วันทำการสุดท้ายก่อนที่เราจะไปเลือกตั้งกัน ยังมองว่าเป็นช่วงเวลาที่ควรสะสมหุ้น เข้าพอร์ต ทั้งนี้ในมุมของสถิติพบว่า ช่วงหลังการเลือกตั้ง 1 สัปดาห์ ไปจนถึง 1 เดือน SET Index มีความน่าจะเป็นที่ปรับขึ้นมากกว่า 3% ทั้งนี้ในเชิงของ องค์ประกอบทางพื้นฐานก็พบว่ามีผลประกอบการ 1Q66 ที่โดดเด่นเป็นแรงหนุน ขณะที่เห็นสัญญาณการไหลเข้าของ Fund Flow ต่างชาติ ผ่านเงินบาทที่แข็งค่า และการเข้าซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นในระดับสูง อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่ต้อง ติดตามก็คือ การแก้ปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ เพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ และ Government Shutdown ซึ่งอาจทำให้ตลาดการเงินผันผวนได้ ในบ้านเรา ต้องรอติดตามผลการเลือกตั้ง ส.ส. ว่าผลสรุปเราจะได้รัฐบาลหน้าตาแบบไหนมา บริหารประเทศ ส่วน Investment Theme เน้น Domestic Consumption เชื่อว่าหลังผ่านการเลือกตั้งไปจนถึงสิ้นเดือน พ.ค.
SET Index น่าจะมีแนวโน้ม ปรับตัวสูงขึ้นได้ต่อ โดยวันนี้คาดว่า SET Index อยู่ในกรอบ 1557-1580 จุด หุ้น Top Pick วันนี้เลือก ADVANC, BEM และ CPN
ดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่า หนุน FUND FLOW เข้าตลาดหุ้นไทย
ค่าเงินดอลลาร์อยู่ในระดับทรงตัวมากขึ้นนับตั้งแต่ต้นเดือน เม.ย. โดย Dollar Index มี การเคลื่อนไหวในกรอบแคบที่ 100.8 – 102.2 จุด หรือ +0.47%mtd ขณะที่ระยะถัดไป มีหลายปัจจัยอาจเข้ามากดดันค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง โดยเริ่มความเสี่ยงต่อการผิดนัด ชำระหนี้ของสหรัฐที่ใกล้จะที่ครบกำหนดวันที่ 1 มิ.ย.นี้ ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด เนื่องจากสมาชิกในพรรคเดโมแครตไม่ต้องการตัดลดงบการใช้จ่ายครั้งใหญ่ ทำให้ CDS ของสหรัฐเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แซงหน้า CDS ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจที่รายงานออกมาล่าสุดยังสะท้อนภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มี ความเสี่ยงต่อการเข้าสู่ภาวะ Recession ดังนี้
• ตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานของสหรัฐพุ่งสูงสุดในรอบ 16 เดือน โดยล่าสุด อยู่ที่ 264,000 ตำแหน่ง ซึ่งสูงกว่าตลาดคาดที่ 245,000 ตำแหน่ง สะท้อน ตลาดแรงงานส่งสัญญาณอ่อนแอ ขณะที่ข้อมูลในอดีตชี้ให้เห็นว่าอัตราการ ว่างงานสหรัฐมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากตัวเลขผู้ขอสวัสดิการว่างงานสะสม เพิ่มขึ้นอีกราว 1Q
• ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเดือนเม.ย. +0.2%YoY ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ +0.4%YoY และอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 26 เดือน สะท้อนฝั่ง Supply สหรัฐฯ ได้ชะลอตัวลง
อีกทั้งBoE ยังมีมติ 7 ต่อ 2 ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.50% ตาม คาด สูงสุดนับแต่ปี 2008 และยังมีแนวโน้มเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอยู่ที่ 4.8% ในปี 2023 (เดิมคาด 4.4%) เนื่องจากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง (เดือน มี.ค. อยู่ที่ 10.1%) ซึ่ง สอดคล้องกับการคาดการณ์ของ Bloomberg
สรุป หลายปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามาในฝั่งสหรัฐฯ น่าจะเป็นแรงกดดันให้ดอลลาห์อ่อนค่า ลง สวนทางกับการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งน่าจะช่วยหนุนให้ Fund Flow ไหลเข้ามา บ้านเราในระยะถัดไปมากขึ้น
ประเทศไทยยังน่าสนใจ คาดเห็น SET OUTPERFORM ระยะถัดไป
สำนักเศรษฐกิจหลายแห่งคาดว่า GDP Growth ปี 2566 ในแถบเอเชียสามารถขยายตัวได้ ราว 3.5%YoY – 6.5%YoY ซึ่งเติบโตได้ดีกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (สหรัฐ +1.2%, ยุโรป +0.5%, อังกฤษ -0.3%, ญี่ปุ่น +1.2%)ขณะที่เมื่อพิจาณาดัชนี GDP ของไทยในช่วง 4Q65 อยู่ที่ระดับ 98.6 จุด(สมมุติฐานว่า 4Q19 ดัชนี GDP คือ 100 จุด) ซึ่งถือว่ายังต่ำ กว่าช่วงก่อนเกิด COVID-19 ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่พัฒนาแล้ว นั้นมี GDP กลับ ขึ้นมายืนเหนือระดับก่อนเกิดโควิดแล้ว (ดัชนี GDP มากกว่า 100 จุด)
โดยสัปดาห์หน้ามีประกาศตัวเลข GDP 1Q66 ตลาดคาด +1.9%QoQ / +2.4%YoY ซึ่ง หลุดออกจากความกังวล Technical Recession (GDP QoQ ติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน) หลัง GDP 4Q66 -1.5%QoQ) รวมถึงหนุนดัชนี GDP ของไทยกลับมาอยู่ที่ 100.5 จุด ฟื้น ตัวขึ้นเหนือระดับก่อนเกิด COVID-19 ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อการฟื้นตัวในอนาคต เนื่องจากยังมีปัจจัยบวกจากภาคการท่องเที่ยว และรู้ผลลัพธ์การเลือกตั้ง ซึ่งทำให้ประเทศ ไทยเดินหน้าอย่างมั่นคง
ประเด็นดังกล่าว รวมถึงการที่เรายังอยู่ในช่วง Election Rally พร้อมกับ Fund Flow ต่างชาติไหลเข้าในตราสารหนี้ระยะสั้นของไทยมากถึง 5.5 หมื่นล้านบาท(ytd) ซึ่งโดยปกติ เวลาต่างชาติซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น ในช่วงถัดไปมีโอกาสซื้อหุ้นไทยมากขึ้นเช่นกัน ใน สัดส่วนราว 40%-70% ของเม็ดเงินที่ซื้อสุทธิตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งหมด
ประเด็นทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมา อาจทำให้ Sell In May ในปีนี้ไม่เกิดขึ้น SET +2.5%mtd Outperform กว่าตลาดหุ้นโลก MSCI ACWI ที่ลดลง -0.6%mtd รวมถึง 9 ปีที่ผ่านมา ช่วง 1 –15 พ.ค. หุ้นปรับตัวลงทุกปีและน่าจะเป็นดังที่ฝ่ายวิจัยฯ เคยนำเสนอ ไปใน Invest+ ฉบับ พ.ค.66
สรุป เริ่มเห็นสัญญาณบวกของประเทศไทย จากสมมุติฐาน GDP ทื่ฟื้นตัวเหนือระดับ ก่อนเกิด COVID-19 (หาก GDP Growth สัปดาห์หน้าเป็นตามตลาดคาด) และรู้ ผลลัพธ์การเลือกตั้ง ซึ่งทำให้นโยบายต่างๆ ถูกนำมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้มากขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ Sell In May ไม่เกิดขึ้นเฉกเช่นในอดีต โดยฝ่ายวิจัยฯคาด SET Index จะสามาถ Outperform ต่อไปจนแตะระดับ 1600 จุด ได้สำเร็จ
3 หุ้นไทยเข้าดัชนี MSCI ปลายเดือนนี้ MAKRO SAPPE SISB
เช้านี้ MSCI มีการประกาศหุ้นเข้าไทยเข้าออกดัชนี 5 บริษัท โดยมีผลราคาปิดวันที่ 31 พ.ค. 66 ดังนี้
ดัชนี MSCI Global Standard หุ้นเข้า 1 บริษัท คือ MAKRO หุ้นออก 2 บริษัท คือ JMT, TU (ลดลงมาอยู่ดัชนี MSCI Global Small Cap) ส่วนดัชนี MSCI Global Small Cap มีหุ้นเข้าใหม่ 3 บริษัท คือ TIDLOR, SAPPE, SISB และไม่มีหุ้นออก
ปกติหุ้นที่ถูกคัดเข้าดัชนี MSCI จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เฉลี่ยราว 7- 9% ก่อนถึงวันบังคับใช้ (รอบนี้คือ ราคาปิด 31 พ.ค. 66) แต่จะเห็นได้ว่า ในเดือนนี้หุ้นที่ถูกคัดเข้าปรับตัวขึ้นมา แรงในระดับหนึ่งแล้ว อย่างเช่น MAKRO +8.6%mtd, TIDLOR +21.5%mtd รวมถึง SAPPE +48.6%ytd, SISB +71.9%ytd รอบนี้จึงอาจจะคาดหวังกำไรได้น้อยลงเมื่อ เทียบกับสถิติในอดีตได้ ส่วนหุ้นที่ถูกปรับลดระดับดัชนี อย่าง JMT และ TU ปีนี้ปรับตัว ลงมาลึกกว่า -40%ytd และ-11%ytd ตามลำดับ คาดราคาหุ้งหลังจากนี้น่าจะผันผวน ระยะสั้นเท่านั้น
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยฯ มีความเห็นว่า การปรับหุ้นเข้าออกจากดัชนี MSCI หลังจากนี้ น่าจะมีผลต่อการปรับขึ้นลงของราคาหุ้นน้อยลง เนื่องจาก MSCI มีการปรับหุ้นเข้า ออกบ่อยขึ้นเป็น 4 รอบต่อปี จากเดิม 2 รอบต่อปีช่วยลดความผันผวนของราคา ในช่วง Rebalance พอร์ตการลงทุนทั่วโลก
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities