🏃 คว้าข้อเสนอ Black Friday ก่อนใคร รับส่วนลดสูงสุด 55% สำหรับ InvestingPro ตอนนี้!รับส่วนลด

ปัจจัยภายนอกกดดัน ก่อนวันหยุดยาว 

เผยแพร่ 03/05/2566 10:11
อัพเดท 09/07/2566 17:32
SETI
-

สัญญาณลบทางเศรษฐกิจสหรัฐปรากฎชัดเจนขึ้นตามลำดับ ล่าสุดเป็นตัวเลขการ เปิดตำแหน่งงานใหม่ที่ลดลง สะท้อนภาพความตึงตัวตลาดแรงงาน ถัดมาเป็นเรื่อง เพดานหนี้ของรัฐบาล ซึ่ง รมว.คลังออกมาเตือนว่าหากไม่ได้รับการแก้ไขอาจ นำไปสู่ภาวะผิดนัดชำระหนี้ใน 1 มิ.ย.66 ผลดังกล่าวทำให้ CDS ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบสถาบันการเงินที่ส่อเค้ามีปัญหาเพิ่มล่าสุดเป็น Pac West ส่วนใน ยุโรปประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเดือน เม.ย.ระดับสูง ส่งสัญญาณว่า ECB จะยังต้อง ปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ในอีกทางหนึ่งก็ปรากฎสัญญาณของสภาพคล่องในระบบ การเงินที่ตึงตัวมากขึ้น ภาวะดังกล่าวสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นในสหรัฐ-ยุโรป ซึ่ง เป็น Sentiment กดดันตลาดหุ้นบ้านเรา ส่วนในบ้านเราเห็นสัญญาณการขาย ออกมาในหุ้นขนาดเล็ก ขณะที่หุ้นใหญ่ยังมีแรงซื้อจากต่างชาติ

คาด SET Index ยังอยู่ในภาวะผันผวนและมูลค่าการซื้อขายเบาบาง โดยหุ้นขนาด เล็กอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงมากกว่า ประเมินกรอบ SET Index ช่วง 1520 – 1545 จุด Top Pick เลือก ADVANC, CPALL (BK:CPALL) และ CPN

สัญญาณเศรษฐกิจ RECESSION มีมากขึ้นเรื่อยๆ

วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปร่วงลงแรงราว -1.1% ถึง -2.1% หลังหลายปัจจัยเสี่ยงเข้า มารุมเร้า เริ่มจากการประกาศตำแหน่งงานใหม่ของสหรัฐฯ (JOLTS) ในเดือน มี.ค. อยู่ที่ ระดับ 9.59 ล้านตำแหน่ง (ต่ำกว่าตลาดคาดที่ 9.77 ล้านตำแหน่ง) ทำระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี และยังปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่ระดับ 9.37 ล้านตำแหน่ง สะท้อนถึง ตลาดแรงงานที่อ่อนตัว รวมถึง Demand ด้านการจ้างงานปรับตัวลดลงต่อเนื่อง

นอกจากนี้กระทรวงการคลังสหรัฐ ยังออกมาเตือนว่าการจัดเก็บภาษีของสหรัฐปรับตัว ลดลงอย่างมากนับตั้งแต่ช่วงปี 2565 และรายได้จากภาษีอาจมีแนวโน้มน้อยลงในระยะ ถัดไปหากเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ท่ามกลางปัญหาหนี้สาธารณะทะลุเพดานที่ กำหนดไว้31.4 ล้านล้านดอลลาร์ตั้งแต่วันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมาแล้ว ทำให้คลังประเมินว่า สหรัฐอาจผิดนัดชำระหนี้ในวันที่ 1 มิ.ย. หากทางสภาครองเกรสไม่ปรับเพิ่มเพดานหนี้ ขณะเดียวกันความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่มีมากขึ้น ทำให้CDS ของสหรัฐทั้งอายุ 1 ปี และ 5 ปียังปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ส่วนในฝั่งยุโรปมีการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อเดือน เม.ย. อยู่ที่ 7.0% (สูงกว่าตลาดคาดที่ 6.9%) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 6.9% และด้วยดอกเบี้ยที่ยืนอยู่ในระดับสูง จึงเชื่อ ว่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้ ECB เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อไปอีกราว 2-3 ครั้ง โดยมีเพดาน อยู่ที่ 4.25% (ดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 3.5%) สวนทางกับ Fed ที่คาดว่าปรับขึ้นดอกเบี้ย อีกเพียงแค่ 1 ครั้งในปีนี้ โดยมีเพดานอยู่ที่5.25% (ดอกเบี้ยปัจจุบัอยู่ที่5.0%) ก่อนปรับ ลงช่วง 2H66 หากเงินเฟ้อปรับตัวลดลงเข้าใกล้กรอบเป้าหมายมากขึ้นเรื่อย

