาจหนุนให้ดอกเบี้ยบ้านเราค้างไว้ที่ระดับสูงนานกว่าคาด
SET อยู่ในภาวะรอความชัดเจนในประเทศ 3 ประเด็น
SET Index ผันผวนในกรอบแคบตั้งแต่สัปดาห์ก่อนหน้านี้หลังประเด็นทางการเมืองยังมี ข้อตกลงที่ยังไม่ยังไม่เรียบร้อย ซึ่งนำไปสู่สุญญากาศของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ จนล่าสุด อยู่ระดับ 1540.97 จุด ซึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้ SET Index ขับเคลื่อนได้ในสัปดาห์นี้มีอยู่ 3 ประเด็น ดังนี้
• (+)การนัดหารือระหว่างพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล 8 พรรค วันที่ 30 พ.ค.66เพื่อ มีจุดประสงค์วางแนวทางการทำงานร่วมกันหลังจากนี้ เพื่อให้เป็นรูปธรรม โดย พรรคก้าวไกล จะเสนอให้มีการประชุมร่วมกันเป็นวาระประจำ และเตรียมตั้ง คณะทำงานเปลี่ยนผ่านรัฐบาล หรือ Transition Team ภายหลังจากการลงนาม MOU แล้วเสร็จในสัปดาห์ก่อนหน้า รวมถึงพร้อมคุยกับพรรคเพื่อไทยหาข้อยุติ ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร์ รวมถึงตำแหน่งใน ครม.
• (+)ตัวเลขนำเข้า-ส่งออกประจำเดือน เม.ย.66 ณ วันที่ 30 พ.ค.66 ซึ่งตลาด คาดตัวเลขนำเข้าอยู่ที่ -5.3%YoY (ลดลงจากงวดก่อนหน้า -7.1%YoY) และ ตัวเลขส่งออกอยู่ที่ -2.1%YoY (ลดลงจากงวดก่อนหน้า -4.2%YoY) ซึ่งหาก ผลลัพธ์ออกมาตามตลาดคาด หรือดีกว่าคาด จะทำให้ดุลการค้าดีขึ้น และหนุนให้ ดุลบัญชีเดินสะพัดดีขึ้นตาม ซึ่งล่าสุดดุลการค้าอยู่ที่ 1.48 แสนล้านบาท ส่วนดุล บัญชีเดินสะพัดเกินดุลอยู่ที่ 1.64 แสนล้านบาท
• (-)การประชุม กนง. วันที่ 31 พ.ค.66 ซึ่งมีBloomberg และตลาดก็คาดว่าจะ ขึ้นดอกเบี้ยสู่ระดับ 2.00% เช่นกัน สังเกตได้จากตราสารหนี้ระยะสั้นของไทยที่ ปรับตัวขึ้นแรงในเดือน พ.ค.66 ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าการขึ้นดอกเบี้ยตามกลไก เป็นตัวจำกัด Upside ของตลาดหุ้นไทยให้ซื้อขายบน PE ที่ต่ำลงกดดันตลาดหุ้น ช่วงสั้นๆ
สรุป ปัจจัยขับเคลื่อนตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ มีอยู่ 3 ประเด็น ซึ่งต้องติดตาม ผลลัพธ์ว่าจะออกมาตามตลาดคาดหรือไม่ ซึ่งหากผลลัพธ์ไม่เป็นตามคาด อาจทำให้ SET Index อยู่ในภาวะผันผวนแบบนี้ไปสักระยะ เว้นแต่ประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยที่ หากไม่เป็นไปตามคาด กล่าวคือ คงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75% อาจเห็นแรงซื้อสุทธิ SET Index ได้ในช่วงสั้น โดยวันนี้มองกรอบการเคลื่อนไหวของ SET Index ระดับ 1520- 1545 จุด
ความกังวลดอกเบี้ยขึ้น อาจกดดัน FUND FLOW สะดุดในช่วงนี้
ในวันที่ 31 พ.ค. มีโอกาสสูงที่จะเห็นกนง. ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% มาอยู่ที่ 2% ซึ่งตามกลไก กดดันให้ผลตอบแทนระหว่างสินทรัพย์เสี่ยงกับสินทรัพย์ปลอดภัย หรือ Market Earning Yield Gap (MEYG) แคบลง จึงมีโอกาสเห็นการเคลื่อนย้ายของ Fund Flow จากสินทรัพย์เสี่ยงไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น ซ้ำเติม Fund Flow ต่างชาติในปีนี้ไหล ออกจากตลาดหุ้นไทย -9.2 หมื่นล้านบาท (ytd) และเป็นการไหลออกหนักๆ ในช่วงหลัง เลือกตั้ง -2.3 หมื่นล้านบาท (15 – 29 พ.ค. 66)
ขณะที่ SET Index ปัจจุบันอยู่ที่ 1540 จุด ฝ่ายวิจัยฯ ทำการคำนวณ MEYG (ที่ดอกเบี้ย นโยบาย 1.75%) เท่ากับ 4.21% หากดอกเบี้ยปรับขึ้นเป็น 2.0% MEYG ลดลงเหลือ 3.96% หรือตามกลไกจะกดดันให้ระดับ P/E ตลาดให้มีระดับการซื้อขายลดลงจาก 17.4 เท่า เหลือ 16.7 เท่า
สรุป Fund Flow ยังมีโอกาสชะลอในช่วงนี้ทั้งการเมืองที่ยังไม่นิ่ง บวกกับแรงกดดัน จากกนง. มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยสูง แต่ยังหวังว่า Fund Flow จะกลับมาไหลเข้าใน ระยะถัดไปได้ เนื่องจาก MEYG หุ้นไทยยังสูงกว่าหลายๆประเทศในภูมิภาค
กลยุทธ์ในระยะสั้นเน้นเลือกหุ้นที่ปรับลงมาลึกกว่าปัจจัยพื้นฐานที่ควรเป็น บวกกับ กำไรงวด 2Q66 มีโอกาสฟื้นเด่น อย่าง MAJOR SCGP KTB เป็น Toppick ในวันนี้
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities