แม้ Economic Indicator ของสหรัฐหลายตัวในช่วงที่ผ่านมา จะสะท้อนถึงความ เสี่ยงที่จะเกิด Recession มากขึ้นตามลำดับ แต่หากพิจารณาจากความคาดหมาย ว่า GDP Growth งวด 1Q66 ที่กำลังจะประกาศออกมาอยู่ที่ +2% QoQ ก็เป็นตัว บ่งชี้ว่า เร็วที่สุดที่เศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่นิยามของ Technical Recession ก็ น่าจะเป็นปลายปี 2566 ภาวะดังกล่าวอาจสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายได้ระดับ หนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามประเด็นที่ต้องติดตามยังเป็นผลจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็ว และแรงของ Fed ซึ่งปัจจุบันให้ผลกระทบออกมาผ่านสถาบันการเงินหลายแห่งที่มี ปัญหา ส่วนบ้านเรา วานนี้ประกาศตัวเลขการส่งออกที่หดตัว 4.2% YoY ถีอว่า ดีกว่าที่คาดโดยก่อนหน้านี้ Consensus คาดหดตัวแรงถึง 14% อย่างไรก็ตาม ดุลการค้ายังอยู่ในฐานะเกินดุล ภาวะดังกล่าวน่าจะช่วยหนุนให้SET ประคองตัวได้
ปัจจัยแวดล้อมทางพื้นฐานเช้านี้ ไม่ได้มีปัจจัยลบเพิ่ม ขณะที่เริ่มเห็นแรงซื้อของนัก ลงทุนต่างชาติ ภาวะดังกล่าวคาด SET Index ประคองตัวได้ แนวรับช่วง 1520 – 1530 จุด ส่วนแนวต้าน 1550 จุด Top Pick เลือก ADVANC, AOT (BK:AOT) และ SNNP
ติดตาม GDP สหรัฐฯ ตลาดคาด +2.0%QOQ ความเสี่ยง RECESSION อยู่ในช่วง 2H66
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฯแกว่งผันผวนในกรอบแคบราว -0.75% ถึง +0.50% หลังมีทั้ง ปัจจัยบวกและปัจจัยลบในเวลาเดียวกัน โดยปัจจัยบวกคือการรายงานผลประกอบการ ของบริษัทจดทะเบียนที่ดีกว่าคาด อาทิ Microsoft และ Alphabet ซึ่งโดยรวมจะเห็น ได้ว่าดัชนี S&P500 ประกาศงบงวด 1Q66 มาแล้ว 188 บริษัท ออกมาดีกว่าตลาดคาด 7% ขณะที่ปัจจัยลบ คือ วิกฤต ธ.พ. ที่มีความเสี่ยงอีกครั้ง หลังธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิก แบงก์ (First Republic Bank) หรือ FRB ซึ่งเป็นธนาคารในระดับภูมิภาคของสหรัฐ ปรับตัวลงเป็นวันที่ 2 กว่า 29% หลังธนาคารเปิดเผยว่าลูกค้าได้แห่ถอนเงินฝากมากกว่า คาดใน 1Q66
ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) งวด 1Q66 ของสหรัฐในวันนี้ โดยตลาดคาด +2.0%QoQ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg คาด +2.4%QoQ ซึ่งจะลดลง QoQ จากไตรมาสก่อนหน้าที่ +2.6%QoQ หลักๆ คาดมาจากยอดค้าปลีกที่ลดลงและการลงทุนที่ชะลอตัว หลังภาคครัวเรือนและ ธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ยากขึ้น, มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดขึ้น ดังนั้นความเสี่ยงที่สหรัฐฯจะเกิด Recession ในช่วงสั้นจะผ่อนคลายลง ซึ่งหากจะเกิด Recession จริงๆ คงต้องเกิดในช่วง 2H66
รวมทั้งติดตามดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันศุกร์นี้ ที่ตลาด คาด +4.1%YoY ลดลงจากงวดก่อนหน้า +5.0%YoY ซึ่งดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงิน เฟ้ออที่ Fed ให้ความสำคัญไม่แพ้ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
สรุป ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถูกปกคลุมทั้งปัจจัยบวกและลบ ทำให้ช่วงสั้นอาจผันผวนได้ ซึ่งนักลงทุนจับตา GDP ไตรมาส 1 ของสหรัฐฯ ที่ตลาดคาด +2.0%QoQ ซึ่งต้อง ติดตามว่าจะออกมาเป็นเช่นไร แต่จากประเด็นดังกล่าว คาดทำให้ความกังวล Recession ผ่อนคลายช่วงสั้นได้บ้าง
การค้าระหว่างประเทศของไทยยังหดตัว แต่มีแนวโน้มดีขึ้น
การส่งออกไทยเดือน มี.ค. มีมูลค่า 27,651 ล้านเหรียญฯ สูงสุดในรอบ 12 เดือน ขณะที่ การนำเข้าไทยเดือน มี.ค. มีมูลค่า 27,651 ล้านเหรียญฯ ทำให้ดุลการค้าอยู่ที่ 2.7 พันล้านเหรียญฯ พลิกกลับมาเป็นบวกอีกครั้งในรอบเกือบ 1 ปี
ภาพรวมการส่งออกไทยมีแนวโน้มดีขึ้น หลังตัวเลขส่งออกล่าสุด -4.2%YoY ซึ่งอยู่ใน ระดับต่ำกว่าตลาดคาดที่ 14.0%YoY และหดตัวน้อยกว่าเดือนก่อนที่ -4.74%YoY รวมถึงถือว่าดีกว่าหลายประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น -8%, ไต้หวัน -19.2%, เวียดนาม -11.7% ฯลฯ อีกทั้งเมื่อเทียบเป็นรายเดือนมูลค่าส่งออก +23.6%MoM โดยเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่ม สินค้า
สำหรับรายชื่อสินค้าเดือน มี.ค. ที่ขยายตัวได้ดีทั้ง YoY, MoM และมีความเกี่ยวข้องกับ ธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อาทิน้ำตาลทรายและกากน้ำตาล, ไก่สดแช่แข็ง , รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น
และเมื่อพิจารณาภาคการนำเข้าไทยเดือน มี.ค. แม้จะหดตัวสูงถึง -7.13%YoY แต่หาก หักหมวดสินค้าเชื้อเพลิงออกไป จะหดตัวเพียง 1.48% ซึ่งน่าจะทำให้ Downside ต่อ GDP ของบ้านเราปรับตัวลดลงได้
แต่ทั้งนี้ หากระยะถัดไปการนำเข้าในหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปมีการหดตัวสูง เชื่อว่าเป็นหนึ่งในสัญญาณการชะลอตัวของภาคการผลิตในบ้านเรา และอาจกระทบต่อ ส่งออกไทยได้เช่นกัน ขณะที่กระทรวงการคลังประเมินว่าการส่งออก – นำเข้าไทยในปี 2566 จะหดตัว -0.5%YoY และ -0.2%YoY ตามลำดับ
สรุป ภาคการค้าระหว่างประเทศของไทยยังอยู่ในภาวะหดตัว แต่มีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อ เทียบกับเดือนก่อน ขณะที่การนำเข้าสินค้าที่หดตัวสูง อาจสัญญาณการชะลอตัวของ ภาคการผลิตในบ้านเรา และมีแนวโน้มกระทบต่อภาคการส่งออกได้เช่นกัน
FUND FLOW เริ่มเคลื่อนย้ายมาทางฝั่งเอเซียมากขึ้น
วานนี้ตลาดหุ้นโลกหลายๆ ภูมิภาคปรับตัวลดลง ยกเว้นในโซนเอเซียที่เห็นการปรับตัว ขึ้นเด่น อาทิ ตลาดหุ้นฮ่องกง 0.7%, ตลาดหุ้นเวียดนาม 0.6%, ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย 1.3% และตลาดหุ้นไทย +0.24%
นอกจากนี้ยังเห็น Fund Flow ทยอยไหลเข้าตลาดหุ้นในภูมิภาคในเดือน เม.ย. นี้(mtd) โดยมียอดซื้อสุทธิ อาทิ ตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิ 759 ล้านเหรียญ (mtd), ตลาด หุ้นเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 413 ล้านเหรียญ (mtd), ตลาดฟิลิปปินส์ถูกซื้อสุทธิ 25 ล้าน เหรียญ (mtd) ขณะที่ตลาดหุ้นไทย มีสัญญาณการซื้อกลับของต่างชาติในวานนี้ 41 ล้าน เหรียญ หรือ 1.4 พันล้านบาท ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีมากขึ้น
ฝ่ายวิจัยฯ เชื่อว่า Fund Flow ยังมี Momentum ที่ไหลเข้าตลาดหุ้นไทยต่อเนื่องได้ ส่วน หนึ่งเกิดจากการรายงานกำไรบริษัทจดทะเบียนในงวด 1Q66 ที่ประกาศออกมา 20 บริษัท มีกำไรอยู่ที่ 8.67 หมื่นล้านบาท เติบโต 77%QoQ และ 21%YoY อีกทั้งยังดีกว่า ที่ Consensus คาดถึง 15% แรงหนุนส่วนหนึ่งเกิดขึ้น หลังจาก SCC รายงานกำไรสุทธิ ออกมา 1.6 หมื่นล้านบาท (มาจากกำไรพิเศษ 1.2 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้นถึง 87%YoY
แนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ดีขึ้น น่าจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยให้ Fund Flow กลับมาไหลเข้าตลาดหุ้นไทยเพิ่มเติมในระยะถัดไปได้ ส่วน Toppick วันนี้แนะนำ AOT, ADVANC, SNNP
บทความนี้จัดทำและเผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ ASIA Plus Securities