อัตราดอกเบี้ยที่ยืนอยู่ในระดับสูงในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ และยุโรป ทำ ให้มีความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจาก ผลการสำรวจของ Bloomberg พบว่า อังกฤษและสหรัฐฯ มีโอกาสสูงถึง 65% ที่จะเกิด เศรษฐกิจ Recession ในอีก 1 ปีข้างหน้า ขณะที่โซนเอเชียมีโอกาสเพียง 28% - 2% โดยไทยอยู่ที่ 15%

สรุป ผลของดอกเบี้ยฯที่ออยู่ในระดับสูงในสหรัฐและยุโรป ทำให้ความเสี่ยงเศรษฐกิจ ที่จะเข้าสู่ภาวะ Recession ส่งสัญญาณชัดมากขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับฝั่งเอเชียที่ โอกาสสูงถึงเกิดเศรษฐกิจ Recession ในอีก 1 ปีข้างหน้า อยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ

ตัวเลขเศรษฐกิจไทยยังดูดี หนุน FLOW เข้าตลาดหุ้นไทย

อัตราดอกเบี้ยใกล้ถึงปลายทางขาขึ้น โดยช่วงต้นเดือนมีการประชุม 3 แห่ง ดังนี้

3 พ.ค.66 ประชุม Fed คาดขึ้นดอกเบี้ยจาก 5.00% สู่ 5.25%

4 พ.ค.66 ประชุม ECB คาดขึ้นดอกเบี้ยจาก 3.50% สู่ 3.75%

11 พ.ค.66 ประชุม BoE คาดขึ้นดอกเบี้ยจาก 4.25% สู่ 4.50%

ขณะที่ระยะถัดไป ฝ่ายวิจัยฯประเมินว่า Fed จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยในช่วง 3Q66 ตาม การชะลอตัวลงของเงินเฟ้อ ซึ่งสวนทางกับ ECB และ BoE ที่เดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ย ต่อไปราว 2-3 ครั้ง ก่อนที่จะเริ่มปรับลงในช่วง 4Q66 หลังเงินเฟ้อยังยืนอยู่ในระดับสูง และห่างไกลจากกรอบเป้าหมายที่ 2% ทั้งนี้หากพิจารณาจากข้อมูลในอดีตจะเห็นว่า ช่วง ที่ Fed คงอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดย SET Index +19.7% ในช่วงปี 2006-2007 และ +8.8% ในช่วงปี 2018-2019

เหตุผลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า Yield Curve สหรัฐฯ ระยะ 2 เดือน ปรับขึ้นจาก 5.03% สู่ 5.33% (ช่วง 3 สัปดาห์) ขณะที่ Yield Curve สหรัฐฯ ระยะ 2 ปีปรับลงจาก 4.24% สู่ 3.97% (ช่วง 3 สัปดาห์เช่นเดียวกัน) ซึ่งบ่งบอกถึงเม็ดเงินได้ไหลออกจาก Bond ระยะสั้นสู่ Bond ระยะยาวในสหรัฐฯ หรืออีกนัยฯ สามารถตีความได้ว่า เม็ดเงิน เริ่มไหลจากตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นสู่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยดัชนี Nasdaq Outperform มาก +15.4%ytd ซึ่งหลังจากนี้น่าจะเห็นการสลับเข้ามาลงทุนหุ้นโซน เอเชียบ้าง

โดยตั้งแต่ต้นเดือนต่างชาติซื้อหุ้นเกือบทุกประเทศในภูมิภาค ได้แก่ เกาหลีใต้ +375 ล้าน เหรียญฯ ไต้หวัน +146 ล้านเหรียญฯ ฟิลิปปินส์ +1 ล้านเหรียญฯ และไทย +44 ล้าน เหรียญฯ ยกเว้นแค่อินโดนีเซียที่ถูกขายสุทธิ 14 ล้านเหรียญฯ โดยวานนี้ต่างชาติยังซื้อ สุทธิหุ้นไทย 1.5 พันล้านบาท และ SET50 Futures อีก 9,799 สัญญา

สรุป เริ่มเห็นสัญญาณของความหวังว่า Flow ต่างชาติจะไหลเข้าตลาดหุ้นไทย จาก ข้อมูลในอดีตช่วงที่ Fed คงอัตราดอกเบี้ย SET Index ปรับขึ้นได้เสมอ และ Bond Yield ระยะสั้นสหรัฐฯปรับตัวขึ้น หวังเม็ดเงินจากตราสารหนี้สู่ตลาดหุ้น ซึ่ง Valuation หุ้นไทยโดดเด่นกว่าสหรัฐฯ

เลี่ยงหุ้นเล็ก…เน้นหุ้นใหญ่ คาดหวังFUND FLOW เข้าต่อ

ตลาดหุ้นไทยวานนี้ ยังคงเห็นความแตกต่างของผลตอบแทนดัชนีต่างๆ โดยดัชนีหุ้น ขนาดเล็กยังปรับฐานแรง MAI –1.58% แต่ SET ทรงๆ ที่ -0.05% ขณะที่หุ้นใหญ่ SET50 ยังปรับตัวขึ้นได้ดี+0.46%

เช่นเดียวกับผลตอบแทนในปี 2566ytd ที่ผ่านมา ดัชนีSET50 -7.8%ytd Outperform ดัชนี MAI -15.4%ytd มากสอดคล้องกับในมุม Valuation ซึ่งภาพรวมหุ้นขนาดใหญ่ถูก กว่าหุ้นขนาดเล็กมาก โดยปัจจุบัน SET50 มีค่า P/E ที่ 18.8 เท่า, Dividend Yield 3.75% ถูกกว่าดัชนีขนาดเล็ก MAI มีค่า P/E สูงถึง 60.5 เท่า และ Dividend Yield ต่ำ เพียง 1.37%

ภาพรวม Valuation หุ้นขนาดใหญ่ รวมถึงถึงหุ้นปันผล ยังดูน่าสนใจลงทุนมากกว่า หุ้นขนาดเล็ก อีกทั้งสภาพคล่องที่สูงกว่า น่าจะเป็นเป้าหมายของ Fund Flow ที่มี โอกาสไหลเข้าในระยะถัดไป

กลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้เน้นสะสมหุ้นพื้นฐานขนาดใหญ่ มีสภาพคล่องสูง ADVANC CPN CPALL CRC SCGP BEM AOT (BK:AOT) และ IVL ส่วน Top pick วันนี้เลือก CPALL ADVANC CPN

บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities

ความคิดเห็นล่าสุด

กำลังโหลดบทความถัดไป...
การเปิดเผยความเสี่ยง: การซื้อขายตราสารทางการเงินและ/หรือเงินดิจิตอลจะมีความเสี่ยงสูงที่รวมถึงความเสี่ยงต่อการสูญเสียจำนวนเงินลงทุนของคุณบางส่วนหรือทั้งหมดและอาจไม่เหมาะสมกับนักลงทุนทั้งหมด ราคาของเงินดิจิตอลแปรปรวนอย่างมากและอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เช่น เหตุการณ์ทางการเงิน กฎหมายกำกับดูแล หรือ เหตุการณ์ทางการเมือง การซื้อขายด้วยมาร์จินทำให้ความเสี่ยงทางการเงินเพิ่มขึ้น
ก่อนการตัดสินใจซื้อขายตราสารทางการเงินหรือเงินดิจิตอล คุณควรตระหนักดีถึงความเสี่ยงและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในตลาดการเงิน ควรพิจารณาศึกษาอย่างรอบคอบในด้านวัตถุประสงค์การลงทุน ระดับประสบการณ์ และ การยอมรับความเสี่ยงและแสวงหาคำแนะนำทางวิชาชีพหากจำเป็น
Fusion Media อยากเตือนความจำคุณว่าข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้ไม่ใช่แบบเรียลไทม์หรือเที่ยงตรงแม่นยำเสมอไป ข้อมูลและราคาที่แสดงไว้บนเว็บไซต์ไม่ใช่ข้อมูลที่ได้รับจากตลาดหรือตลาดหลักทรัพย์เสมอไปแต่อาจได้รับจากผู้ดูแลสภาพคล่องและดังนั้นราคาจึงอาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำและอาจแตกต่างจากราคาจริงในตลาดซึ่งหมายความว่าราคานี้เป็นเพียงราคาชี้นำและไม่เหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการซื้อขาย Fusion Media และผู้ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้จะไม่รับผิดชอบใด ๆ สำหรับความเสียหายหรือการสูญเสียที่เป็นผลมาจากการซื้อขายของคุณหรือการพึ่งพาของคุณในข้อมูลที่มีในเว็บไซต์นี้
ห้ามใช้ จัดเก็บ ทำซ้ำ แสดงผล ดัดแปลง ส่งผ่าน หรือ แจกจ่ายข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้โดยไม่ได้รับการอนุญาตล่วงหน้าอย่างชัดแจ้งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรจาก Fusion Media และ/หรือจากผู้ให้ข้อมูล ผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและ/หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ให้ข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์นี้
Fusion Media อาจได้รับผลตอบแทนจากผู้โฆษณาที่ปรากฎบนเว็บไซต์โดยอิงจากปฏิสัมพันธ์ของคุณที่มีกับโฆษณาหรือผู้โฆษณา
เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของเอกสารฉบับนี้เป็นเวอร์ชั่นหลักซึ่งจะเป็นเวอร์ชั่นที่เหนือกว่าเมื่อใดก็ตามที่มีข้อขัดแย้งไม่สอดคล้องตรงกันระหว่างเอกสารเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษกับเอกสารเวอร์ชั่นภาษาไทย